ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 977 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  13  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของจีน เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 1.51 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งถือเป็นสถิติที่ลดลงครั้งแรกในรอบ 2 ปี  เนื่องจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศชะลอตัวลง และตลาดหุ้นร่วงลงอย่างหนัก โดยเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน และพฤษภาคม ที่ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 และร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบรายปี
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 มีจำนวน 158,377 ตัน เพิ่มขึ้น 5,252 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.43 จากระดับ 153,125 ตัน ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2558- สต๊อคยางญี่ปุ่น วันที่ 30 มิถุนายน  2558 ลดลง 303 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.62 แตะที่ 11,864 ตัน จากระดับ 11,561 ตัน ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2558
4.เศรษฐกิจโลก
- รัฐบาลอินเดีย รายงานว่า การขยายตัวภาคอุตสาหกรรมของอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ในเดือนพฤษภาคม ชะลอตัวลงจากระดับร้อยละ 3.4 ในเดือนเมษายน และต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ท่ามกลางความอ่อนแอของอุปสงค์ผู้บริโภค- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าภาคค้าส่งของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวในไตรมาส 2 หลังจากที่หดตัวลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรก- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวยืนยันแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในปีนี้ ขณะที่ระบุว่ามีสัญญาณบ่งชี้ว่า ค่าจ้างกำลังฟื้นตัวขึ้น โดยกล่าวว่า คาดว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการขั้นแรกในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงต่อไปในปีนี้ และปรับนโยบายการเงินเป็นแบบปกติ- สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอิตาลีปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนพฤษภาคม โดยได้รับแรงหนุนจากแทบทุกภาคส่วน ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของอิตาลีฟื้นตัวเร็วขึ้น ภายหลังที่เศรษฐกิจประสบภาวะถดถอยที่รุนแรงภายหลังสงคราม- แบงค์ออฟคอมมูนิเคชั่นส์ (BOCOM) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 7.1 ในปี 2558 โดยรายงานระบุว่า GDP ของจีนในไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวร้อยละ 7.0 ร้อยละ 7.1 และร้อยละ 7.2 ตามลำดับเมื่อเทียบเป็นรายปี
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.98 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 122.47 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.59 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน สิงหาคม ปิดตลาดที่ 52.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 0.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนซึมซับสถานการณ์ที่ดีขึ้นในตลาดหุ้นจีนแล้ว ในขณะที่สำนักงานพลังงานสากล(IEA) ระบุว่าอุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนสิงหาคม ที่ตลาดลอนดอนปรับตัวขึ้น 0.12 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 58.73 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
- สำนักงานพลังงานสากล(IEA) เปิดเผยว่า อุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวลงในปีหน้า พร้อมกับเตือนว่าราคาน้ำมันดิบอาจจะตกต่ำลงอีก โดย IEA ประเมินการอุปโภคน้ำมันครั้งแรกสำหรับปี 2559 ว่าอุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้มลดต่ำลงแตะ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2559 ในขณะที่อุปสงค์ของปีนี้อยู่ที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน
7. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 196.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 206.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.2 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 164.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง
8. ข่าว
- รัฐสภากรีซ มีมติรองรับแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลกรีซ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ประเทศไม่ประสบภาวะล้มละลาย และออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน- ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาดูผลการประชุมผู้น้ำยูโรโซน ซึ่งเริ่มขึ้นนตั้งแต่เวลา 21.00 ตามเวลาไทยเมื่อวานนี้ ขณะที่เยอรมนีได้เตรียมวางแผนสำรองเพื่อเปิดทางให้กรีซหลุดพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซนชั่วคราวเป็นระยะเวลา 5 ปี- ผู้นำยูโรโซนได้ให้เวลานายกรัฐมนตรีกรีซ เป็นเวลา 3 วัน ในการผ่านร่างกฎหมาย ซึ่งรวมถึงกฎหมายการปรับขึ้นภาษีการขาย การลดเงินบำเหน็จบำนาญ เปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับด้านการล้มละลาย และลดการใช้จ่ายโดยอัตโนมัติ หากงบดุงงบประมาณของกรีซไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลง จากปัจจัยต่างประเทศและยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ กระตุ้นตลาด โดยเฉพาะปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศยังเป็นปัจจัยเดิมๆ จึงต้องรอดูสถานการณ์ที่ชัดเจนต่อไป
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์วิกฤตหนี้กรีซ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนที่ยังคงเผชิญกับภาวะชะลอตัว รวมทั้งยังไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ มากระตุ้นตลาด  อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าและอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยยังเป็นปัจจัยหนุนให้ราคายางเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา