ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่? 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 879 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันจันทร์ที่  29  ธันวาคม  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า เดือนพฤศจิกายนยอดจำหน่ายรถยนต์มีจำนวน 73,068 คัน ลดลงร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง ประกอบกับการปรับตัวของตลาดรถยนต์หลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก


- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น (JAMA) เปิดเผยว่า การผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเดือนพฤศจิกายนลดลงร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 743,289 คัน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงอ่อนแอ หลังจากการขึ้นภาษีบริโภคเมื่อเดือนเมษายน


3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้น 1,206 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.79 อยู่ที่ 154,086 ตัน จากระดับ 152,880 ตัน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557


4. เศรษฐกิจโลก


- คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉิน มูลค่าประมาณ 3.5 ล้านล้านเยน หลังจากราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากภาษีการขายเมื่อวันที่ 1 เมษายน และการร่วงลงของเงินเยน


- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า เดือนพฤศจิกายนบริษัทอุตสาหกรรมของจีนมีผลกำไร 6.7612 แสนล้านหยวน ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี


- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังรัสเซียกล่าวว่า ในปี 2558 เศรษฐกิจรัสเซียอาจหดตัวลงร้อยละ 4.0 ขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณอาจสูงกว่าร้อยละ 3.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หากราคาน้ำมันอยู่ที่เฉลี่ย 60 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.93 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 120.54 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.19 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ปิดตลาดที่ 54.73 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.11 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันจากกระแสความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันล้นตลาด ขณะที่กลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) อาจตัดสินใจไม่ปรับลดเพดานการผลิต


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ปิดที่ 59.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.79 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


7. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 189.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 204.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น  1.1 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 162.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 4.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว


- สถาบันวิจัยการเงินของสถาบันสังคมศาสตร์จีน เปิดเผยว่า การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ช่วยหนุนการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นสัดส่วนร้อยละ 0.48 ลดลงร้อยละ 0.35 จากปี 2556 โดยนักวิจัยอาวุโสเผยว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอการขยายตัวในปี 2557 คือการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลง


- รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการสังคมจีนกล่าวในที่ประชุมว่า ตลาดแรงงานจีนได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่น ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง โดยคาดว่าจะมีตำแหน่งงานใหม่เพิ่มขึ้น 13 ล้านตำแหน่งในปีนี้


9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อยจากนโยบายภาครัฐ และผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการบางรายเร่งซื้อเพื่อปิดสัญญาส่งมอบก่อนสิ้นปี


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับภาคใต้ของไทยและทางตอนเหนือของมาเลเซียมีฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ปลูกยาง และนักลงทุนมีมุมมองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่นโยบายผลักดันราคายางของภาครัฐยังคงสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อเพราะอาจจะไม่ต้องการถือสัญญาใหม่ก่อนหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ และราคาน้ำมันยังคงผันผวนในทิศทางที่ปรับตัวลดลง






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา