ผู้เขียน หัวข้อ: สกัดนายทุนฮุบทรัพยากรชาติ ยางมาป่าหมด!  (อ่าน 793 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
สกัดนายทุนฮุบทรัพยากรชาติ ยางมาป่าหมด!
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 5 พ.ค. 2558 05:01


 
 เกาะติดปฏิบัติการกรมอุทยานฯโค่นทิ้งสวนยางพาราล้านไร่รุกป่าอนุรักษ์
ยางมาป่าหมด

นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับผืนป่าของประเทศไทย ทั้งป่าอนุรักษ์ ที่ประกอบด้วย อุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์ วนอุทยานฯ และป่าสงวนแห่งชาติ ที่ถูกกลุ่มนายทุน ผู้มีอิทธิพล บุกรุกเข้าไปโค่นป่าเพื่อปลูกยางพารา

แต่ละปีมีการบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น แน่นอนส่วนใหญ่มาจาก ?กลุ่มอิทธิพลต่างถิ่น? มาซื้อต่อมือโดยไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ จากพื้นที่ของประชาชนที่จับจองปลูกพืชไร่ที่ใช้ผืนป่าทำกินมานานนับสิบปีสืบ ทอดกันมา รายละไม่กี่ไร่ ต่อมานายทุนก็มากว้านซื้อรวมกันเป็นแปลงใหญ่ และจ้างแรงงานมาปลูกยางพารา ปลูกพืชสวนอื่นๆ ในทั่วทุกภาคของประเทศ


ข้อมูลล่าสุด พบมีการบุกรุกที่ดินของรัฐเพื่อปลูกสร้างสวนยางพารากว่า 5.1 ล้านไร่ แบ่งเป็นการบุกรุกป่าสงวนฯ 4 ล้านไร่ อุทยานแห่งชาติกว่า 1 ล้านไร่

ที่สำคัญพบว่า เป็นการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อปลูกสร้างสวนยางในเขตลุ่มน้ำชั้น 1 หรือพื้นที่ลุ่มน้ำที่ควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะลุ่มน้ำชั้น 2 หรือพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญรองลงมาจากลุ่มน้ำชั้น 1 รวมกว่า 1 ล้านไร่ และเป็นการบุกรุกในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3-4 และ 5 ที่อยู่ในพื้นที่ป่าไม้ 2.9 ล้านไร่ อุทยานแห่งชาติ 3 แสนไร่
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นป่าที่มีความสำคัญต่อประเทศ เพราะเป็นป่าผืนสุดท้ายที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเปิดปฏิบัติการเพื่อบังคับใช้กฎหมายต่อพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกปลูก ยางพาราทั่วประเทศ โดยเริ่มดีเดย์ในเดือน พ.ค.นี้ เป็นต้นไป
?พื้นที่ป่าอนุรักษ์ถูกบุกรุกเพื่อปลูกยางพารา ประมาณ 1.06 ล้านไร่ เป็นพื้นที่พิสูจน์สิทธิ์ตามมติ ครม. 30 มิ.ย.2541 จำนวน 3 แสนไร่ และมีพื้นที่ต้องตัดฟันยาง-พาราทิ้งทันที 715,066. 16 ไร่ทั่วประเทศ แบ่งเป็นในพื้นที่อุทยานฯ 105 แห่ง วนอุทยานฯ 34 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 45 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 31 แห่ง รวม 215 แห่ง โดยใน 6 เดือนหลังของปีนี้ มีพื้นที่เป้าหมายที่จะรื้อถอน 2.8 แสนไร่ ปี 2559 อีก 3 แสนไร่? นายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานฯ ระบุถึงภารกิจสำคัญ

อธิบดีกรมอุทยานฯ ยังได้กล่าวถึงผู้ที่บุกรุกป่าอนุรักษ์ ว่า ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ติดพื้นที่ หรือใกล้เคียงกับแนวเขตป่าอนุรักษ์ โดยจะเข้าไปลักลอบบุกรุกป่าใหม่หรือบุกรุกขยายที่ทำกินจากแปลงถือครองตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2541 เพื่อปลูกยางพารา และยังมีกลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพลว่าจ้างชาวบ้านให้ลักลอบบุกรุกพื้นที่ ป่าเพื่อปลูกยางพาราและดูแลพื้นที่แทนพร้อมกรีดยาง โดย นายทุนหรือผู้มีอิทธิพล จะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเก็บหาผลประโยชน์ เช่น ให้ชาวบ้าน 40% และตัวเองได้ 60% เป็นต้น ที่สำคัญบางส่วนมีการนำพื้นที่ป่าไปออกเอกสารสิทธิโดยไม่ชอบด้วย กฎหมายด้วย


?ที่ผ่านมากรมอุทยานฯ ได้ดำเนินการปราบปรามจับกุมดำเนินคดีกับผู้บุกรุกมาตลอด ไม่ใช่เพิ่งมาทำ แต่ปฏิบัติการครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่ ทุกพื้นที่ต้องเอาจริงเอาจังเพื่อลดการบุกรุกจากกลุ่มนายทุนและลดการปลูก ยางพารา ที่สำคัญจะเป็นการกันยางพาราที่อยู่นอกระบบไม่ให้เข้าไปสู่ระบบทำให้ราคา ยางพาราที่ตกต่ำอยู่ราคาดีขึ้น โดยกรมอุทยานฯ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อทำหน้าที่บัญชาการและจัดตั้งศูนย์ ปฏิบัติการภูมิภาค 21 แห่งทั่วประเทศ โดย กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการรื้อถอนให้เสร็จสิ้นภายในเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นตั้งแต่เดือน มิ.ย.?ธ.ค. นี้ จะเป็นการบังคับใช้มาตรการทาง
การปกครองและตัดฟันสวนยางพาราที่บุกรุก? นายนิพนธ์ กล่าว

สำหรับพื้นที่เป้าหมายสำคัญที่มีการบุกรุกป่าอนุรักษ์มากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก อาทิ จ.สุราษฎร์ธานี ที่อุทยานฯ แก่งกรุง 22,281 ไร่เศษ อุทยานฯ ใต้ร่มเย็น 19,056 ไร่เศษ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน 8,415 ไร่เศษ เป็นต้น จ.ตรัง ที่อุทยานฯ เขาปู่-เขาย่า 20,877 ไร่เศษ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหม่าเกาะลิบง 42,675 ไร่เศษ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคลองลำขาน 21,274 ไร่เศษ เป็นต้น จ.นครศรีธรรมราช ที่ อุทยานฯ เขาหลวง 29,166 ไร่เศษ เป็นต้น จ.กระบี่ ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาประ-บางคราม 5,026 ไร่เศษ เป็นต้น จ.พัทลุง ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบ 18,358 ไร่เศษ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาบรรทัด 10,300 ไร่เศษ เป็นต้น จ.สงขลา ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาน 52,014 ไร่เศษ อุทยานฯ เขาน้ำค้าง 11,173 ไร่เศษ เป็นต้น จ.นราธิวาส ที่อุทยานฯ บูโด-สุไหงปาดี 19,743 ไร่เศษ เป็นต้น
จ.จันทบุรี ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว 9,285 ไร่เศษ จ.ระยอง ที่เตรียมการเขตห้ามล่าสัตว์ป่า นาตาขวัญ 5,940 ไร่เศษ จ.กาญจนบุรี ที่อุทยานฯ เขาแหลม 7,434 ไร่เศษ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรมฯ 9,928 ไร่เศษ จ.ชัยภูมิ ที่อุทยานฯ ตาดโตน 10,657 ไร่เศษ จ.ร้อยเอ็ด ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง 4,908 ไร่เศษ เป็นต้น

โดยแนวทางในการปฏิบัติ คือ จะตัดโค่นสวนยางพาราที่ยังกรีดน้ำยางและให้ผลผลิตไม่ได้ทั้งหมด ซึ่งต้นยางจะมีอายุตั้งแต่ 1?2 ปี ส่วนยางที่กรีดแล้วอาจจะมีการตัดแถวเว้นแถวหรือตัดครึ่งหนึ่งเพื่อไม่ให้ กระทบต่อหน้าดิน จากนั้นจึงค่อยๆฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนมา


?ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม? ขอสนับสนุนปฏิบัติการยึดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ถูกบุกรุกปลูกยางพารากลับมา เป็นสมบัติของแผ่นดิน เพราะยิ่งนับวันประเทศไทยยิ่งเผชิญกับภัยคุกคามจากการลักลอบบุกรุกทำลายป่า อย่างรุนแรง


และแม้จะมีการอ้างว่าที่ต้องปลูกยางพาราเพราะเป็นพืชเศรษฐกิจและมีการส่ง เสริมของภาครัฐที่ผ่านมา แต่เรามองว่านั่นคงไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างหรือข้อยกเว้นให้เกิดการบุกรุก ป่าอนุรักษ์เพื่อปลูกยางพาราจนสร้างความเสียหายต่อความสมดุลทางธรรมชาติและ ระบบนิเวศ


และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือเป็นการสร้างช่องทางให้นายทุนหรือผู้มี อิทธิพล ว่าจ้างชาวบ้านให้บุกรุกจับจองที่ดิน และนำไปสู่การซื้อขายเปลี่ยนมือหรือนำไปออกเอกสารสิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อทำเป็นบ้านพักตากอากาศ โรงแรม รีสอร์ต กลายเป็นวงจรการบุกรุกทำลายป่าหมุนเวียนไปอย่างไม่มี
ที่สิ้นสุด
หยุดวงจรอุบาทว์ก่อนที่ป่าไทยจะวายวอดไปมากกว่านี้...

ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2015, 08:53:39 AM โดย Rakayang.Com »