ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนยางจี้ราคายางต้องได้กก.ละ80บาท  (อ่าน 871 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84347
    • ดูรายละเอียด
ชาวสวนยางจี้ราคายางต้องได้กก.ละ80บาท


ราคารับซื้อผลผลิตผ่านตลาดกลางที่กำหนดราคาซื้อยางแผ่นรมควันชั้น1ที่62.70บาท/กก.เกษตรกรต้องการราคาที่กก.ละ80บาท


ที่ตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา ถนนสุขยางค์ อ.เมือง จ.ยะลาว่า เกษตรกรต่างพากันนำยางแผ่นดิบ มาขายให้กับทางตลาดกลางยาพารา โดยวันนี้ราคายางรมควัน ชั้น 1 รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 62.70 บาท ส่วนยางแผ่นดิบ รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 58.10 บาท

นายชุมพล กิติสาธร ผู้ปลูกยางพารา ในพื้นที่ อ.ยะหา จ.ยะลา กล่าวว่า ราคายางในวันนี้ มองว่ายังต่ำอยู่ คือในขณะนี้ราคากิโลกรัมละ 60 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตอยู่ที่กิโลกรัมละ 62 บาท ซึ่งราคาที่เกษตรกรอยู่ได้จริง ควรจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 80 บาท

"ต้นทุนการทำสวนยางคือการจ้างแรงงาน เนื่องจากเจ้าของสวนยางจะแบ่งรายได้ครึ่งหนึ่งให้กับลูกจ้าง ที่มารับจ้างกรีดยาง ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนค่าแรงที่ค่อนข้างสูงสำหรับ ราคายางแผ่นรมควันชั้น 1 ที่ทางรัฐบาล ตั้งไว้ที่กิโลกรัมละ 62 บาท ถือว่าเป็นไปตามราคาที่วางไว้ แต่ความเป็นจริงแล้ว ยางแผ่นรมควัน ผู้ที่ขายมีน้อยมาก เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงขายเป็นยางแผ่นดิบ น้ำยาง เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งราคาก็ไม่ได้สูงนัก โดยยางแผ่นดิบราคาก็อยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ที่ผ่านมาภาครัฐก็มีการส่งเสริมให้ความรู้ การผลิตยางคุณภาพ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อที่จะสามารถผลิตยางที่มีคุณภาพ แต่ก็มีไม่กี่รายที่สามารถทำได้ ส่วนใหญ่ก็ยังคงผลิตยางแผ่นดิบออกมาขาย"นายชุมพล กล่าว

นางสาวจิตรานุช เรืองกิจ นักวิชาการเกษตรปฎิบัติการ ตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ตั้งแต่โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง เข้ามาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค.57 ก็ได้ดำเนินการเตรียมรับยางแผ่นดิบ จากเกษตรกร ทั้งเกษตรกรที่รวมกลุ่ม และเกษตรกรรายย่อย ที่สามารถผลิตยางแผ่นดิบได้ ส่วนราคาในขณะนี้ ยางแผ่นดิบคุณภาพดีอยู่ที่กิโลกรัมละ 58.10 บาท

ส่วนยางรมควัน ที่ทางองค์การสวนยางกำหนดกิโลกรัมละ 62.70 บาทซึ่งวันที่ 19 ม.ค. มีเกษตรกรนำยางมาขายรวมแล้ว 34 ตัน ส่วนปัญหาที่พบก็คือ ตลาดกลางยางพารายะลา เป็นตลาดที่กลุ่มเกษตรกรรายย่อย ที่คุณภาพยางยังไม่พัฒนาไปถึงยางคุณภาพดี เนื่องจากส่วนใหญ่ทำกันในหมู่บ้านเป็นรายย่อย ไม่ได้รวมกลุ่ม ทำให้ราคาที่เกษตรกรได้นั้นยังต่ำอยู่ ยังไม่สามารถได้ถึงราคาที่ทางรัฐบาลให้ โดยในพื้นที่ยะลา มีไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ที่ผลิตยางรมควันชั้น 1 คุณภาพดี ออกมาจำหน่ายที่ตลาด

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 20 มกราคม 2558)