ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 1001 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  22  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อนลงทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่บริเวณภาคเหนือยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) รายงานว่า ส.อ.ท.ปรับประมาณการการผลิตรถยนต์ในปี 2558 มาที่ 2.05 ล้านคัน โดยเป็นการปรับลดเป้าการผลิตจากเป้าเดิมลง 100,000 คัน  อย่างไรก็ตาม เป้าหมายใหม่ยังสูงกว่ายอดการผลิตรถยนต์ในปี 2557 ราว 169,993 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04- โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า ภาวะการณ์ส่งออกรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2558 ว่าส่งออกได้ 76,774 คัน ลดลงร้อยละ 26.14 จากเดือนมิถุนายน เนื่องจากยังผลิตรถกระบะรุ่นใหม่เพื่อส่งออกได้ไม่เต็มที่
3.เศรษฐกิจโลก
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า สหภาพยุโรป(EU) มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้นในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบกับสถิติในเดือนเมษายน โดยรายงานว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นแตะ 1.3 หมื่นล้านยูโร หรือประมาณ 1.41 หมื่นล้านดอลลาร์ ในเดือนพฤษภาคม จากระดับเดือนเมษายน ที่ 1.19 หมื่นล้านยูโร และ 4.8 พันล้านยูโร ในเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) และธนาคารกลางยุโรป(ECB) ยืนยันว่า กรีซได้ชำระหนี้จำนวนทั้งสิ้น 6.25 พันล้านยูโรแล้ว- กระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ของจีนในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบรายปีหลังจากขยายตัวร้อยละ 7.8 ในเดือนพฤษภาคม- ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินทุนเพิ่มเติมเข้าสู่ธนาคาร 2 แห่ง ที่รัฐบาลกำกับดูแล ได้แก่ธนาคารไชน่า ดีเวลลอปเมนท์ แบงก์ และธนาคารเอ็กซ์พอร์ต-อิมพอร์ต แบงก์ ออฟ ไชน่า เพื่อช่วยให้ธนาคารดังกล่าวสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนได้มากขึ้น ทั้งนี้ได้อัดฉีดเงิน 4.58 หมื่นล้านดอลลาร์ เข้าสู่ธนาคารไชน่า ดีเวลลอปเมนท์ แบงก์ และ 4.5 หมื่นล้าน ให้แก่ธนาคารเอ็กซ์พอร์ต-อิมพอร์ต แบงก์ ออฟ ไชน่า
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 34.54 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.07 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.70 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.65 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน สิงหาคม ปิดตลาดที่ 50.36 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.21 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ขณะที่นักลงทุนจับตาดูรายงานสต๊อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) จะเปิดเผยในวันนี้- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนกันยายน ที่ตลาดลอนดอนเพิ่มขึ้น 0.39 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 57.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล- รัฐมนตรีน้ำมันของอิหร่าน กล่าวว่า อิหร่านจะเพิ่มปริมาณในการผลิตน้ำมันดิบสู่ระดับที่มีนัยสำคัญหลังจากประเทศตะวันตกเตรียมยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออุตสาหกรรมน้ำมันของอิหร่านตามข้อตกลงนิวเคลียร์ที่สองฝ่ายได้บรรลุร่วมกันเมื่อเร็วๆ นี้
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2558 อยู่ที่ 204.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 215.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 168.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- รัฐบาลกรีซได้ยื่นร่างกฎหมายปฏิรูปต่อรัฐสภาเมื่อวานนี้ตามข้อกำหนดของเจ้าหนี้ต่างประเทศ เพื่อให้มีการเริ่มต้นการเจรจาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเป็นจำนวนหลายพันล้านยูโร ขณะที่โฆษกรัฐบาลกรีซ เปิดเผยว่า กรีซควรจะบรรลุข้อตกลงในโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศภายในวันที่ 20 สิงหาคม นี้- นักลงทุนยังติดตามดูสถานการณ์ของกรีซอย่างใกล้ชิด โดยรัฐบาลกรีซจะลงมติในวันพุธนี้เพื่อรับหรือไม่รับมาตรการการปฏิรูปธนาคารและกระบวนการยุติธรรมตามข้อตกลงที่นกยกรัฐมนตีทำไว้กับกลุ่มประเทศเจ้าหนี้ เพื่อแลกกับการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้อีก จากสภาพที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ผู้ประกอบการ
มีความต้องการซื้อเพราะขาดแคลนยางมาระยะหนึ่งแล้ว ประกอบกับแหล่งข่าวรายงานว่าผลผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน น้อยลงเช่นกัน โดยส่วนหนึ่งมาจากราคาที่ตกต่ำเวลานานทำให้ขาดแคลนแรงงานกรีดยาง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและเงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนักลงทุนมีมุมมองบวกต่อสถานการณ์หนี้กรีซ และอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย จากภาวะฝนตกชุกทางภาคใต้ของไทย  อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยลบ โดยภาพรวมอุปทานยางในตลาดโลกยังคงซบเซาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว




ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา