ผู้เขียน หัวข้อ: แจงโค่นสวนยางใต้6แสนไร่ คสยท.ยืนยันไม่กระทบรายย่อยพะเยาเน้นเจรจาก่อนขอคืนผืนป่า  (อ่าน 948 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83159
    • ดูรายละเอียด
แจงโค่นสวนยางใต้6แสนไร่ คสยท.ยืนยันไม่กระทบรายย่อยพะเยาเน้นเจรจาก่อนขอคืนผืนป่า


       โพสต์ทูเดย์ คสยท.เผยอุทยานแห่งชาติดีเดย์วันที่ 1 มิ.ย. โค่นสวนยางภาคใต้ 6 แสนไร่ ไม่ส่งผลต่อรายย่อย

 นายวีระศักดิ์ สินธุวงศ์ ประชาสัมพันธ์คณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย (คสยท.) เปิดเผยว่า กรมอุทยานแห่งชาติแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดีเดย์วันที่ 1 มิ.ย. ปฏิบัติการโค่นสวนยางบุกรุกป่าสงวนทั่วประเทศกว่า 4 ล้านไร่ โดยภาคใต้จะขอคืนทั้งหมดจำนวน 6 แสนไร่

 นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า การโค่นครั้งนี้เป้าหมายแรก คือ พื้นที่ต้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติ กรณีนี้ทางการได้ประชุมร่วมกับชาวบ้านทำการชี้แจงรายละเอียดกับประชาชนใน พื้นที่แล้วว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรรายย่อยแต่อย่างใด เนื่องจากจะเข้าไปโค่นสวนยางที่บุกรุกเป็นแปลงขนาดใหญ่

 ทั้งนี้ ไม่มีผลต่อเกษตรกรชาวสวนยางตามที่หวั่นวิตก เพราะส่วนใหญ่สวนยางโดยเฉลี่ยแต่ละรายมีประมาณ 5 ไร่ 8 ไร่ 10 ไร่ และสูงสุดไม่เกิน 30 ไร่

 "การปฏิบัติการโค่นสวนยางครั้งนี้จะดำเนินการตัดแถวเว้นแถวเพื่อเอาไม้อื่นๆ มาปลูกทดแทน เพราะที่ผ่านมาหากโค่นหมดทั้งแปลง โดยไม่เว้นในการปลูกทดแทนต้นไม้จะปลูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร" นายวีระศักดิ์ กล่าว

 ด้าน นายวราดิศร อ่อนนุช นายอำเภอภูซาง จ.พะเยา กล่าวว่า แนวทางขอคืนผืนป่าจะเน้นเจรจาทำความเข้าใจกับชาวบ้านเป็นหลัก โดยเป้าหมายขอคืนพื้นที่จากผู้ที่รุกป่าทำสวนยางพาราเป็นพืชชนิดแรกก่อน สำหรับพื้นที่ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูซางสำรวจมีพื้นที่ทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ ของอุทยานแห่งชาติ ภูซางก่อนปี 2545 จำนวน 1,917 ไร่ หลังปี 2545 จำนวน 1,608 ไร่

 ขณะที่ นายสาย อิ่นคำ กรรมการสมาคมยางพาราไทยและสถาบันเกษตรกรยางพาราไทย กล่าวว่า ราคายางก้อนถ้วยดีขึ้นเป็นลำดับในพื้นที่ อ.ภูซาง และเชียงคำ มีพ่อค้าแม่ค้ารับซื้อจากเกษตรกรถึงสวน หรือเกษตรกรบางส่วนก็นำไปขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า ณ จุดรับซื้อยางก้อนถ้วยหรือขี้ยางที่กระจายจุดรับซื้อในพื้นที่ต่างๆ รอบนอกตัวเมือง

 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจุดรับซื้อยางก้อนถ้วยมีกลิ่นเหม็นจึงอยู่ในตัวเมืองหรือในชุมชน ไม่ได้ สำหรับตลาดยางแผ่นดิบเกษตรกรไม่มีการทำแผ่น เพราะรอราคาจนกว่าจะถึงกิโลกรัมละ 50-60 บาท                  โพสต์ ทูเดย์ (Th)