ผู้เขียน หัวข้อ: ราคายางตก จะหันไปปลูกปาล์มดีไหม?  (อ่าน 636 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ราคายางตก จะหันไปปลูกปาล์มดีไหม?

วันพุธที่ 3 มิถุนายน 2558  ที่มา คมชัดลึก

ราคายางตก จะหันไปปลูกปาล์มดีไหม?

 กระแสการเปลี่ยน ?สวนยาง? ให้เป็น ?สวนปาล์ม? ในช่วงที่ผ่านมา ก่อให้เกิดคำถามว่าอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันน่าลงทุนจริงหรือไม่ และผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มของไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจากการศึกษาของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ พบว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีทิศทางการเจริญเติบโตที่ดีมาก แต่น้ำมันปาล์มของไทยมีความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าคู่แข่งหลักอย่าง อินโดนีเซียและมาเลเซีย เนื่องจากผลิตภาพที่ต่ำกว่าและต้นทุนที่สูงกว่า อีกทั้งในระยะยาวธุรกิจนี้ยังเผชิญกับความผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของผู้บริโภค
   
                       ?ศูนย์วิจัยมองว่าการลงทุนโดยผู้ประกอบการรายย่อยจะมีความเสี่ยงอยู่ แต่ด้วยโอกาสในการเติบโตที่ดี ไทยควรยกระดับศักยภาพในการผลิตโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มทั้งระบบเพื่อ เพิ่มผลิตผลและลดต้นทุนให้สามารถแข่งขันได้ และต้องหาวิถีทางเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มและต่อยอดการใช้น้ำมันปาล์มใน อุตสาหกรรมอื่นๆ มากกว่าพึ่งพาอุปสงค์จากการบริโภคน้ำมันปาล์มโดยตรงอย่างที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน?
   
                       ทั้งนี้ น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก และยังมีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับหนึ่งและมีอัตราการเติบโตสูงสุดในบรรดา น้ำมันพืชและไขมันสัตว์ที่บริโภคได้ โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยมากถึงร้อยละ 19 ต่อปี โดยจากข้อมูลพบว่าทั่วโลกนำเข้าน้ำมันปาล์มในรูปแบบที่กลั่นบริสุทธิ์แล้ว เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 65 ของมูลค่าการนำเข้าน้ำมันปาล์มทั้งหมด ซึ่งน้ำมันปาล์มส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้เพื่อบริโภคและอุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก นอกจากนี้ น้ำมันปาล์มยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจัยสำคัญทำให้ธุรกิจน้ำมันปาล์มมีความน่าสนใจในการลงทุน คือ มีราคาผันผวนน้อยกว่ายางพารา และสามารถทำกำไรมาโดยตลอด
   
                       อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก แต่กลับมีส่วนแบ่งในตลาดส่งออกน้อยมาก โดยผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ แม้ไทยจะมีความได้เปรียบในเรื่องของสภาพอากาศและทรัพยากรดินที่เหมาะแก่การ เจริญเติบโตของปาล์ม ไทยกลับมีส่วนแบ่งในตลาดส่งออกน้ำมันปาล์มเพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะน้ำมันปาล์มของไทยผลิตมาเพียงพอสำหรับความต้องการภายใน ประเทศเป็นหลักถึงร้อยละ 90 ของปริมาณที่ผลิตได้ และเหลือส่งออกเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
   
                       สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันน้อยกว่าอินโดนีเซีย และมาเลเซียคือ ต้นทุนการผลิตที่สูงและผลิตภาพที่ต่ำ เนื่องจากพื้นที่ปลูกปาล์มของไทยมีขนาดเล็กและครอบครองโดยเกษตรกรรายย่อย เป็นส่วนใหญ่ แม้ไทยจะมีการรวมกลุ่มของเกษตรสวนปาล์มเป็นสหกรณ์เพื่อเสริมสร้างความแข็ง แกร่งให้แก่เกษตรกรรายย่อยและสร้างอำนาจในการต่อรองราคา แต่พบว่ามีเกษตรกรรายย่อยเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกของไทยที่มีขนาดเล็กและร่องสวนแคบยังส่งผลให้ผลิตภาพในการ เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวไม่ดีเท่าที่ควร ที่สำคัญคือไทยประสบกับปัญหาการสูญเสียน้ำมันปาล์มในการะหว่างการเก็บเกี่ยว และรวบรวมผลผลิตก่อนถึงโรงงานสกัดน้ำมันดิบ
 ยิ่งไปกว่านั้น มาเลเซียและอินโดนีเซียยังมีองค์ความรู้ในการเพาะปลูกและมีศักยภาพในบริหาร จัดการที่สูงกว่าไทย โดยมีหลากหลายหน่วยงานร่วมกันดูแลอุตสาหกรรมทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรมและต่อ เนื่อง ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มเพื่อยกระดับคุณภาพและเพิ่ม อัตราการให้น้ำมัน ด้วยต้นทุนการผลิตที่สูงและผลิตภาพที่ต่ำ ทำให้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก เป็นเหตุให้ไทยส่งออกน้ำมันปาล์มดิบเป็นส่วนใหญ่
   
                       ความเสียเปรียบในเรื่องของผลิตภาพและต้นทุนการผลิตจึงทำให้อุตสาหกรรมน้ำมัน ปาล์มไทยเผชิญกับความเสี่ยงเมื่อมีการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบการค้า ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ การสูญเสียสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) จากสหภาพยุโรปทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทยสูงกว่าคู่แข่งมากขึ้น เป็นเหตุให้ไทยยิ่งเสียเปรียบในการแข่งขัน
 ?แม้ว่าภาพรวมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มจะมีทิศทางการเติบโตที่ดี แต่พบว่าอุตสาหกรรมนี้ยังมีความผันผวนในระยะยาว เนื่องจากกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภคที่เริ่มหันไปใช้น้ำมันพืชชนิดอื่นมาก ขึ้น นอกจากนี้ ความตื่นตัวเรื่องการรับรองแหล่งผลิตน้ำมันปาล์มที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอาจ เป็นอุปสรรคทางการค้าในอนาคต?
   
                       อย่างไรก็ตาม โดยรวมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีศักยภาพในการเติบโตที่ดี แม้จะมีความผันผวนบ้างในระยะยาว แต่ก็เป็นความผันผวนที่สามารถรับมือได้ จึงควรมองอุตสาหกรรมนี้ให้เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้น เศรษฐกิจไทยในอนาคต แต่ประเทศไทยต้องพัฒนากลไกทั้งระบบเพื่อเพิ่มผลิตผลและลดต้นทุนให้สามารถ แข่งขันได้ และต่อยอดการใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์มเพื่อลดความเสี่ยงอันจะเกิดจากการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในระยะยาว
   
                       ศูนย์วิจัยมองว่าหากรัฐบาลเห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยในอนาคต ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาผลิตภาพเพื่อลดการสูญเสียน้ำมันปาล์มที่เคยทำตกหล่นไปใน แต่ละขั้นตอน ซึ่งจะทำให้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ของไทยมีราคาที่แข่งขันได้ และในระยะยาวไทยต้องเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้น้ำมันปาล์ม เปลี่ยนน้ำมันปาล์มให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ