ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนยางเมืองคอนบุกศาลากลาง วอนชะลอโค่นต้นยางเขตอนุรักษ์  (อ่าน 716 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ชาวสวนยางเมืองคอนบุกศาลากลาง วอนชะลอโค่นต้นยางเขตอนุรักษ์
วันที่ 29 มิถุนายน  พ.ศ. 2558 เวลา 15:30:00 น


http://www.matichon.co.th/online/2015/06/14355645051435564541l.jpg


(29 มิ.ย.58) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เกษตรกรชาวสวนยางพาราเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเขาบรรทัด ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานฯ เขาปู่-เขาย่า ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ 3 ตำบล คือ พื้นที่ต้นน้ำตำบลวังอ่าง เขาพระทอง และตำบลควนหนองหงส์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 100 ครัวเรือน นำโดยนายพยุงศักดิ์ วรรณโณทัย คณะทำงานหมู่ที่ 9 ต.วังอ่าง ได้เข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้ชะลอการดำเนินการตัดโค่นรื้อถอนยางพาราในแนวเขตเทือกเขาบรรทัด และในเขตพื้นที่อุทยานฯ เขาปู่-เขาย่า ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ 3 ตำบล คือ พื้นที่ต้นน้ำตำบลวังอ่าง เขาพระทอง และตำบลควนหนองหงส์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามนโยบายทวงคืนผืนป่าไว้ก่อน โดยมีนายพินิจ บุญเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้รับหนังสือ มีนายราชิต สุดพุ่ม ปลัดจังหวัด นายวชิระ พันดุสะ นายอำเภอชะอวด และนายธรรมนูญ อัครพินท์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 ร่วมรับฟังและอธิบายข้อเท็จจริง

ทั้งนี้ ในหนังสือฉบับดังกล่าวได้ยื่นข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.)ให้มีการชะลอการดำเนินการผู้ต้นยางพาราในเขตพื้นที่เทือกเขาบรรทัด ท้องที่ตำบลวังอ่าง ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวดไว้ก่อนโดยเฉพาะแปลงที่ดินทำกินของ
เกษตรรายย่อยซึ่งมิใช่นอมินีของนายทุน 2.) ให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงในระดับพื้นที่โดยมีสัดส่วนที่เท่ากันภาครัฐภาคประชาชน เป็นรายแปลงในทุกหมู่บ้านที่ได้มีคณะทำงานระดับชุมชนและ
ได้มีการออกกฎกติกาในการจัดการป่า ดิน น้ำ ก่อนหน้านี้เท่านั้น ให้มีการชะลอเพื่อปรึกษาหารือ หาทางออกร่วมกันเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่และให้ประชาชนได้มีรายได้เพื่อการเลี้ยงชีพและครอบครัวต่อไป
3.)ในกรณีสวนยางพาราของเกษตรกรรายย่อยให้สามารถตัดโค่นปลูกใหม่ทดแทนได้ ไม่เฉพาะที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเท่านั้นและให้ดำเนินการยกเลิกคำสั่งต่อผู้ประกอบการแปรรูปส่งออกไม้ยางพาราอันจะส่งผลกระทบ
ในระยะยาวทั้งระบบ 4.)ให้ดำเนินการกับที่ดินของนายทุนกลุ่มทุนตามกรอบและหลักเกณฑ์ของประกาศ ทวงคืนพื้นที่ป่าของรัฐบาลอย่างจริงจังสืบไป

นายพยุงศักดิ์ วรรณโณทัย คณะทำงานหมู่ที่ 9 ต.วังอ่าง กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในพื้นที่นั้น ส่วนใหญ่เป็นที่ดินทำกินดั้งเดิมของราษฎรในชุมชนและเป็นเกษตรกรรายย่อย ไม่ใช่ของนายทุนหรือนอมินีของนายทุนอย่างแน่นอน
ดังนั้นหากมีการโค่นต้นยางพาราโดยการขาดข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงจะ ทำให้เกิดผลกระทบกับเกษตรกรที่ยากจนไร้ที่ทำกินและมีรายได้น้อยซึ่งขัดกับคำ สั่ง คสช.ที่ 66/57 และนโยบายปรองดองคืนความสุขให้กับประชาชน
พวกเราจึงเดินทางมายื่นหนังสือในครั้งนี้เพื่อให้ชะลอการตัดโค่นต้น ยางออกไปก่อนจนกว่าจะได้ให้หาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างส่วนราชการที่ เกี่ยวข้องและร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง

ทั้งนี้นายพินิจ บุญเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ทางจังหวัดจะได้ทำหนังสือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเสนอไปยังส่วนกลาง พร้อมทั้งจะแจ้งผลให้กับตัวแทนเกษตรกรโดยเร็วที่สุด