ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 834 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  15  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนังบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และตรัง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- อินเดียนำเข้ายางธรรมชาติไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558 - 2559 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5 อยู่ที่ 106,294 ตัน ขณะที่ปีก่อนอยู่ที่ 100,725 ตัน แม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะเพิ่มภาษีนำเข้ายางธรรมชาติแล้วก็ตาม ขณะที่ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558 - 2559 อยู่ที่ 50,000 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 63,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 21.0
3. เศรษฐกิจโลก
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งเป็นเครื่องมือที่บ่งชี้คาดการณ์ของนักลงทุนต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) บ่งชี้ว่าเฟดมีโอกาสเพียงร้อยละ 13.0 ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ลดลงจา กเดิมที่ร้อยละ 16.0 ซึ่งเป็นระดับก่อนการเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีก นอกจากนี้สัญญาดังกล่าวยังแสดงว่าเฟดมีโอกาสร้อยละ 48.0 ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม ลดลงจากเดิมที่ร้อยละ 53.0 ซึ่งเป็นระดับก่อนการเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีก- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 0.3 อยู่ที่ระดับ 4.42 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย หลังจากที่ปรับตัวขึ้นจากภาวะซบเซาในช่วงฤดูหนาว- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และเมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ 10.0- สำนักงานสถิติแห่งชาติยุโรปเปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยูโรโซนลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และอ่อนตัวลงร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) เปิดเผยว่า กรีซได้ผิดนัดชำระเงินรอบใหม่ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 456 ล้านยูโรให้กับ IMF. หลังจากที่ได้ผิดชำระหนี้จำนวน 1.5 พันล้านยูโรให้กับ IMF. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนพฤษภาคม และหากเทียบเป็นรายปี ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ในเดือนพฤษภาคม สอดคล้องกับข้อมูลเบื้องต้น- นายกรัฐมนตรีกรีซเตรียมยื่นร่างกฎหมายกับการปรับขึ้นภาษีการขายและการลดเงินบำนาญ หลังจากที่รัฐบาลกรีซได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับกลุ่มเจ้าหนี้ยุโรป- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศไตรมาส 2 ลดลง 4.0 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ สู่ 3.69 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากที่ลดลง 1.13 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในไตรมาสแรก
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 34.07 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.39 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.12 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคมปิดตลาดที่ 53.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าอิหร่านสามารถบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับประเทศมหาอำนาจ ซึ่งจะนำไปสู่การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดที่ 58.51ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.66 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 198.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 209.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 162.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสในวันพุธและวันพฤหัสบดี (15 - 16 กรกฎาคม 2558) ซึ่งตลาดทั่วโลกจะจับตาแถลงการณ์ของประธานเฟด เพื่อหาสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ หลังจากที่ได้กล่าวยืนวันแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในปีนี้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา- อิหร่าน และ 6 ชาติมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และเยอรมัน ได้บรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งจะนำไปสู่การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทั้งทางเศรษฐกิจและการเงินต่ออิหร่าน และจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจอิหร่านกลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากเศรษฐกิจย่ำแย่ลง เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตร
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อยจากสภาวะที่ผลผลิตมีน้อย เพราะภาคใต้ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน อย่างไรก็ตาม เพราะยังมีแรงกดดันจากเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว ดังนั้นแม้ว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อยก็ไม่ส่งผลเชิงบวกต่อราคายางมากในระยะนี้
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับพื้นที่ปลูกยางทางภาคใต้ของไทยมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้นจีน และสถานการณ์กรีซที่ต้องออกกฎหมายรัดเข็มขัดก่อนจึงจะได้รับเงินกู้รอบใหม่ นอกจากนี้นักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายและจับตาดูผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ของจีนที่จะเปิดเผยในวันนี้

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา