ผู้เขียน หัวข้อ: '3ชาติ'จับมืองดขยายพื้นที่ปลูกยางใหม่7ปี  (อ่าน 803 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
'3ชาติ'จับมืองดขยายพื้นที่ปลูกยางใหม่7ปี



สกย.เชื่อมีเกษตรกรร่วมโค่นยางเก่าไม่ต่ำกว่า5แสนไร่


สภาไตรภาคียางพารา เห็นชอบงดปลูกยางยาว 6-7 ปี พร้อมจับมือ"ลาว-พม่า-กัมพูชา" บริหารการผลิตยางร่วมกัน เตรียมหารือจีนสร้างเสถียรภาพราคาสร้างเป็นธรรมทั้งผู้ซื้อผู้ขาย เดินหน้าตั้งตลาดกลางยางอาเซียน


นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด หรือ IRCo เปิดเผยในฐานะตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสภาไตรภาคียางพารา(ITRC) ที่ประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 23-27 ก.พ. ที่ผ่านมา ว่า ทาง ITRC ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเทศผู้ผลิตยางพารา ประกอบด้วยไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีมติร่วมกันว่าจะหยุดการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา และจะโค่นยางพาราเก่า เพื่อปลูกยางพาราใหม่ทดแทนในช่วง 6-7 ปีข้างหน้า เพื่อป้องกันปัญหายางพาราล้นตลาดทำให้ราคายางพาราตกต่ำ


การประชุมวันที่ 26 ก.พ.ที่ผานมา ทางผู้แทน ระดับสูงจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา ได้เข้า ร่วมการประชุมด้วย และเห็นชอบที่จะร่วมมือกับ ITRC ในการจัดทำแผนการผลิต แผนการตลาดยางพาราร่วมกัน ที่ประชุมยังมีมติให้ ITRC เข้าเจรจา กับประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อยางพารารายใหญ่ของโลก เพื่อบริหารราคายางพาราให้มีเสถียรภาพและเป็นธรรมกับทั้งผู้ซื้อผู้ขายในระยะยาว รวมทั้งให้เดินหน้าการตั้งตลาดกลางยางอาเซียน (Regional Rubber Market : RRM ) ที่กำหนดกรอบเวลาให้สำเร็จภายในเดือนพ.ค.2559 เพื่อให้เป็นตลาดที่กำหนดราคายางพาราแท้จริง ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงตลาดซื้อขายล่วงหน้า เช่น TOCOM SHFE


ส่วนแนวโน้มราคายางพาราเดือนก.พ.58 ที่สูงขึ้น ที่ประชุม ITRC มองว่าเป็นผลจากยางพาราเข้าสู่ช่วงปิดกรีดทำให้ผลผลิตออกตลาดน้อยลง และรัฐบาลไทยมีนโยบายเข้าซื้อยางพาราในราคาสูง ทำให้ผู้ใช้ยางเข้าซื้อยางพาราในราคาสูงขึ้นตามไปด้วย รวมถึงการควบคุมการส่งออกยางพาราภายใต้ความร่วมมือของ ITRC ในเดือนม.ค.2558 เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่ง ITRC จะดำเนินการควบคุมการส่งออกอย่างต่อเนื่อง


สำหรับข้อสรุปจากที่ประชุม ITRC อื่นๆ ได้แก่ 1.ทั้ง 3 ประเทศจะต้องกลับไปศึกษาการตั้งกองทุนยางพาราของประเทศ เพื่อป้องกันราคายางพาราตกต่ำและสนับสนุนอุตสาหกรรมยาง 2.IRCo ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนในการหารือกับเลขาธิการอาเซียนเพื่อจัดตั้งสภายางพาราอาเซียน ทั้งนี้การประชุม ITRC ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในเดือน ก.ย.2558 ที่ประเทศมาเลเซีย


นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กล่าวถึงโครงการโค่นยางเก่าเพื่อปลูกทดแทน ขณะนี้มี ชาวสวนยางพาราขอยื่นความจำนงแล้วจำนวน 4.2 หมื่นคน คิดเป็นพื้นที่ 3.1 แสนไร่ จากเป้าหมาย การโค่นยางพาราเก่าจำนวน 4 แสนไร่ ซึ่งยังเหลือเวลา ยื่นขอความจำนงอีก 7 เดือน จึงมั่นใจว่าปีนี้จะมี เกษตรกรเข้าร่วมโค่นยางพาราเก่าไม่ต่ำกว่า 5 แสนไร่


ส่วนการยื่นขอความจำนงเพื่อปลูกพืชอื่น พบว่า มีชาวสวนยางพารา ขอรับการสนับสนุนปลูกพืชปาล์ม น้ำมันแล้ว 1.6 หมื่นราย คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 1.16 แสนไร่


กรณีการโค่นยางพาราเก่า ต้องการปลูกยางพารา ใหม่ต่อจะได้รับเงินสนับสนุนไร่ละ 1.6 หมื่นบาท หากเปลี่ยนไปปลูกปาล์มน้ำมัน จะได้รับเงินทุนไร่ละ 2.6 หมื่นบาท สำหรับงบประมาณที่ใช้สนับสนุนโค่น ยางพาราเก่า มาจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษการส่งออกยาง หรือเซส ที่เก็บได้ปีละ 6,000 ล้านบาท แต่นำไปใช้สนับสนุนการโค่นยางพาราถึงปีละกว่า 7,000 ล้านบาท โดยปี 2558 คาดว่าต้องใช้งบถึง 9,000 ล้านบาท ต้องของบประมาณจากภาครัฐเพิ่มเพื่อ ช่วยเหลือในการจ่ายชดเชยให้กับเกษตรกร






Souce: กรุงเทพธุรกิจ (Th)