ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 885 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84627
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  21  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมตะวันตกเฉียงใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และระนอง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ว่า ที่ประชุมรับข้อเสนอจากตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางที่ต้องการให้ยกเลิกโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายางในฤดูการเพาะปลูกหน้า โดยให้รัฐบาลชดเชยส่วนต่างราคายางแทน ซึ่งรัฐบาลจะนำเรื่องนี้ไปพิจารณา ทั้งนี้โครงการมูลภัณฑ์กันชนฯ ตั้งงบประมาณวงเงิน 20,000 ล้านบาท เบิกจ่ายมาแล้ว 10,000 ล้านบาท ใช้ไปแล้ว 6,000 ล้านบาท
3. เศรษฐกิจโลก
- องค์การสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยรายงาน ?สถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก? รอบครึ่งปี ระบุว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะขยายตัวเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 และปี 2559 โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมทั่วโลกปี 2558 มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยจากร้อยละ 2.6 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 2.8 ซึ่งลดลงร้อยละ 0.3 จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ส่วนปี 2559 คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิฤตอยู่มาก- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส และปรับตัวได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.5 เพราะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการส่งออกและการลงทุนด้านที่อยู่อาศัย- กระทรวงการคลังจีนเปิดเผยว่า จีนได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 1.243 แสนล้านหยวนในปี 2558 ให้กับโครงการเอื้ออาทร เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงต้นปีหน้า หรือจนกว่าจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าจะมีการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟดที่ระดับร้อยละ 2.0 ภายใน 1 - 2 ปี
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.52 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 121.15 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.27 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 58.98 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.99 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 65.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.01 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสัปดาห์ที่แล้ว ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบลดลง 2.7 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 482.2 ล้านบาร์เรล จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 211.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 217.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 181.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า จำนวนผู้มีงานทำในเยอรมันปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสแรกของปี 2558 บ่งชี้ถึงเสถียรภาพของตลาดแรงงานเยอรมันซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป โดยระบุว่าไตรมาสแรกจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 42.2 ล้านคน- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ยอดการก่อสร้างกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในไตรมาสแรกปีนี้ จากไตรมาส 4 ปี 2557 บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจและครัวเรือนพร้อมที่จะลงทุนมากขึ้น- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมันกล่าวว่า เขาไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่กรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ และเขามีจุดยืนแข็งกร้าวว่าจะไม่ยอมประนีประนอมในการเจรจากับกรีซเกี่ยวกับการให้เงินช่วยเหลืองวดสุดท้าย จากจำนวนทั้งสิ้น 2.45 แสนล้านยูโร ซึ่งหากกรีซไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับประเทศเจ้าหนี้ จะทำให้กรีซผิดนัดชำระหนี้จำนวน 1.5 พันล้านยูโรต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ในวันที่ 5 มิถุนายน 2558
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะผู้ประกอบการยังคงมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบ อย่างไรก็ตาม ราคาจะยังไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากเพราะปัจจัยลบจากต่างประเทศยังคงกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่าและนักลงทุนคลายความกังวล หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ญี่ปุ่นไตรมาส 1 ปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเกินคาด ขณะที่ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ราคายางอาจเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด เพราะนักลงทุนรอดูตัวเลขภาคการผลิตจีนที่จะเปิดเผยในวันนี้


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา