ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 920 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84568
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  24  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และพังงา ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ปริมาณยางดิบ (Crude Rubber) ซึ่งเป็นสินค้าคงเหลือ ณ ท่าเรือ วันที่ 10 มิถุนายน 2558 มีจำนวน 14,873 ตัน เพิ่มขึ้น 1,602 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.074 จากระดับ 13,271 ตัน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2558
3. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนลดลงเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 4 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาคธุรกิจมีความระมัดระวังในการลงทุน โดยรายงานของกระทรวงระบุว่ายอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลงร้อยละ 1.8 ในเดือนพฤษภาคม- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ บริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงินเปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนภาคการผลิตมีการขยายตัวในอัตราต่ำลง โดยชะลอตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมาร์กิตระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ 53.4 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 จากระดับ 50.4- หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาจมีความพร้อมสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนนี้ ตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม- ไชน่าอินเตอร์เนชั่นแนล แคปิตอล คอร์ป (CICC) คาดการณ์ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนจะคงที่ในอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า และจะฟื้นตัวเล็กน้อยในช่วงสิ้นไตรมาส 3 ถึงไตรมาส 4 ก่อนจะกระเตื้องขึ้นแตะร้อยละ 7.2 ในไตรมาส 4- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนเดือนมิถุนายนขยับขึ้นแตะ 49.6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จาก 49.2 ในเดือนพฤษภาคม- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงต่ำกว่าคาดการณ์ เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลเรื่องแนวโน้มยอดคำสั่งซื้อและระดับปริมาณการผลิตในช่วงไม่นานนี้ โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเดือนมิถุนายนลดลงแตะระดับ 100 จาก 103 ในเดือนพฤษภาคม ต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 102- ผลสำรวจของมาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซนเดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นแตะ 54.1 สูงสุดในรอบ 49 เดือน จาก 53.6 ในเดือนพฤษภาคม
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 53.4 สูงสุดในรอบ 46 เดือน จาก 52.0 ในเดือนพฤษภาคม
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการของเยอรมันเดือนมิถุนายนปรับขึ้นแตะ 54.0 สูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 52.6 ในเดือนพฤษภาคม
[/t][/t][/t][/t][/t][/t]
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.80 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.87 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.30 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 61.01 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.63 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 64.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.11 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 221.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 232.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 181.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่ายอดจำหน่ายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม สู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่สดใสของตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ทั้งนี้กระทรวงระบุว่ายอดจำหน่ายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบเป็นรายเดือนสู่ระดับ 546,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) คาดการณ์ว่า กรีซจะยังคงอยู่ในยูโรโซนและสหภาพยุโรปในช่วงสิ้นปีนี้ แม้ว่าการบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้จะไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศก็ตาม
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะราคาตลาดต่างประเทศเริ่มดีขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย และเงินบาทอ่อนค่าจะช่วยหนุนผู้ส่งออกให้ปรับราคาขึ้นมาได้บ้าง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนมีมุมมองเป็นบวกว่ากรีซและกลุ่มเจ้าหนี้จะสามารถทำข้อตกลงกันได้ภายในสัปดาห์นี้ รวมทั้งอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงระมัดระวังในการซื้อขายและจับตาดูว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ หลังจากข้อมูลบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา