ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 821 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84609
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  4  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่นมีฝนกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- ออโต้ดาต้า คอร์ป บริษัทวิจัยด้านยานยนต์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคมยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ตลาดสหรัฐฯ รวมถึงรถยนต์นั่งโดยสารและรถบรรทุกน้ำหนักเบาอยู่ที่ 1,635,090 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากจะปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 15 เดือนแล้ว ยอดจำหน่ายเดือนพฤษภาคมยังขยายตัวแข็งแกร่งนับตั้งแต่ปี 2523
3. เศรษฐกิจโลก
- องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก เนื่องจากการลงทุนที่ซบเซาท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับโอกาสในการขยายตัวที่แข็งแกร่งขึ้น โดย OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปีนี้ ซึ่งลดลงจากคาดการณ์เมื่อเดือนมีนาคมที่ร้อยละ 4.0 และขยายตัวร้อยละ 3.8 ในปี 2559 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.3- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าลดลงอย่างมากในเดือนเมษายน ทั้งนี้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 19.2 สู่ 4.088 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 6 ปี โดยระบุว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนเมษายน ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 3.3- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมลดลงสู่ 56.2 จาก 57.4 ในเดือนเมษายน- ผลสำรวจสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) พบว่า เดือนพฤษภาคมภาคบริการมีการขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ร้อยละ 55.7 ลดลงจากร้อยละ 57.8 ในเดือนเมษายน- ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.05 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตามความคาดหมาย- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นสู่ 53.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 เดือน เทียบกับ 52.9 ในเดือนเมษายน- ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพฤษภาคมของมาร์กิตะบุว่า
  • ยูโรโซน ปรับตัวลงแตะ 53.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จาก 54.1 ในเดือนเมษายน
  • เยอรมัน ปรับตัวลงแตะ 53.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน จาก 54.0 ในเดือนเมษายน
  • อิตาลี ปรับตัวลงแตะ 52.5 จาก 53.1 ในเดือนเมษายน แต่ยังมีการขยายตัวเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้ เพราะดัชนีที่สูงกว่า 50.0 บ่งชี้ถึงภาวการณ์ขยายตัวของภาคบริการ
  • ฝรั่งเศส ปรับตัวขึ้นแตะ 52.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จาก 51.4 ในเดือนเมษายน
  • สเปน ลดลงมาอยู่ที่ 58.4 จาก 60.3 ในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม ดัชนีที่สูงกว่า 50.0 บ่งชี้ว่าการขยายตัวของภาคบริการสเปนยังมีความแข็งแกร่ง
[/t][/t][/t][/t][/t][/t]
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.69 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.50 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.60 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 59.62 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.62 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากการที่สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ยังไม่ออกมาส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดโควต้าการผลิตน้ำมันในการประชุมวันศุกร์นี้- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 63.80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่แล้วลดลงมากเกินคาด ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล สู่ 477.4 ล้านบาร์เรล จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 224.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 236.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 189.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- ผลสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐฯ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เผยผลสำรวจเบื้องต้นชี้การจ้างงานในยูโรโซนขยายตัวในอัตราเร็วที่สุดในรอบ 4 ปี และปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ในเดือนพฤษภาคม โดยการจ้างงานในเยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน ต่างก็ขยายตัวเร็วขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะสเปนที่ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบกว่า 7 ปี
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามตลาดต่างประเทศ จากการเทขายทำกำไรของนักลงทุน เพื่อรอดูความชัดเจน อย่างไรก็ตาม ราคาไม่ปรับตัวลดลงมาก เพราะผลผลิตยังมีน้อย โอกาสที่จะสูงขึ้นยังคงมีอยู่
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน จากการเทขายเพื่อเก็งกำไรของนักลงทุน หลังจากราคาปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันหลายวัน ประกอบกับการระมัดระวังในการซื้อขายเพื่อรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับหนี้กรีซและการประชุมของประเทศผู้ผลิตน้ำมีนในวันศุกร์นี้ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีแรงหนุนจากปัจจัยบวกภายในประเทศเรื่องผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และการลดอุปทานยางโดยการโค่นยางเก่า รวมถึงข่าวการซื้อขายยางระหว่างไทยและจีน


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา