ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 29 เมษายน 2558  (อ่าน 773 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84635
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 29 เมษายน 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพอากาศ
 
- กระแสลมตะวันตกจากประเทศเมียนมาร์เคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ มีลมกระโชกแรงบางแห่ง
 
2.การใช้ยาง
 
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงยอดการส่งออกรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2558 ว่า   มียอดส่งออกถึง 127,619 คัน ส่งออกได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการส่งออกรถยนต์ในปี   2531 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้นมากในตลาดยุโรป ตลาดอเมริกาเหนือ   และตลาดออสเตรเลีย โดยการส่งออกรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2558   เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.63 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 57,113 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.08 จากเดือนมีนาคม 2557   ส่งผลให้การส่งออกรถยนต์ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ มียอดส่งออก 328,232 คัน   เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.6  คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 146,884 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.74
 
3.เศรษฐกิจโลก
 
- ผลสำรวจของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส   ชิลเลอร์ระบุว่า ราคาบ้านในสหรัฐดีดตัวขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้แรงหนุนจากยอดขายบ้านที่เพิ่มขึ้น และปริมาณบ้านที่มีจำกัด ทั้งนี้ ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นร้อยละ 5 ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเทียบรายปี โดยเพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 4.5 ของเดือนมกราคม
- ผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงในเดือนเมษายน แตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน   โดยถูกกระทบจากการจ้างงานที่ชะลอตัวทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงลงสู่ระดับ 95.2   ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว   หลังพุ่งแตะระดับ 101.4 ในเดือนมีนาคม นอกจากนี้ การประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันร่วงลงเป็นเดือนที่ 3   ในเดือนเมษายน ขณะที่การคาดการณ์เศรษฐกิจในอนาคตปรับตัวลงในเดือนเมษายน
 
4.อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.65 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ   อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 118.83 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.26 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5.ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 57.06 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยภาวะ
 การซื้อขายในตลาดเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่สำนักงานสารสนเทศด้านการ พลังงานของรัฐบาลสหรัฐ   (EIA) จะเปิดเผยรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์

- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 64.64 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   ลดลง 0.19 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6.การเก็งกำไร
 
- ตลาด TOCOM  ปิดทำการเนื่องจากเป็นวัน  Showa Day
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 177.50 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 1.0 เซนต์-สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7.ข่าว
 
- รายงานผลการทบทวนเศรษฐกิจประจำครึ่งปีของธนาคารกลางสิงคโปร์คาดว่า ตลาดแรงงานของสิงคโปร์จะตึงตัวในปี 2558 เนื่องจากความต้องการด้านแรงงานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการภายในประเทศ ในขณะที่อุปทานแรงงานมีปริมาณที่จำกัด
- การเจรจาการค้าเสรีรอบล่าสุดระหว่างญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป   (EU) ยังคงประสบภาวะชะงักงัน เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นภาษีรถยนต์การเจรจาดังกล่าวไม่มีความคืบ หน้า   แม้ว่าใกล้จะถึงการประชุมสุดยอดของผู้นำญี่ปุ่นและ EU ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่   29 พฤษภาคม 2558
 
8.ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางยังคงทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย เพราะปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยประกอบกับต้องรอดูฤดูการเปิดกรีดใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อเพื่อการส่งมอบ และความต้องการจากตลาดต่างประเทศยังคงซบเซา
 
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบๆ โดยมีปัจจัยบวกมาจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย และการอ่อนค่าของเงินบาท ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปิดทำการ ประกอบกับการเงินเยนที่แข็งค่า และความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐเดือนเมษายนลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา