ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 930 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84568
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  25  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลพายุโซนร้อนคูจิระ (Kujira) ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร ระนอง และพังงา เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- อุตสาหกรรมยางและยางล้ออินเดียเรียกร้องไปยังส่วนกลางให้ใช้มาตรการเร่งด่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางธรรมชาติในประเทศ เนื่องจากการผลิตลดลงกว่า 2 ปีแล้ว และจากข้อมูลการผลิตยางธรรมชาติของคณะกรรมการยางเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่าปริมาณการผลิตยางลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยใน 2 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน (เมษายน 2558 - มีนาคม 2559) ลดลงร้อยละ 11.0 ขณะที่ปีงบประมาณ 2557 - 2558 ลดลงร้อยละ 16.0 และปีงบประมาณ 2556 - 2557 ลดลงร้อยละ 15.0
3. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขั้นสุดท้ายสำหรับไตรมาสแรกปีนี้หดตัวลงร้อยละ 0.2 ดีขึ้นจากที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่หดตัวร้อยละ 0.7 การปรับตัวขึ้นดังกล่าวเกิดจากผู้บริโภคใช้จ่ายมากกว่าที่ประเมินไว้เบื้องต้น และบริษัทต่าง ๆ เพิ่มการกักเก็บสินค้าไว้ในสต๊อค- สภาแห่งรัฐของจีน หรือคณะรัฐมนตรีจีน ประกาศอนุมัติร่างแก้ไขกฎหมายธนาคาร โดยยกเลิกการบังคับใช้ข้อบังคับกำหนดสัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากที่ร้อยละ 75.0 ซึ่งจะทำให้ภาคธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น- หนังสือพิมพ์ไชน่า ซิเคียวริตี้ส์ เจอร์นัล (CSI) เปิดเผยว่า จีนมีแนวโน้มที่จะดำเนินการนโยบายการคลังเชิงรุกมากขึ้น เพื่อรักษาระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ เนื่องจากปัจจัยจีนยังคงเผชิญกับแรงกดดันช่วงขาลง- สถาบัน Ifo เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมันลดลงอย่างมากในเดือนมิถุนายน โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจลดลงมาแตะที่ 107.4 ในเดือนมิถุนายน จาก 108.5 ในเดือนพฤษภาคม คาดว่ามีสาเหตุจากบริษัทต่าง ๆ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ในประเทศกรีซ- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 พร้อมเปิดเผยว่าเศรษฐกิจฝรั่งเศสกระเตื้องขึ้นร้อยละ 0.1 ในไตรมาส 4 ปี 2557 ขยับขึ้นจากสถิติเดิมก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 0.0- สมาชิกคณะกรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นเวลานานเกินไป และอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ระดับต่ำ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปในที่สุด- แบล็คร๊อค บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนรายใหญ่ที่สุดของโลกชี้เศรษฐกิจจีนยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง หรือฮาร์ดแลนด์ดิ้ง โดยรายงานระบุว่าเศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญกับความท้าทายที่เรียงรายเข้ามา แต่เชื่อว่าทางการจีนจะสามารถฝ่าฟันสถานการณ์ที่ท้าทายเหล่านี้ได้
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.80 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 60.27 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซได้บดบังปัจจัยบวกจากรายงานที่ระบุว่าสต๊อคน้ำมันดิบปรับลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 63.49 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.96 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบลดลง 4.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 463 ล้านบาร์เรล เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 8 และเป็นการลดลงติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 215.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 5.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 226.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 5.8 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 181.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- สถานีโทรทัศน์ออสเตรเลียรายงานว่า ชาวกรีกหลายพันคนได้อพยพออกจาบ้านเกิดมายังออสเตรเลีย โดยหลายรายเลือกมาตั้งรกรากที่เมืองเมลเบิร์น เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของกรีซ- สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) รัฐบาลสหรัฐฯ เผยจำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว โดย MBA ระบุว่าดัชนีกิจกรรมยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 19 มิถุนายน 2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6- ประธานกลุ่มรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนเปิดเผยว่า การประชุมยูโรกรุ๊ปเกี่ยวกับประเด็นหนี้สินของกรีซยังไม่สามารถตกลงกันได้ อย่างไรก็ตาม ยูโรกรุ๊ปจะเดินหน้าหารือต่อไปในการประชุมวันนี้
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงประมาณ 1 บาท โดยมีปัจจัยกดดันที่สำคัญคือ กระแสความวิตกกังวลปัญหาหนี้กรีซ ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ ๆ มากระตุ้นตลาด ส่งผลให้ราคาปรับลดลงมาก ประกอบกับก่อนหน้านี้มีการปั่นราคาให้สูงเกินจริง เมื่อราคาตลาดต่างประเทศไม่สูงขึ้นก็ต้องปรับราคาลง เพราะขาดทุนมาระยะหนึ่งแล้ว
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนเริ่มวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหากรีซอีกครั้ง หลังจากที่กรีซและเจ้าหนี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ขณะเดียวกันยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม เงินเยนและเงินบาทที่อ่อนค่า และปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย ยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่งทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา