ผู้เขียน หัวข้อ: ก.เกษตรฯ เดินหน้าโรดแมป 10 โครงการ อัดงบ 3.4 หมื่นลบ.พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร  (อ่าน 650 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84897
    • ดูรายละเอียด
ก.เกษตรฯ เดินหน้าโรดแมป 10 โครงการ อัดงบ 3.4 หมื่นลบ.พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร

นาย ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงผลงานรอบ 6 เดือนว่า ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2557 ถึง 31 มีนาคม 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นดูแลเกษตรกร ให้มีรายได้ที่เหมาะสม ลดต้นทุนการผลิต ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต ปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร สนับสนุนให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพิ่มบทบาทในฐานะผู้ซื้อพืชผลจนถึงการแปร รูปและการส่งออก เพื่อให้สหกรณ์เป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตรรายใหญ่อีกรายหนึ่ง รวมถึงมาตรการต่างๆ ด้วยการจัดทำ Road Map เพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรที่สำคัญ อาทิ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าข้าว ประมง ปศุสัตว์ การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร การบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น
ผล การดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1.ผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2.ผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติงบประมาณที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3.Road Map ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งผลการดำเนินงานแต่ละด้านประกอบด้วย

สำหรับ ผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ การช่วยเหลือชาวนา ตามมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยเพิ่มรายได้แก่ชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท จ่ายเงินให้เกษตรกรแล้ว 3.596 ล้านครัวเรือน (ร้อยละ 96.93 ของครัวเรือน) จากเกษตรกรเป้าหมาย 3.71 ล้านครัวเรือน วงเงินรวม 38,886.62 ล้านบาท การช่วยเหลือชาวสวนยาง ตามแนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ โดยชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ตามที่กำหนดในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ จ่ายเงินให้เกษตรกรแล้ว 767,518 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 85.31 วงเงิน 7,704.27 ล้านบาท

โครงการ สนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม เป้าหมาย 100,000 ครัวเรือน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการใน 64 จังหวัด 111,210 ครัวเรือน ธ.ก.ส.อนุมัติแล้ว 20,177 ครัวเรือน 43 จังหวัด วงเงิน 1,824.18 ล้านบาท สนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพาราวง เงิน 10,000 ล้านบาท เป้าหมายสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน 994 แห่ง ขณะนี้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับอนุมัติวงเงินกู้ยืมจาก ธ.ก.ส.แล้ว 311 แห่ง 3,616.92 ล้านบาท โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ปริมาณยางที่ประมูลได้ในภาพรวม 139,531.82 ตัน จำนวนเงิน 8,299.84 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท รวมทั้งเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการแปรรูปเป้าหมาย 245 แห่ง จ่ายแล้ว 41 แห่ง วงเงิน 167 ล้านบาท

ขณะ เดียวกัน ยังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) โดยจดทะเบียนเรือประมง จำนวน 51,989 ลำ ร่วมตรวจควบคุมเรือ 26,761 ลำ จับกุม 8 คดี และทำประมงผิดกฎหมาย 259 คดี ปรับปรุงร่าง NPOA-IUU ติดตั้งระบบติดตามตำแหน่งเรือ (VMS) ออก พ.ร.บ.การประมง และปรับปรุงกฎหมายลำดับรอง 70 ฉบับ แก้ไขแรงงานประมง (พัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์เรือประมง ขึ้นทะเบียนแรงงานประมงต่างด้าว) ฟื้นฟูอุตสาหกรรมกุ้ง /แก้ไขปัญหาโรค Early Malality Syndrome (EMS) ในกุ้ง (นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ เพิ่มประสิทธิภาพระบบคัดกรอง ป้องกัน เฝ้าระวังโรคกุ้งเพื่อยับยั้ง EMS เพิ่มการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) และแก้ไขปัญหาการเกิดโรคระบาดในกุ้ง

โครงการ ตลาดเกษตรกร ได้จัดทำโครงการตลาดเกษตรกรแล้วใน 77 จังหวัด ผลการจำหน่ายสินค้าระหว่าง 26 มกราคม ? มีนาคม 2558 ใน 77 จังหวัด มีมูลค่าการซื้อ-ขายสินค้าเกษตรผ่านตลาด รวม 6,504,982 บาท การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง (พฤศจิกายน 2557 ? เมษายน 2558) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 14 ตุลาคม 2557 โดยมาตรการหลัก ได้จ้างแรงงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งแล้ว 38,694 ราย (ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 36,662 ราย และลุ่มน้ำแม่กลอง 7,032 ราย) จากเป้าหมาย 44,388 ราย ส่วนมาตรการเสริม ได้จัดฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร 9 หลักสูตร จำนวน 18,021 ราย (ร้อยละ 102.22 ของเป้าหมาย 17,804 ราย) สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว/พันธุ์พืชปุ๋ยสด (20 จังหวัด) เป้าหมาย 300,000 ไร่ ได้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรครบ 20 จังหวัด เพาะปลูกแล้ว รวมพื้นที่ 142,803 ไร่ ขณะอยู่ระหว่างการเริ่มเก็บเกี่ยว

การ ส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์ มีเป้าหมายรวม 13,389 ราย ดำเนินการอบรมเกษตรกรแล้ว จำนวน 11,793 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.07 เกษตรกรได้ปรับปรุงโรงเรือนแล้ว จำนวน 3,688 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.54 มอบปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรแล้ว จำนวน 2,796 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.88 การส่งเสริมอาชีพด้านประมง มีเป้าหมายรวม 3,574 ราย ดำเนินการอบรมเกษตรกรแล้ว 2,950 ราย คิดเป็นร้อยละ 82.54 มอบปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรแล้ว 2,553 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.43 การฝึกอาชีพด้านการเกษตรและด้านอื่นๆ(กศน.) เป้าหมาย 1,385 ราย ขณะนี้ดำเนินการฝึกอาชีพแล้ว 1,273 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.91 (ข้อมูล วันที่ 31 มี.ค.58)

นอก จากนี้ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558 มีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่ 3,051 ตำบลๆ ละ 1 ล้านบาท โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชุมชน จ้างแรงงาน และสนับสนุนความต้องการของชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่ง ณ วันที่ 30 มีนาคม 2558 ได้มีการพิจารณาโครงการที่มีความสมบูรณ์ ครบถ้วนตามเงื่อนไขขอรับการสนับสนุนโครงการฯ รวม 52 จังหวัด 920 ตำบล จำนวน 1,455 โครงการ

การ พัฒนาแหล่งน้ำ ขยายพื้นที่ชลประทาน บริหารจัดการน้ำ 24.8 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับประโยชน์ 1.24 ล้านครัวเรือน สร้างระบบชลประทานขนาดเล็ก 16,510 โครงการ และแหล่งน้ำในไร่นา 290,862 บ่อ พื้นที่รับประโยชน์ 581,724 ไร่

การ ป้องกันและปราบปรามปัจจัยการผลิตและการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย ทั้งด้านประมง ปศุสัตว์ และพืช การปรับปรุงและออกกฎหมายใหม่ 6 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ร.บ.สถานพยาบาลสัตว์ พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.ชลประทานราษฎร์ และ พ.ร.บ.การประมง รวมทั้งการปรับโครงสร้างส่งเสริมการเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่ โดยยึดระบบ Zoning ที่เหมาะสม

ใน ปี 2558 แนวทางการดำเนินงานได้จัดทำ Road Map ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตร รวม 4 ชนิด ประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และปาล์มน้ำมัน ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 ได้เห็นชอบโครงการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วย โครงการปรับโครงสร้างการผลิตปศุสัตว์ ประมง ปาล์มน้ำมันแบบครบวงจร และอยู่ระหว่างขับเคลื่อนด้วยระบบการส่งเสริมพื้นที่แบบแปลงใหญ่ โดยมีคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดผ่านกลไกบูรณาการใน ระดับพื้นที่

สำหรับผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติงบประมาณที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย

1. การลดต้นทุนการผลิต โดยการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ใน กิจกรรมหลัก คือ จัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 3 ประเภท โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพระราชทาน ปี 2558 ให้สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ 858 ตัน จัดทำแปลงเรียนรู้และจุดสาธิตเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกร 17,640 ราย ผ่าน 882 ศูนย์ และการผลิตปุ๋ยหมักเติมอากาศในฟาร์มผลิตพืชอินทรีย์ สร้างโรงต้นแบบและติดตั้งระบบการผลิตปุ๋ยหมักเติมอากาศให้เกษตรกรต้นแบบ 11 แห่ง 10 จังหวัด

2.การ เพิ่มผลผลิต ได้แก่ โครงการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชรองรับประชาคมอาเซียน (Seed Hub) โครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อควบคุมและลดความสูญเสียของสินค้ากุ้งทะเล จากกลุ่มอาการตายด่วน (EMS)

3.การเพิ่มรายได้ โดยตรวจรับรองแหล่งผลิต วิเคราะห์คุณภาพและประเมินมาตรฐานทั้งด้านพืช ปศุสัตว์และประมง

4. การจัดการองค์ความรู้ด้านการเกษตร โดยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ 882 ศูนย์ ทั่วประเทศ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง โดยมีการสำรวจ คัดกรองเกษตรกรตามคุณสมบัติ Smart Farmer แล้ว 4.85 ล้านราย จากเป้าหมาย 7.25 ล้านครัวเรือน ดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้บริการวิเคราะห์ดิน และให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยสนับสนุนสารเร่ง พด. เพื่อผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพ 5.การจัดการทรัพยากร ดำเนินโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน มีการรวบรวมและยืนยันความต้องการของเกษตรกรเป้าหมายสำหรับการขุดสระน้ำและ ใช้ประโยชน์จากสระน้ำ โดยจัดซื้อจัดจ้างและลงนามในสัญญาครบตามเป้าหมาย 50,000 สระ ขุดแล้ว 15,114 สระ ฟื้นฟูปรับปรุงคุณภาพดิน มีการส่งเสริมใช้ปูนมาร์ลในพื้นที่ดินเปรี้ยว ปรับปรุงพื้นที่ดินกรด และพื้นที่ดินเค็มรวม 117,943 ไร่ จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ รวม 176,158 ไร่ จัดที่ดินทำกินให้เกษตรกร โดยจัดที่ดินทำกิน/สอบสวนสิทธิ รวม 8,950 ราย 102,205 ไร่ 6.กิจการด้านต่างประเทศ เช่น การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ การเปิดตลาดในรัสเซีย การประชุมรัฐมนตรีสภาไตรภาคียางพารา และการประชุมระดับรัฐมนตรี ของประเทศต่างๆ เป็นต้น นายปีติพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแผน Road Map ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งประกอบด้วย โครงการสำคัญ 10 โครงการ วงเงินงบประมาณรวม 34,413.52 ล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าว โดยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพการผลิต (150 แห่ง พื้นที่ 0.78 ล้านไร่ เกษตรกร 48,000 ครัวเรือน) ส่งเสริมการผลิตข้าวสำหรับตลาดเฉพาะ (Niche Market) (130 แห่ง พื้นที่ 0.065 ล้านไร่ เกษตรกร 6,500 ครัวเรือน) ลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง (0.4 ล้านไร่ เกษตรกร 40,000 ครัวเรือน) ปรับเป็นเกษตรทางเลือก (พื้นที่ 0.32 ล้านไร่ เกษตรกร 106,655 ครัวเรือน) และปรับเปลี่ยนเป็นอ้อย (0.7 ล้านไร่ เกษตรกร 35,000 ครัวเรือน) 2. โครงการปรับโครงสร้างการผลิตปศุสัตว์ (กระบือ โค และไก่พื้นเมือง) โดยมุ่งอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตกระบือ เพิ่มปริมาณฐานแม่กระบือ 45,250 ตัว ภายในปี 2562 เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตน้ำนมโค โดยปรับโครงสร้างฟาร์มโคนม 150 ฟาร์ม ของ 3 สหกรณ์ โคนม 10,500 ตัว และการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมือง จำนวน 47,000 ตัว เกษตรกร 4,000 ครัวเรือน 3.โครงการปรับโครงสร้างการผลิตประมง (กุ้งทะเล หอยแครง ปลานิล) โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกุ้งทะเลอย่างครบวงจร (พื้นที่ 25,986 ไร่ เกษตรกร 1,362 ราย) พัฒนาแหล่งผลิตและปรับปรุงระบบการส่งเสริมด้านการเพาะเลี้ยงหอยแครง (พื้นที่ 9,920 ไร่ ได้รับการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ ได้แหล่งพ่อแม่พันธุ์หอยแครง พื้นที่ 5,000 ไร่) เกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงปลานิลแบบครบวงจร (พื้นที่ 27,979 ไร่ โดยจัดตั้งกลุ่มผู้เพาะเลี้ยง 14 กลุ่ม/สหกรณ์) 4. โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรด้วยการจำหน่ายหนี้เป็นสูญในกองทุนหรือเงิน ทุนในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินให้เกษตรกร โดยจำหน่ายหนี้สูญให้กับหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ภายใต้กองทุน/เงินทุน ในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของเกษตรกร 5. การปรับปรุงและออกกฎหมายเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง เช่น ร่าง พ.ร.บ. รายได้และสวัสดิการเกษตรกร พ.ศ. .... ร่าง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เป็นต้น 6. โครงการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อให้มีฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ครอบคลุมเกษตรกรทุกสาขา ด้านพืช 6.0 ครัวเรือน เลี้ยงสัตว์ 3.1 ล้านครัวเรือน ประมง 6 แสนฟาร์ม/3,000 ราย และสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 7. โครงการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยสหกรณ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของสหกรณ์ตามพื้นที่เป้าหมาย ปี 2558 จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ จังหวัดตาก นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริก ถั่วลิสง ถั่วเขียว และจังหวัดสระแก้ว นำเข้ามันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง 8. โครงการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันแบบครบวงจร ในพื้นที่เป้าหมาย นิคมสหกรณ์ 12 แห่ง 4 จังหวัด คือ กระบี่ ชุมพร นราธิวาส และ สุราษฎร์ธานี 9. โครงการพัฒนาเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจข้าวสถาบันเกษตรกร โดยเพิ่มรายได้เกษตรกรสมาชิกจากการจำหน่ายข้าวเปลือกและการจัดการผลผลิต เพิ่มมูลค่าของสถาบันเกษตรกร คืนสู่เกษตรกรสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 100-200 บาท/ตัน เป็น 200?300 บาท/ตัน 10. โครงการจัดตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อขยายศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ขาดแคลน ด้วยการจัดตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติมในแหล่งพื้นที่เพาะปลูกข้าว ในพื้นที่ 15 แห่ง สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์เพิ่มได้ปีละ 4,000 ตันต่อศูนย์ รวม 15 ศูนย์ เป็นจำนวน 60,000 ตัน รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากภารกิจการดำเนินงาน 6 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มุ่งมั่นที่จะตอบสนองนโยบายการพัฒนาการเกษตรให้ครอบคลุมตามนโยบายรัฐบาล ตลอดจนยุทธศาสตร์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงอาหาร การพัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน โดยจะเร่งดำเนินการทั้งในเรื่องของการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร การพัฒนาขีดความสามารถของสหกรณ์ การปรับโครงสร้างระบบส่งเสริมการเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่ การแก้ปัญหาหนี้เกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนแก่เกษตรกรและประเทศชาติสืบไป ดังวิสัยทัศน์ "เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหาร เป็นฐานสร้างรายได้ให้แผ่นดิน" ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
24/4/2015