ผู้เขียน หัวข้อ: รอเก้อเลื่อนเสนอครม.เบิกซื้อยาง6พันล้าน  (อ่าน 892 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84548
    • ดูรายละเอียด
รอเก้อเลื่อนเสนอครม.เบิกซื้อยาง6พันล้าน


updated: 04 ก.พ. 2558 เวลา 17:47:26 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



นาย อำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 ก.พ. 2558 ว่า มาตรการที่จะให้โครงการมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง (บัฟเฟอร์ฟันด์) เข้าซื้อน้ำยางสดและยางก้อนถ้วยด้วยราคานำตลาด ผ่านศูนย์รวบรวมน้ำยางดิบของสหกรณ์ยางทั่วประเทศนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้นำเสนอต่อ ครม. รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณของ บัฟเฟอร์ฟันด์ครั้งที่ 2 อีก 6,000 ล้านบาท จากวงเงินทั้งหมด 20,000 ล้านบาท ก็จะเลื่อนไปนำเสนอต่อ ครม.ในสัปดาห์หน้าเช่นกัน


นายอำนวย กล่าวว่า งบประมาณของบัฟเฟอร์ฟันด์ครั้งที่ 1 วงเงิน 6,000 ล้านบาท ขณะนี้เหลืออยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งอาจจะไม่พอสำหรับรับซื้อยางจนถึงช่วงปิดกรีดราววันที่ 15 ก.พ.นี้ แต่คาดว่าการอนุมัติงบประมาณครั้งที่ 2 จะไม่ติดขัด และสามารถใช้สำหรับรับซื้อยางได้อีกกว่า 3 เดือนเมื่อเปิดกรีดยางฤดูกาลใหม่ช่วงเดือน พ.ค. 2558


"การขายยางใน สต๊อกออกจะชะลอไปก่อน เพราะต้องรอถึงช่วงปิดกรีดเพื่อตรวจสต๊อกยางทั้งเรื่องคุณภาพและปริมาณ จะตรวจทั้งยางเก่า 2 แสนตันและยางใหม่ที่เพิ่งซื้อเข้ามา" นายอำนวยกล่าว


นาย พนัส แพชนะ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯมีแนวคิดจะใช้วงเงินบัฟเฟอร์ฟันด์ช่วยรับซื้อน้ำยางสดจาก เกษตรกรในภาคใต้ที่เปิดกรีดอยู่ ราคาเบื้องต้นประมาณ 50 บาท/กก. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในระยะสั้น โดยหน่วยงานองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.), สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.) และกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะประชุม 4 ก.พ.58 เพื่อร่วมมือกันตั้งจุดรับซื้อยางสดให้ครอบคลุมทุกจังหวัดและบริเวณที่มีชาว สวนรายย่อยได้รับความเดือดร้อนอยู่ จากนั้นรัฐจะแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันโดยสหกรณ์ที่มีศักยภาพหรือจัดจ้างโรง งานเอกชน ส่วนระยะยาวหลังเปิดกรีดแล้ว จะสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยรวมกลุ่มกันจัดซื้ออุปกรณ์แปรรูปยางสดเป็นยาง แผ่นดิบหรือยางแผ่นรมควันนำมาจำหน่ายในตลาดกลางของรัฐ โดยให้ขออนุมัติสินเชื่อที่ยังเหลือวงเงิน 5,000 ล้านบาท


นายพนัส กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการที่ให้ผู้ประกอบการเอกชนช่วยดันราคายางจนถึง 80 บาท/กก. เป็นเรื่องที่เอกชนให้สัญญากับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยตรง และจะต้องนำเสนอแผนภายใน 21 ก.พ.นี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ได้เป็นผู้ประสานงาน


แหล่งข่าวจากวงการผู้ประกอบการยางพารากล่าวว่า กรณีที่เอกชนจะให้ความร่วมมือรัฐดันราคายางถึง 80 บาท/กก. เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการรายเดียวได้รับปากไว้ มิใช่ในนามสมาคมยางพาราไทยและไม่เกี่ยวข้องกับเอกชนรายอื่น เพราะมองว่าการดันราคายางถึงระดับดังกล่าวจะเป็นการแทรกแซงตลาด ไม่สามารถทำได้ หากปฏิบัติเช่นนั้นจะเป็นเหมือนรัฐบาลชุดเก่าที่เคยแทรกแซงราคายางและต้อง เก็บตุนสต๊อกยางไว้จำนวนมาก