ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558?  (อ่าน 1031 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น โดยทั่วไปอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกหลายวัน สำหรับภาคใต้มีเมฆบางส่วนและมีฝนบางแห่งร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ทำให้โดยภาพรวมเกษตรกรกรีดยางได้มากขึ้น ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นด้วย


2. การใช้ยาง


- หอการค้าผู้ผลิตรถยนต์แห่งประเทศฟิลิปปินส์ และสมาคมผู้ผลิตรถบรรทุก เปิดเผยว่าแนวโน้มยอดขายรถยนต์ในปีนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.0 ซึ่งคาดว่ายอดขายรถยนต์นั่งบุคคลและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์จะสูงขึ้นถึงร้อยละ 40.0 และร้อยละ 60.0 ของยอดขายรวมตามลำดับ


3.เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ลดลงสู่ระดับ 6.3 ในเดือนมกราคม จาก 24.3 ในเดือนธันวาคม ขณะที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 19.9 ทำให้นักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวโดยรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี ในเดือนธันวาคม จากการลดลงของราคาพลังงาน


- ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสเปนลดลงสู่ระดับร้อยละ -1.0 ในเดือนธันวาคม 2557 จากระดับ 0.4 ในเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้สเปนเผชิญกับภาวะเงินฝืดเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน


- สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปี 2557 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 3 ปี หลังจากที่เศรษฐกิจซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในยูโรโซนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ในปี 2556


- ธนาคารกลางจีน เปิดเผยว่า ยอดการปล่อยเงินกู้สกุลเงินหยวนล็อตใหม่ในปี 2557 อยู่ที่ 9.78 ล้านล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้น 8.90 แสนล้านหยวน ส่วนในเดือนธันวาคม 2557 ยอดปล่อยเงินกู้สกุลเงินหยวนล๊อตใหม่อยู่ที่ 6.973 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้น 2.149 แสนล้านหยวนจากเดือนธันวาคม 2556


- ธนาคารกลางอินเดีย ประกาศลดลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 แตะที่ร้อยละ 7.75 ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยในรายงานภาวะเศรษฐกิจว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงมีการขยายตัวในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ถึงปลายเดือนธันวาคม แต่ภูมิภาคที่ผลิตน้ำมันบางส่วนมีสัญญาณชะลอตัว อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง


- ธนาคารกลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาค้าส่งของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือนธันวาคม เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำสถิติเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 21 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ตามอัตราการปรับตัวขึ้นได้ถูกสกัดไว้จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน


- รองประธานกรรมาธิการยุโรป ฝ่ายการจ้างงาน การขยายตัวการลงทุน ได้เริ่มเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เมื่อวานนี้เพื่อประชาสัมพันธ์แผนการลงทุนของสหภาพยุโรป (EU) วงเงิน 3.15 แสนล้านยูโร (3.72 แสนล้านดอลลาร์)


- ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิส เมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.2 ฟรังก์สวิส พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ ร้อยละ -0.75 จาก ร้อยละ 0.25 โดยมีเป้าหมายควบคุมค่าเงินสวิสไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป เมื่อเทียบกับยูโร โดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.69 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 116.04 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 1.71 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน กุมภาพันธ์ ปิดตลาดที่ 46.25 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 2.23 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปค) คาดการณ์ว่า อุปทานน้ำมันที่มีอยู่มากเกินไปในปัจจุบันจะเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมันในปีนี้


- สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า บีพี บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของอังกฤษ เตรียมประกาศลดจำนวนพนักงานลงหลายร้อยตำแหน่ง เนื่องจากธุรกิจของบริษัทได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ลดลง และคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ระดับ 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ในช่วง 2-3 ปี


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 188.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 191.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.3 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 160.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์สหรัฐ
ต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 19,000 ราย สู่ระดับ 316,000 ราย ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 10 มกราคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 แต่แนวโน้มโดยรวมยังคงบ่งชี้สัญญาณตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง


- แบงก์ออฟอเมริกา รายงานว่า กำไรของธนาคารลดลงร้อยละ 11.0 ในไตรมาส 4 โดยถูกกระทบจากรายได้ที่ลดลงในธุรกิจเทรดดิ้ง และการปล่อยกู้


- ซิตี้กรุ๊ป ซึ่งเป็นสถานบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ รายงานว่า กำไรในไตรมาส 4 ของปี 2557 ลดลงถึงร้อยละ 86.0 จากปีก่อนหน้า


8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางยังมีทิศทางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศที่มีปัจจัยด้านลบเกี่ยวกับตัวเลขเศรษฐกิจของหลายประเทศออกมาน่ากังวล จะส่งผลกระทบต่อการใช้ยาง ประกอบกับช่วงนี้ผลผลิตยางเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เพราะสภาพอากาศเอื้อต่อการกรีดยาง


แนวโน้ม   ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดโตเกียวปรับตัวลดลงจากการแข็งค่าของเงินเยน และราคาน้ำมันปรับตัวลดลง รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยบวกมาจากการเข้าซื้อยางขององค์การสวนยาง ตามโครงการ Buffer Funds และรายงานที่ว่าจีนจะเพิ่มเม็ดเงินสำหรับปล่อยกู้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศที่กำลังชะลอตัว


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา