ผู้เขียน หัวข้อ: ยางขยับพรวดหลังไม่ง้อไซคอม  (อ่าน 854 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
ยางขยับพรวดหลังไม่ง้อไซคอม
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2015, 10:41:54 AM »
ยางขยับพรวดหลังไม่ง้อไซคอม



  ที่มา เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจยางขยับพรวดหลังไม่ง้อไซคอม 
ยางขยับพรวดหลังไม่ง้อไซคอม 7บริษัทไทย-อินโดฯรวมหัวไม่ขายล่วงหน้า

 มิติใหม่ เขย่าวงการยาง 3 พี่เบิ้ม ไทยจับมือ 4 แกนนำยักษ์ใหญ่แดนอิเหนา ปริมาณยางไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตัน รวมหัวตอบโต้ประกาศลั่นไม่ขายยางในตลาดไซคอม สิงคโปร์ ดันราคายางทั้งในประเทศ-โลกพุ่งพรวด 3-4 บาท/กก.ทำชาวสวนเริ่มยิ้มออก เผยสาเหตุที่รวมตัวกัน เพราะตลาดล่วงหน้า นักเก็งกำไร เล่นปั่นราคายางร่วงไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง ชี้วิน-วิน พยุงราคาอุ้มเอกชน-ชาวสวนทั่วโลก นายไชยยศ สินเจริญกุล นายกสมาคมยางพาราไทย และกรรมการ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ล่าสุดทางสมาคมยางพาราไทย ได้ทำหนังสือขอบคุณ 3 บริษัทไทยได้แก่ บมจ.ไทยฮั้วยางพารา บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี และบริษัทในเครือบริษัท เซาท์แลนด์รับเบอร์ จำกัด ร่วมกับ 4 บริษัทค้ายางรายใหญ่ของอินโดนีเซียที่มีบริษัท Halcyon Agri และ บริษัท Kirana Megatara Group เป็นแกนนำทั้งนี้ทั้ง 7 บริษัทมีจุดยืนร่วมกันในการประกาศไม่ขายยางในตลาดล่วงหน้าที่ตลาดไซคอมของ สิงคโปร์ การประกาศดังกล่าวได้ส่งผลด้านจิตวิทยา ทำให้ราคายางทั้งในประเทศและทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น(ดูตารางประกอบ) "เป็นมิติใหม่ เป็นที่ทราบดีอยู่ว่าตลาดล่วงหน้าไซคอม เป็นพวกนักเก็งกำไร ไม่ได้ซื้อขายยางจริง ก็มาปั่นราคากดราคาต่ำสุด น่าสงสารชาวสวนที่ตกเป็นเหยื่อของคนกลุ่มนี้ เรียกว่าเป็นการเอาคืนจากเอกชนที่ได้ผลที่สุด เรียกว่าไม่ต้องใช้เงินซักบาทเดียว ถ้าเทียบระหว่างไทยกับอินโดนีเซียที่เกษตรกรได้รับผลกระทบราคายางตกต่ำด้วย กันไทยถือว่าโชคดีกว่าที่รัฐบาลช่วยมาตลอดทั้งจ่ายค่าชดเชยรายได้ และแทรกแซงซื้อยางในราคานำตลาดแล้วเก็บสต๊อกไว้ ขณะที่อินโดนีเซียไม่ช่วยเหลือเลย อย่างไรก็ดีหากราคายางตกต่ำอย่างนี้ก็ไม่เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการเช่นกัน ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อต่อรองกับตลาดของผู้ซื้อ" สอดคล้องกับนายหลักชัย กิตติพล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไทยฮั้วยางพารา กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ไม่ได้มีกำหนดระยะเวลา เพียงแต่ต้องประเมินเป็นรายสัปดาห์ เพราะทราบกันดีอยู่แล้วตลาดล่วงหน้า ไม่ได้ซื้อยางจริง แล้วที่ผ่านมาทางบริษัทก็เล่นในตลาดนี้น้อยมาก หรือแทบไม่ได้ลงไปซื้อขายในตลาดไซคอมเลย ดังนั้นจึงไม่กระทบกับบริษัท เพราะบริษัทเน้นขายให้กับผู้ใช้ยางโดยตรงมากกว่า อาทิ ประเทศจีน เป็นต้น ที่สำคัญราคายางของบริษัทที่ขายเป็นระดับเกรดพรีเมียม จะสูงกว่าราคาตลาด 3-4% จึงไม่กระทบ เมื่อประกาศจุดยืนไปแล้ว 2 สัปดาห์ เป็นจิตวิทยาตลาด เห็นว่าได้ผล ก็ยังวางใจไม่ได้ ที่สำคัญก็คือเป็นการช่วยรัฐบาลทางอ้อม แต่ช่วยชาวสวนโดยตรง เชื่อว่าราคายางจะดีขึ้นตามลำดับ ด้านนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ในฐานะประธานสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เห็นราคายางพุ่งในรอบสัปดาห์ รู้สึกแปลกใจ จึงได้โทรศัพท์ไปหา ดร.ปรีดี ลีลาเศรษฐวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์ รับเบอร์ จำกัด จึงได้ทราบว่า 3 เสือวงการยาง ของไทยไปร่วมมือกับ 4 บริษัทในอินโดนีเซีย แอนตี้ไม่ซื้อขายล่วงหน้าในตลาดไซคอม ประเทศสิงคโปร์ ปริมาณรวมกันทั้ง 7 บริษัท ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตันต่อปี ส่งผลดีต่อตลาดแน่นอน ส่วนในรอบการเปิดกรีดยางเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีการจ่ายชดเชยให้กับชาวสวนโดยตรงไม่เกินรายละ 25 ไร่ คาดว่าจะเสนอผ่านที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ เช่นเดียวกับ ดร.ปรีดี ลีลาเศรษฐวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์ รับเบอร์ จำกัด กล่าวว่า เป็นครั้งแรกความร่วมมือดังกล่าวดำเนินการโดยเอกชน โดยไม่มีรัฐบาล เป็นบทบาทใหม่ที่เห็นเอกชนมีความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วจะเห็นปฏิกิริยาตอบรับจากหลายๆ บริษัทในสมาคมวงการยาง เริ่มตอบสนองร่วมมือกันที่จะพยุงราคารักษาเสถียรภาพราคายาง เป็นการลดบทบาทตลาดล่วงหน้า และที่สำคัญหากทำสำเร็จจะเห็นการกำหนดราคาขายยางใหม่จากผู้ผลิต แต่เดิมฐานราคาขายยางจริง จะอ้างอิงราคายางในตลาดล่วงหน้า แต่ราคาใหม่ จะบวกค่าพรีเมียม เติมเข้าไปด้วยทุกครั้งในการซื้อขาย