ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 915 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84627
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  27  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้เกือบทั่วไปมีฝนตกชุกและตกหนัก ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคมีฝนกระจายเป็นแห่ง ๆ
2. การใช้ยาง
- รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเรียกร้องให้อินโดนีเซียปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นตามที่ตกลงกันในข้อตกลงเขตการค้าเสรี ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2551 โดยอินโดนีเซียตกลงที่จะลดภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 cc จากร้อยละ 45.0 เหลือร้อยละ 20.0 ในระหว่างปี 2556 - 2558 และสุดท้ายจะเหลือร้อยละ 5.0 ในปี 2559 แต่ในปีนี้อินโดนีเซียยังคงเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ร้อยละ 22.5 เนื่องจากมีความผิดพลาดเกี่ยวกับขั้นตอนดำเนินการ
3. เศรษฐกิจโลก
- รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คาดว่าเฟดมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 3 - 4 ปีข้างหน้า เพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมกลับมาอยู่ที่ระดับปกติ ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ของเฟดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3.25 - 4.00 ในช่วง 3 - 4 ปีข้างหน้า- นักวิเคราะห์หลายรายเปิดเผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า จีนมีแนวโน้มปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเพื่อกระตุ้นศักยภาพด้านการปล่อยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ หลังจากที่ปริมาณเงินในระบบ M2 เคลื่อนไหวที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนเมษายน โดยคาดว่าการปรับลด RRR และปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนเป็นอย่างเร็วที่สุด- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนเมษายนลดลง แต่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าการลงทุนในภาคธุรกิจได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างช้า ๆ โดยรายงานกระทรวงระบุว่ายอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ ลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นสำหรับภาคบริการของสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมลดลงสู่ 56.4 ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยก่อนหน้านี้ดัชนี PMI ภาคบริการอยู่ที่ 57.4 ในเดือนเมษายน- ผลสำรวจของคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ระบุว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นสู่ 95.4 หลังแตะระดับ 94.3 ในเดือนเมษายน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.76 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.13 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.17 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.41 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 58.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐได้กดดันให้นักลงทุนเทขายสัญญาน้ำมัน โดยดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเนื่องจากกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 63.72 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 220.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 228.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 185.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- ผลสำรวจของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) และเคส ซิลเลอร์ ระบุว่า ราคาบ้านในสหรัฐฯ เดือนมีนาคมปรับตัวขึ้น ทั้งนี้ดัชนีราคาบ้าน 20 เมืองของสหรัฐฯ ปรับขึ้นร้อยละ 5.04 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.99 ของเดือนกุมภาพันธ์ และสูงกว่าร้อยละ 4.60 ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดจำหน่ายบ้านใหม่เดือนเมษายนเพิ่มขึ้น บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งนี้กระทรวงฯ ระบุว่ายอดจำหน่ายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สู่ 517,000 ยูนิต
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้น เพราะผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อยมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาน้ำยางที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เกษตรกรไม่ผลิตยางแผ่นหันไปขายน้ำยางสดมากขึ้น
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า โดยเฉพาะเงินเยนอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 8 ปี ประกอบกับอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงและนักลงทุนเทขายทำกำไร เพราะวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจบางรายการออกมาแข็งแกร่งเกินคาด ยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางในในระดับหนึ่ง


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา