ผู้เขียน หัวข้อ: เงินสวนยางไร่ละพันใช้เกลี้ยง เกษตรกรติดใจอ้อนรัฐแจกเพิ่มเป็น 3 พันบาท  (อ่าน 597 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
เงินสวนยางไร่ละพันใช้เกลี้ยง เกษตรกรติดใจอ้อนรัฐแจกเพิ่มเป็น 3 พันบาท



?สศก.? เผยผลสำรวจโครงการแจกเงินชาวสวนยางไร่ละ 1,000 บาท พบเงินถึงมือชาวสวนยางเฉลี่ยรายละ 11,860 บาท แต่ส่วนใหญ่นำเงินไปใช้จ่ายแล้ว 11,480 บาท โดยนำไปซื้อปุ๋ย อุปกรณ์ และปัจจัยการผลิต บ่นอุบอยากให้รัฐแจกไร่ละ 2,000- 3,000 บาท พร้อมเปิดผลการศึกษาสินค้าเกษตรไทยในเออีซี สินค้าปศุสัตว์พร้อมเป็นเจ้าตลาด ห่วงกาแฟ ปาล์ม และมะพร้าว กระทบหนัก หลังคู่แข่งมีต้นทุนต่ำกว่า


นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่าสศก.ได้ลงพื้นที่สำรวจความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อโครงการชดเชย รายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โดยสำรวจ ระหว่างวันที่ 6-12 ก.พ.2558 ในพื้นที่ 42 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 385 ตัวอย่าง พบว่า เกษตรกรทั่วประเทศเกือบทุกรายรับรู้ว่ามีโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ หรือ 15,000 บาทต่อราย มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้ประมาณ 90% ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ 10% เนื่องจากคุณสมบัติไม่ครบ เช่น พื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ และพื้นที่ยังไม่เปิดกรีด เป็นต้น


?ชาวสวนเสนอรัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาราคายางตกต่ำอย่างเป็นรูปธรรม โดยเร่งมาตรการลดราคาต้นทุนการผลิต ต้นทุนวัสดุอุปกรณ์การทำสวนยาง และส่วนใหญ่มองว่าการช่วยเหลือของรัฐบาลไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่/ราย ควรปรับเพิ่มเป็นเงินชดเชยและช่วยเหลือควรเพิ่มเป็น 2,000-3,000 บาท/ไร่ และเพิ่มพื้นที่การชดเชยต่อราย เป็น 20-30 ไร่/ราย?


สำหรับการได้รับเงินในโครงการ มีชาวสวนยางได้รับเงินชดเชยแล้ว 78% ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ 22% โดยเกษตรกรชาวสวนยางได้รับเงินชดเชยเฉลี่ย 11,860 บาท/ราย ได้รับเงินต่ำสุด 1,750 บาท/ราย หรือ 0.37% ของเกษตรกรทั้งหมด สูงสุด 15,000 บาท/ราย หรือ 51% ของเกษตรกรทั้งหมด ด้านการใช้จ่ายหลังได้รับเงินแล้ว แบ่งเป็น 77% ของผู้ที่ได้รับเงิน นำเงินไปใช้จ่ายแล้วเฉลี่ย 11,480 บาท/ราย คิดเป็น 97% ของเงินที่ได้รับ 15,000 บาท/ราย ที่เหลืออีก 23% ยังไม่ได้นำเงินไปใช้ เนื่องจากเก็บออมไว้เป็นต้นทุนในการซื้อวัสดุอุปกรณ์การทำสวนในรอบต่อไป


นอกจากนี้ ในด้านการใช้จ่ายเงินที่ได้รับ พบว่า ชาวสวนยางนำเงินไปซื้อปุ๋ยและอุปกรณ์ และปัจจัยการผลิต 64% จ่ายค่าหนี้สิน 10% ใช้หนี้เงินกู้ 9% ใช้ อุปโภคบริโภค 34% ใช้หนี้ ธ.ก.ส. 10% ใช้ทำการเกษตรประเภทอื่น 4% และ อีกประมาณ 5% ใช้ดำเนินการอื่นๆ เช่น ขุดสระ ทำบุญ ซ่อมแซมบ้าน เป็นต้น


สำหรับความพึงพอใจ ชาวสวนมีความพึงพอใจมาก 23% พึงพอใจปานกลาง 54% และพึงพอใจน้อย 23% เนื่องจากมองว่าเงินชดเชยที่รัฐบาลให้น้อยเกินไป และจ่ายล่าช้า โดยชาวสวนมองว่า โครงการนี้เป็นการช่วยเหลือโดยตรง คิดว่ารัฐบาลน่าจะดำเนินการต่อไป เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรงแม้เป็นเงินไม่มากนัก


นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า สศก.ยังได้ติดตามสินค้าเกษตรตามศักยภาพการแข่งขันของไทยหลังเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยมีศักยภาพสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน ได้แก่ เนื้อสุกร โคเนื้อและผลิตภัณฑ์โคนมและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย มังคุด ลำไย และสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด โดยสินค้าที่มีความโดดเด่นมากในกลุ่มนี้ คือ สินค้าปศุสัตว์ เนื่องจากประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงและพันธุกรรมที่ก้าว หน้าที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะโคนมและผลิตภัณฑ์เป็นอีกสินค้าที่ประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันสูง กว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแทบทุกด้าน ซึ่งสามารถพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมนม (ฮับ) ในภูมิภาคอาเซียนได้


2. กลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยมีศักยภาพใกล้เคียงกับคู่แข่งขัน ได้แก่ ข้าว ใกล้เคียงกับเวียดนามและกัมพูชา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใกล้เคียงลาวและกัมพูชา กุ้งใกล้เคียงอินโดนีเซียและเวียดนาม ปลาทูน่าใกล้เคียงฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ไหม ใกล้เคียงเวียดนาม และยางพาราใกล้เคียงอินโดนีเซียและมาเลเซีย


3. กลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยมีศักยภาพต่ำเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน ได้แก่ เมล็ดกาแฟ ยังต่ำกว่าเวียดนามและอินโดนีเซีย ปาล์มน้ำมันยังต่ำกว่าอินโดนีเซียและมาเลเซีย และมะพร้าวยังต่ำกว่าฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งสินค้าเกษตรกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมากหลังเปิดเออีซี เพราะถึงแม้ว่าไทยได้กำหนดสินค้าเหล่านี้ไว้เป็นรายการสินค้าอ่อนไหว ซึ่งสามารถเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 5% แต่ประเทศคู่แข่งในอาเซียนมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศไทย ดังนั้น ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และรัฐบาลจะต้องมีการปรับตัวและเตรียมรับกับการแข่งขันเสรีอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2558.


ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558)