ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 875 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพุธที่  17  ธันวาคม  พ.ศ. 2557


ปัจจัย

วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ

-  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็นลงและมีลมแรง อุณหภูมิลดลงได้ 4-6 องศา สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
บางแห่ง บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

2. การใช้ยาง

- ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาดบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าตลาดรถยนต์ในปีนี้คาดว่าจะทำได้สูงสุดไม่เกิน 8.9 แสนคัน แม้ว่าช่วงปลายปีจะได้แรงกระตุ้นจากรถใหม่ และงานมหกรรมยานยนต์ (มอเตอร์ เอ็กซ์โป) ก็ตาม เนื่องจากตลาดได้รับผลกระทบตลอดครึ่งปีแรก ส่วนปี 2558 เชื่อว่าเมื่อผ่านจุดต่ำสุดในปีนี้ ตลาดจะเริ่มปรับฐานหลังจาก
ถูกบิดเบือนมากในช่วงที่ผ่านมา และจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้ หลังจากผู้บริโภคโดยเฉพาะคนระดับกลางที่จะรับรู้ทิศทางรายได้ชัดเจน ไม่ว่าจะความมั่นคงในงานโบนัสปลายปี และการปรับอัตราเงินเดือน ทำให้เริ่มกลับมาใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับมีรถใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวนมากและเริ่มส่งมอบได้

- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางพาราว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังแก้ไขโครงสร้างราคายางพารา ซึ่งสมัยก่อนอาจจะราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม เพราะตลาดโลกไม่ใช่แบบนี้ คงเหมือนกันไม่ได้ ทั้งนี้จะมีการตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ รวมถึงการทำลู่วิ่งโดยนำยาง
ในประเทศมาผลิต นอกจากนี้ได้เรียกผู้ประกอบการรายใหญ่ 6 รายในประเทศมาคุยแล้วหลายครั้ง ซึ่งรัฐจะช่วยซื้อยางเพื่อให้ราคาสูงขึ้น  แต่ปัญหาอยู่ที่ไปขายใคร ราคาเท่าไหร่ จะขายได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นต้องมีการปรับตัว รัฐบาลต้องอดทน  ผู้ประกอบการต้องลดต้นทุน

3.เศรษฐกิจโลก

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า จีนมีบริษัทในภาคบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจมีโครงสร้างที่ดีขึ้นภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบ ?ดุลยภาพใหม่? ผลการสำรวจของสำนักงานระบุว่า จำนวนบริษัทในภาคบริการเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในอุตสาหกรรมทุติยภูมิในสิ้นปี 2556

- ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ระบุว่า บริษัทเทคโนโลยีไฮเทคของจีนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และผลกำไรของบริษัทดังกล่าวปรับตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2551-2556 ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความคืบหน้าในการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวลงแตะร้อยละ 1.0 ในเดือนพฤศจิกายน จากระดับร้อยละ 1.3 ในเดือนตุลาคม

- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมนีที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศพุ่งสูงขึ้นแตะ 34.9 ในเดือนธันวาคม จาก 11.5 ในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับสูงสุด นับตั้งแต่เดือนเมษายน และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 20

- มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนธันวาคม ของสหรัฐปรับตัวลดลงสู่ระดับ 53.7  จากระดับ 54.8 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือน นับเป็นส่งสัญญาณว่า ภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง

-  ธนาคารกลางรัสเซียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับร้อยละ 17.0 จากระดับร้อยละ 10.5 โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันนี้ ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัดส่วนที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการร่วงลงของสกุลเงินรูเบิล และเพื่อบรรเทาความตื่น ตระหนกของนักลงทุน

4. อัตราแลกเปลี่ยน

- เงินบาทอยู่ที่ 33.0 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 116.68 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.09 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดตลาดที่ 55.93 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวขึ้น 0.02 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยราคาตัวขึ้นหลังจากที่ลดลงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) อาจจะไม่ปรับลดเพดานการผลิตเพื่อสกัดการร่วงลงของราคาน้ำมัน

- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดที่ 59.86 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร

- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 190 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.20 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 203.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.50 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 162.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.20 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนพ.ย.ปรับตัวลง 1.6% แตะที่ระดับ 1.028 ล้านยูนิต ขณะที่ตัวเลขการอนุญาตก่อสร้างเดือนพ.ย. ลดลง 5.2% แตะที่ 1.035 ล้านยูนิต

-  สัญญาทองคำตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ปิดปรับตัวขึ้น เนื่องจากนักลงทุนเริ่มเข้าซื้อทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้น และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนธันวาคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.3 ปิดตลาดที่ 1,204 ดอลลาร์ต่อออนซ์

8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ

- ราคายางน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการมาตรการของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาราคายางและปริมาณยางที่ออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะฝนตกหนักในภาคใต้



แนวโน้ม   ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวและสิงคโปร์ ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากอุปทานยางมีน้อย และการเข้าซื้อยางอย่างต่อเนื่องในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง (Buffer Funds)   อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปค) ไม่มีการปรับลดเพดานการผลิต รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจและภาคการผลิตที่อ่อนแอของสหรัฐฯ

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา