ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 905 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84634
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  18  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง   ๆ ถึงกระจาย โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 40.0 ของพื้นที่   ส่วนมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2.   การใช้ยาง
 
- นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย   กล่าวว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 อาจต้องปรับลดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยอีกครั้ง เนื่องจากกำลังซื้อและเศรษฐกิจชะลอตัวลดลงต่อเนื่อง โดยจะพยายามรักษาให้ไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่สามารถผลิตได้ 1.8 ล้านคันจากต้นปีที่ตั้งเป้าไว้ที่ 2.15 ล้านคัน
 
3.   สต๊อคยางจีน
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 15 พฤษภาคม   2558 เพิ่มขึ้น 1,036 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 แตะระดับ 128,214 ตัน   จากระดับ 127,178 ตัน ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2558
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
3.1 เศรษฐกิจของญี่ปุ่น
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น   เดือนเมษายน ปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน   เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการ รวมทั้งอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว
3.2 เศรษฐกิจของจีน
- กระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าต่างประเทศในด้านบริการของจีน แตะระดับ   1.4954 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6   จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยว่า ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของจีนในเดือนเมษายน   เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบรายปี แตะระดับ 9.61 พันล้านดอลลาร์   ซึ่งต่ำกว่าระดับ 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม
3.2 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
- ผลสำรวจนักวิเคราะห์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ค ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้นตัวขึ้นหลังจากทรุดตัวลงในช่วงไตรมาสแรกที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ หนาวเย็น   แต่อัตราการขยายตัวจะต่ำกว่าระดับร้อยละ 3.0 ที่หลายคนเคยคาดหวังไว้ หลังมีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ
- ผลสำรวจนักวิเคราะห์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย ระบุว่า ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ลงสู่ระดับร้อยละ 2.4 จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับร้อยละ 3.2 ในการสำรวจที่ทำไว้ในช่วงไตรมาสแรก และยังคาดว่าการขยายตัว GDP ที่แท้จริงของทั้งปี   2016 และปี 2017 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 และจะลดลงสู่ระดับ 2.5 ในปี 2508
- ผลสำรวจของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ   เบื้องต้นของเดือนพฤษภาคม ลดลงมากกว่าคาด สู่ระดับ 88.6 จากตัวเลขขั้นสุดท้ายที่   95.9 ในเดือนเมษายน
ธนาคาร กลางสหรัฐฯ   (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนเมษายน   ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 5 หลังจากปรับตัวลงร้อยละ 0.3 ในเดือนมีนาคม   ซึ่งสวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ค รายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม ประจำเดือนพฤษภาคม ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.09 จาก 1.19 ในเดือนเมษายน น้อยกว่านักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ   5.0
 
5. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่   32.47 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
-   เงินเยนอยู่ที่ 119.68 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.28 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
6.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน มิถุนายน ปิดตลาดที่ 59.69 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง   0.19 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ท่ามกลางความวิตกที่ว่า การทะยานขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาอาจจะส่งผลให้มีการผลิตเพิ่มมาก ขึ้น
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   ส่งมอบเดือนมิถุนายน ที่ตลาดลอนดอน ปิดเพิ่มขึ้น 0.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล   ที่ 66.81 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
7.   การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 214.2 เยนต่อกิโลกรัม สูงขึ้น 0.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม 2558 อยู่ที่ 222.4 เยนต่อกิโลกรัม สูงขึ้น 1.9 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.3   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
8. ข่าว
 
- มูดีส์   อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส   ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้หลายประเภทของธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯ 3   แห่ง
- วาณิชธนกิจ เจพี มอร์แกนเชส คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะลดอัตราดอกเบี้ยอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 โดยมีความเป็นไปได้มากกว่าที่ธนาคารกลางจีนอาจจะปรับลดสัดส่วนกันสำรองของ ธนาคารพาณิชย์ (RRR)
 
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้อีก   เพราะปริมาณผลผลิตมีน้อย และจะต้องส่งมอบผู้ประกอบการจึงต้องเร่งซื้อ และแข่งขันกันซื้อ จึงต้องซื้อในราคาสูง ขณะที่ต้องรอให้ผลผลิตออกมามาก คาดว่าผู้ประกอบการก็ต้องปรับราคาลงเพื่อลดการขาดทุน
 
  แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนอ่อนค่า และปริมาณผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจออกมาย่ำแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ และข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดีของญี่ปุ่นช่วยให้นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวก มากขึ้น



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา