ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 847 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85641
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
[/size]วันพุธที่  18  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
[/size]
[/size]ปัจจัย[/size]
[/size]วิเคราะห์[/size]
[/size]1. สภาพภูมิอากาศ[/size]
[/size]- ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนและมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง[/size]
[/size]2. การใช้ยาง[/size]
[/size]- ตลาดรถยนต์ยุโรปยังคงฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกันในเดือนมกราคม ซึ่งมียอดจำหน่ายใกล้ 1 ล้านคัน ทั้งนี้เดือนมกราคมมีการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ในสหภาพยุโรปมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสเปนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 อิตาลีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ขณะที่ตัวเลขการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 6 ปี[/size]- สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซีย (Margma) เชื่อว่าโอกาสธุรกิจถุงมือยางยังไปได้ดีเนื่องจากปี 2558 อุปสงค์ถุงมือยางทั่วโลกจะยังคงเติบโตร้อยละ 8 - 10 ท่ามกลางการอ่อนตัวของเงินริงกิตเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ โดย Lim Kwee Shyan นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ราคาน้ำยางธรรมชาติลดลงจากกิโลกรัมละ 8.89 ริงกิตในปี 2554 มาอยู่ที่กิโลกรัมละ 4.50 ริงกิตในปี 2557 ส่วนมูลค่าการส่งออกถุงมือยางธรรมชาติและถุงมือยางสังเคราะห์ลดลงร้อยละ 5.9 และ 5.7 ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 0.3 ตามลำดับ สำหรับการเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนอุปสงค์ระหว่างถุงมือยางธรรมชาติและถุงมือยางสังเคราะห์จาก 49 : 41 ในปี 2556 เป็น 53 : 47 ในปี 2557[/size][/font]
[/size]3. เศรษฐกิจโลก[/size]
[/size]- กระทรวงพาณิชย์อินโดนีเซียเปิดเผยว่า เดือนมกราคมอินโดนีเซียมีตัวเลขเกินดุลการค้า 709.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 186.8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในเดือนธันวาคม โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 8.1 อยู่ที่ 1.33 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 15.6 อยู่ที่ 1.26 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียพยายามลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ดิ่งลงและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ซี่งวันนี้ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 7.5 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ[/size]- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมนีที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศ พุ่งขึ้นแตะ 53.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ จากระดับ 48.4 ในเดือนมกราคม ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางยุโรป แม้วิกฤตการณ์ในยูเครนยังเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่น ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี แต่ยังอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 55.0[/size]- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมกราคม ปรับตัวลงร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 0.5 ในเดือนธันวาคม เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่ลดลง ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมกราคมถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 50 ปี เป็นสัญญาณว่าประเทศพัฒนาแล้วกำลังเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ[/size]
[/size]- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่น รายงานว่า ยอดการใช้จ่ายต่อเดือนโดยเฉลี่ยภาคครัวเรือนญี่ปุ่นปี 2557 ลดลงมากที่สุดในรอบ 8 ปี โดยยอดการใช้จ่ายลดลง[/size][/size]ร้อยละ 3.2 จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 251,481 เยน (2,121 ดอลล่าร์สหรัฐ) เนื่องจากครัวเรือนญี่ปุ่นส่วนหนึ่งไม่ต้องการใช้จ่ายเท่าไรนัก หลังจากที่ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการขึ้นภาษีบริโภคเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และการอ่อนค่าของเงินเยน[/size][/font][/font]
[/size]- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ค รายงานว่า ดัชนีภาคธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลงสู่ระดับ 7.8 จากระดับ 10.0 ในเดือน มกราคม โดยได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อและการจ้างงานที่อ่อนแอ หลังแตะระดับ -1.23 ในเดือนธันวาคม ติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 ซึ่งดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 0 ชี้ให้เห็นถึงการขยายตัว[/size]
[/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน[/size][/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.59 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ[/size]- เงินเยนอยู่ที่ 119.29 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.87 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ[/size]
[/size]5. ราคาน้ำมัน[/size][/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 53.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซ หลังจากกรีซไม่ยอมรับร่างแถลงการณ์ในการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซน โดยกรีซไม่เห็นพ้องกับการขยายเวลาของมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินฉบับปัจจุบันออกไป[/size]- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 62.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล[/size]
[/size]6. การเก็งกำไร[/size][/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 217.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 220.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อกิโลกรัม[/size]- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม[/size]
[/size]7. ข่าว[/size][/size]- นายจอร์จ ออสบอร์น รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอังกฤษ กล่าวว่า ความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงแก้ไขปัญหาหนี้กรีซจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน นอกจากนี้เขายังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหาทางบรรลุข้อตกลง ด้านนายอเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ กล่าวว่า รัฐบาลของเขาจะไม่รีบร้อนในการหาทางบรรลุข้อตกลงเรื่องหนี้กับยูโรโซน และกรีซจะไม่ยอมประนีประนอมในเรื่องดังกล่าว[/size]- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ (NAHB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลงสู่ระดับ 55.0 จากระดับ 57.0 ในเดือนมกราคม ปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 อย่างไรก็ตาม ยังบ่งชี้ถึงมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ถึงแม้ตัวเลขดังกล่าวจะต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะปรับตัวขึ้นแตะ 58.0 ทั้งนี้ค่าดัชนีที่สูงกว่า 50 ชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่เป็นบวก ซึ่งดัชนีดังกล่าวอยู่เหนือกว่า 50 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557[/size]
[/size]8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ[/size][/size]- ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หยุดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน แต่ยังคาดว่าราคายางน่าจะไม่ปรับเพิ่มขึ้น โดยต้องติดตามสถานการณ์การประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการอนุมัติวงเงินโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายางในวันนี้[/size]
[/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเงินเยนอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีแรงกดดันจากการที่จีนชะลอซื้อยางในช่วงหยุดยาวเทศกาลตรุษจีน และยังคงต้องติดตามการอนุมัติวงเงินรอบใหม่เพื่อดำเนินโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง (Buffer Funds) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้
[/size]
[/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา