ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนถอดใจกู้เงิน 5 พันล้าน จวกเงื่อนไขเข้มชงยืดเวลากู้ 3 ปี (29/12/2557)  (อ่าน 752 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84476
    • ดูรายละเอียด
ชาวสวนถอดใจกู้เงิน 5 พันล้าน จวกเงื่อนไขเข้มชงยืดเวลากู้ 3 ปี (29/12/2557)


ชาว สวนยางจวกเงินกู้ยาง 5 พันล้านเงื่อนไขเข้ม นำไปปฏิบัติจริงไม่ได้ คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด-สหกรณ์บางพื้นที่ตั้งเกณฑ์ใหม่สุดพิลึก ต้องให้ภรรยาค้ำประกันด้วย
แหล่ง ข่าวจากคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย (คสยท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกมาตรการแก้ปัญหาราคายางพาราทั้งระบบ วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท โดยกำหนดปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มสถาบันเกษตรกร 5,000 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนและสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตร/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ ยางทั้งระบบ 10,000 ล้านบาท และปรับปรุงโรงงานแปรรูปยางพารา 15,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสิน ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ และรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ล่า สุดในส่วนของเกษตรกรที่จะกู้ไปเพื่อแปรรูปยางพารา และเป็นเงินทุนหมุนเวียน กำลังประสบปัญหาไม่สามารถยื่นขอกู้ได้ เพราะเงื่อนไขการปล่อยกู้เข้มงวดมาก


"เงื่อนไข ดังกล่าวยกร่างโดยคณะอนุกรรมการยางพาราระดับจังหวัดจำนวน 11 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าส่วนภาครัฐ มีผู้แทนเกษตรกรเพียง 1-2 คน ขณะนี้หลายจังหวัดถอนตัวกันมากแล้ว เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไข บางแห่งถูกล็อบบี้จากกลุ่มพ่อค้า มีการล้มการทำประชาคมเพื่อไม่ให้สถาบันเกษตรกรดำเนินการได้ เพราะจะเป็นคู่แข่งทางการค้า" แหล่งข่าวระบุ



ด้าน นายไพรัช เจ้ยชุม ประธานเครือข่ายชาวสวนยางพาราจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า การกู้ยืมเงินเพื่อนำมาพัฒนา แปรรูปยางพารา และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนยังไม่คืบหน้า เพราะเงื่อนไขที่กำหนดโดยอนุกรรมการระดับจังหวัดมีรายละเอียดมาก จนทำให้สหกรณ์ไม่สามารถขอกู้ยืมได้ และบางแห่งคณะกรรมการสหกรณ์ต้องให้ภรรยาเข้าค้ำประกันด้วย เครือข่ายจึงเสนอให้มีการลดกฎระเบียบ ขั้นตอน รวมทั้งให้ยืดเวลาการชำระคืนภายใน 1 ปีออกไปเป็น 3 ปี ซึ่งตอนนี้มีสหกรณ์ยางพาราในพัทลุงแจ้งความประสงค์กู้เงิน 10 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 40 แห่ง


"สหกรณ์ ขนาดเล็กที่มีเงินทุนและหุ้นน้อย หากกู้เงิน 5 ล้านบาท ส่งคืนภายในระยะ 1 ปีก็ถือว่าหนัก หวั่นว่าจะส่งคืนไม่ทัน ส่วนปัญหาเอ็นพีแอลจะมีปัญหาหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่เรื่องหนี้สูญนั้นไม่มี เพราะคณะกรรมการสถาบันฯ 9 คน และผู้จัดการ 1 คนร่วมกันค้ำประกัน และบางแห่งยังให้ภรรยาเข้ามาค้ำประกันด้วย" นายไพรัชกล่าว


ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 26 ธันวาคม 2557)