ผู้เขียน หัวข้อ: องค์กรสวนยางแตก ค้านอุทัยตั้งสมัชชาฯ อดีต ปธ.สหกรณ์อัด  (อ่าน 804 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84347
    • ดูรายละเอียด
องค์กรสวนยางแตก ค้านอุทัยตั้งสมัชชาฯ อดีต ปธ.สหกรณ์อัด



เมื่อวันที่ 22 มกราคม นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสมัชชาสถาบันเกษตรกรฯเพื่อแก้ไขปัญหายางทั้งระบบขององค์กรชาวสวนยาง ว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางพาราธรรมชาติ ( กนย.) ที่ผ่านมา ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีแนวทางที่จะให้องค์กรชาวสวนยางร่วมกันแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำทั้งระบบและวางกรอบการสร้างเสถียรภาพด้านราคายางทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม


มีตัวแทนองค์กรชาวสวนยาง ที่เกี่ยวข้อง 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย,ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย, ชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางแห่งประเทศไทย, เครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย, สมาคมเครือข่ายเกษตรกร สถาบันเกษตรกรยางพาราไทย, สภาเกษตรกรแห่งชาติ และแนวรร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง จึงมีมติร่วมกันจัดตั้ง ?สมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย?ขึ้น


ทั้งนี้ ในที่ประชุม ได้แต่งตั้งให้ นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯเป็นประธานกิตติมศักดิ์ และแต่งตั้ง นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ เป็นประธาน และมีนายสุนทร รักษ์รงค์ เป็นเลขาธิการสมัชชาฯซึ่งในเบื้องต้นได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ใช้สถานที่ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นวอร์รูมปฏิบัติงาน และทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)ยังสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากเงินCESS เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆในกิจกรรรมของสมัชาฯ จากนั้น เมื่อ พ.ร.บ.การยาง ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จะเป็นองค์กรที่รับรองโดย พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย


โดยสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จะทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนและผลักดันแนวการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในเบื้องต้นจะมีการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากตัวแทนของทุกองค์กรเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดทำแผนงานที่ชัดเจนร่วมกันก่อนจะเสนอให้ภาครัฐพิจารณาต่อไป


?ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา องค์กรเกษตรกรชาวสวนยางต่างๆ ขับเคลื่อนและเรียกร้องแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบขาดทิศทางและส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละพื้นที่ แต่จากปัญหาราคายางตกต่ำในปัจจุบันซึ่งสร้างความเดือดร้อนของกับเกษตรกรชาวสวนยางทั้งระบบ จึงเป็นที่มาของการร่วมมือเพื่อจัดตั้งสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแหงประเทศไทยในครั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนและผลักดันการแก้ไขปัญหาเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรชาวสวนยางมากขึ้น เพราะจะมีการระดมความคิดเห็นและปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากทุกพื้นที่ นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาการเรียกร้องต่างๆของเกษตรกรที่อาจสร้างความวุ่นวายต่างๆด้วย? นายอุทัย กล่าว


นายอุทัย กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ เพื่อวางกรอบการสร้างเสถียรภาพด้านราคายางทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม ในโอกาส?ครบรอบ 50 ปียางพาราไทย?ในวันที่ 10 เมษายน 2558ซึ่งจะมีการจัดงานวันยางพาราไทยที่ จ.ตรังนั้น สมัชชาฯเตรียมที่จะจัดสัมมนาทางวิชาการโดยเชิญตัวแทนหรือองค์กรเกษตรกรชาวสวนยางจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนทั้งหมด 8 ประเทศ เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และรับฟังปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรชาวสวนยางในแต่ละประเทศ จากนั้นจะตัวแทนเกษตรกรจากทุกประเทศจะร่วมกันหาข้อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำโดยเฉพาะปัญหาราคายางที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรของแต่ละประเทศนำกลับไปเสนอต่อรัฐบาลของประเทศตนเองต่อไป


ด้าน นายเพิก เลิศวังพง อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจัดตั้งสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมี นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ เป็นประธานสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทยว่า เรื่องดัง ในส่วนตนเห็นว่า ไม่เหมาะสมและเป็นการแกปัญหาไม่ถูกทาง เพราะการตั้งองค์กร ขึ้นมาเพิ่ม ก็ไม่เชื่อว่าจะมีประโยชน์ใด ๆ ทั้งนี้กลุ่มตนยังยืนยันที่จะคัดค้านพรบ.การยางต่อไป เนื่องจาก เห็นว่าหาก พรบ.การยางผ่านสภาฯและออกเป็นพรบ.จนมีผลบังคับให้ จะทำให้เกิดการเอื้อผลประโชยน์ ให้กับเอกชนมากกว่า เท่าที่ตนทราบขณะนี้มีเงินกองทุนยางอยู่ประมาณกว่า3 หมื่นล้านบาทและมีกลุ่มเอกชนบางกลุ่มพยายามจะให้ พรบ.การยางผ่าน เพื่อให้กลุ่มทุนเข้ามาใช้เงินในกองทุนได้เท่านั้น พรบ.การยางจึงไม่น่าจะเกิดประโยชน์ต่อชาวสวนยางโดยรวม ซึ่งจากนี้ไป สังคมต้องจับตามองว่า การตั้งสมัชชาและการที่มีความพยายาม นำร่างพรบ.การยาง ให้ผ่านสภา เป็นการทำเพื่อใคร


ทั้งนี้ในส่วนที่มีการเรียกเอกชนกลุ่มผู้ประกอบการยางมาหรือรือเพื่อขอให้รับซื้อยางจากเกษตรกรโดยจะให้รคาเป็น 80บาทนั้น ส่วนตนเชื่อว่า ไม่มีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน เพราะจนถึงทุกวันนี้ราคายางไม่มีแนวโน้มว่า จะส่งออกได้ตามที่รัฐบางบอกกับสังคมและหากมี ก็น่าจะเป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ทั้งหมดเป็นการสร้างภาพและบีบให้เอกชนซื้อเท่านั้น


?ผมคิดว่าไม่มีความเป็นไปได้ที่ราคายางพารา จะ ขยับตัวสูงขึ้น80 บาท เพราะ ที่บอกว่าตกลงขายยาง 62.50บาท ก็ ไม่ทราบว่า มีจริงหรือไม่ เพราะตลอดเวลา เราพยายาม ที่จะขอให้ เปิดเผยสัญญา ก็ ยังไม่ยอมเปิดเผยก็ ไม่ทราบว่าว่า สาเหตุอะไร ตอนนี้เท่าที่ทราบ ขายยางไปให้จีนจริงเพียง377 ตัน ซึ่ง ถือว่าน้อยมาก จากที่ตกลงกันไว้ เดือนละ2 หมื่นตัน ถึงอยากให้เปิดเผยออกมา จากนี้ไปเราอาจจะต้องเคลื่อนไหวขอให้เปิดเผยข้อมูล เพราะเชื่อว่าสัญญาที่ขายยางน่าจะมีการหมกเม็ด เพราะหากขายได้จริงราคายางน่าจะขยับตัวสูงขึ้น?นายเพิก กล่าว


ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า


 
23/1/2015