ผู้เขียน หัวข้อ: "นิพิฏฐ์" นำทีม ส.ส. ปชป. ทวงถาม5 ข้อ แก้ปัญหาราคายาง (17/12/2557)  (อ่าน 783 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84452
    • ดูรายละเอียด
"นิพิฏฐ์" นำทีม ส.ส. ปชป. ทวงถาม5 ข้อ แก้ปัญหาราคายาง (17/12/2557)


วันนี้ (17 ธ.ค.) ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ และนายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมอดีตส.ส.ในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา ทั้งในภาคใต้ และ ภาคตะวันออก กว่า 10 คน อาทิ นายวิรัช ร่มเย็น อดีต ส.ส.ระนอง , นางสุพัชรี ธรรมเพชร นายนริศ ขำนุรักษ์ อดีตส.ส.พัทลุง นายประกอบ รัตนพันธุ์ นายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์ อดีต ส.ส.นครสรีธรรมราช นายสมบูรณ์ อุทัย เวียนกุล นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ อดีต ส.ส.ตรัง นายฮอชาลี ม่าเหร็ม อดีต ส.ส. สตูล และนายธีรภัทร พริ้งศุลกะ อดีต ส.ส.สุราษฎ์ธานี เข้าพบนายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


นายนิพิฏฐ์กล่าวว่าเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2557 ตนและอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ที่มีประชาชนในพื้นที่ปลูกยางพาราได้เคยทำ หนังสือแนะนำ 5 มาตรการ เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหายางพาราตกต่ำ ถึงนายกรัฐมนตรีผ่านนายปีติพงษ์ พึ่งบุญ รมว. เกษตรฯ ขณะนี้ผ่านมาแล้ว 2 เดือนกว่า ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวสวนยางก็ยังไม่บรรเทาลง เพราะราคายางไม่กระเตื้องขึ้น จึงขอเข้าพบรัฐมนตรีฯเพื่อขอทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาราคายางว่าได้ทำ ตามคำแนะนำ 5 มาตรการที่กล่าวไปดังกล่าวหรือไม่

นอกจากนี้ทราบว่าทางรัฐบาลเองก็มีมาตรการแก้ปัญหา จึงขอทราบว่าได้แก้ไขอะไรไปแล้วบ้าง เพื่อจะนำข้อมูลไปแจ้งต่อพี่น้องชาวสวนยาง เพราะมีช่องว่างทางการสื่อสารระหว่างรัฐบาลและชาวสวนยาง ทั้งนี้การดำเนินการของพวกตนไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองแต่เป็นการ ทำหน้าที่ของอดีต ส.ส. ที่ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ ที่ผ่านมาทราบว่าสต๊อคยางในโกดังของรัฐมีอยู่ราว 2.1 แสนตัน และมีข่าวว่ามีการขายยางดังกล่าวออกไปแล้ว จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่จะไปถามเพื่อขอความชัดเจนดังกล่าว เพราะหากขายจริง ก็จะเป็นเหตุทำให้ราคายางไม่กระเตื้องขึ้น เพราะขณะนี้ตัวเลขต้นทำอยู่ที่ไม่ต่ำกล่า กก.ละ 64 บาท หากราคาน้ำยางยังขายได้ต่ำกว่านี้ก็เกษตรกรที่ขาดทุนต้องแบกรับภาระและ หนี้สินต่างๆ พวกตนจึงต้องออกมาเป็นปากเสียงแทนชาวบ้าน


ทั้งนี้ 5 มาตรการที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้เคยเสนอไปได้แก่ 1. ทำให้ยางพาราในปริมาณที่มากพอหายไปจากตลาด ประกาศไม่ขายยางพาราในสต๊อคแต่จะนำมาใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้ยางจำนวนนี้หายไปจากตลาด 2.1 แสนตัน 2. ต้องประกาศอย่างชัดเจนในการนำยางพารา มาเป็นส่วนประกอบไม่น้อยกว่า 5 % ในการทำถนนสร้างใหม่และการซ่อมแซม โดยต้องใช้ยางพาราใหม่ที่ไม่ใช่ยางพาราในสต๊อคของรัฐบาล 3. กำหนดนโยบายนำยางพารามาทำพื้นสนามกีฬา ของส่วนราชการและอุปกรณ์สนามเด็กเล่น 4. นำยางพาราเป็นวัสดุกันสะเทือนในโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ และ 5.ให้เร่งแก้ปัญหาอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราให้คล่องตัวในการลงทุนในประเทศ ไทย

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 17 ธันวาคม 2557)