ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดี ที่ 30 เมษายน 2558  (อ่าน 865 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84635
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดี ที่ 30 เมษายน 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์   
1.   สภาพอากาศ
 
- กระแสลมตะวันตกเคลื่อนจากภาคเหนือมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาว ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย   เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้น บางแห่ง ภาคใต้มีเมฆเป็นบางส่วนมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง   ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
 
2.การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น(JAMA)รายงานวันนี้ว่า ยอดการผลิตรถยนต์ภายใน   ประเทศลดลงร้อยละ 3.2   ในปีงบการเงิน 2014 สู่ระดับ 9,590,644 คัน ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี   ขณะที่ภาคเอกชนลดการใช้จ่าย หลังการปรับขึ้นภาษีบริโภค หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)   จากร้อยละ 5 สู่ร้อยละ 8 ในเดือนเมษายนปีที่แล้วอย่างไรก็ดี การผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กประเภท 660   cc เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สู่ระดับ 1,812,335 คัน ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลในปี 1966   เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อรถยนต์ขนาดเล็กที่มีราคาถูก และประหยัดน้ำมันส่วนการผลิตรถยนต์นั่งโดยรวมลดลงร้อยละ 4.2 สู่ระดับ 8,087,895 คัน   ขณะการผลิตรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 สู่ระดับ 1,364,229 คัน และการผลิตรถบัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5  สู่ระดับ 138,520 คัน
 
3.เศรษฐกิจโลก
 
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งแรกสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ   (จีดีพี) ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยระบุว่ามีการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 เทียบกับระดับร้อยละ 2.2 ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว และร้อยละ 5 ในไตรมาส 3 การชะลอตัวเกิดจากการที่ภาคธุรกิจลดการลงทุน ขณะที่การส่งออกดิ่งลง และผู้บริโภคลดการใช้จ่าย นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า จีดีพีมีการขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสแรก
-สมา พันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษ (CBI) เปิดเผยยอดค้าปลีกร่วงลงสู่ระดับ 12 ในเดือนเมษายน จาก 18 ในเดือนมีนาคม ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 25 ตัวเลขคาดการณ์ยอดขายในช่วง 1 เดือนข้างหน้า   ดีดตัวแตะ 40 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จากเดิมที่ 21
- คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ   (เฟด) ลงมติในการประชุมเมื่อวานนี้ ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยในช่วงร้อยละ 0-0.25 ต่อไป ขณะที่ไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนเกี่ยวกับกำหนดการในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
 
4.อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.91 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ   อ่อนค่าลง 0.26 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 118.93 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.10 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5.ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 58.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ   (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง   รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในปีนี้
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 65.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   เพิ่มขึ้น 1.2 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6.การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM   ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 213.6   เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เยนต่อกิโลกรัม   และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 216.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคตลาด SICOM   เปิดตลาดที่ 178.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7.ข่าว
 
- คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปจีน (NDRC)   เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าจีนมีผลกำไรทั้งสิ้น 1.813 หมื่นล้านหยวนในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงร้อยละ 36 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ   (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้วทั้งนี้ สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 490.9 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรล
 
8.ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย   เนื่องจากผลผลิตยางมีน้อย ประกอบกับเงินบาทอ่อนค่า   อย่างไรก็ตามการถามซื้อจากต่างประเทศมีน้อย และยังคงขายออกยาก
 
 

 แนวโน้ม ราคายางปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับราคายางตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ และมีปัจจัยบวกจากผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดน้อย การอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐ (EIA) ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในปีนี้ อย่างไรก็ตามอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อราคายางในระยะนี้



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา