ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่? 11? ธันวาคม? พ.ศ. 2557  (อ่าน 1028 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84457
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันพฤหัสบดีที่  11  ธันวาคม  พ.ศ. 2557


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นลง อุณหภูมิลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีฝนเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่งผลให้หลายพื้นที่ฝนทิ้งช่วง กรีดยางได้เพิ่มขึ้น


2. การใช้ยาง


- ผู้อำนวยการองค์การสวนยางเปิดเผยว่า นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ปรับแผนโครงสร้างการพัฒนาการตลาดยางพาราของประเทศให้เป็นตลาดสำคัญในธุรกิจการค้ายางพาราระหว่างประเทศโดยเร่งด่วน ในเบื้องต้นมีแผนส่งออกยางไปจีน ซึ่งลงนามรับซื้อจากไทย 4 แสนตัน โดยส่งมอบเดือนละ 2 หมื่นตัน ตามที่ตกลงราคาไว้ที่กิโลกรัมละ 62 บาท ซึ่งตลาดดังกล่าวจะดำเนินให้เสร็จโดยเร็ว โดยใช้งบประมาณปี 2558 และเปิดตลาดซื้อยางจริงของเกษตรกรในทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันพ่อค้ากดราคา


3. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า


ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤศจิกายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบ 5 ปี และชะลอตัวลงจากเดือนตุลาคมที่มีการขยายตัวร้อยละ 1.6 ส่วนในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี CPI ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพฤศจิกายนลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 18 เดือน และปรับตัวลงติดต่อกันยาวนานถึง 33 เดือน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและตลาดที่อยู่อาศัยภายในประเทศชะลอตัวลง ส่งผลให้ความต้องการสินค้าภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงด้วย
- สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) รายงานว่า ความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดเล็กปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เนื่องจากการคาดการณ์สภาวะธุรกิจใน 6 ดือนข้างหน้าทะยานขึ้น โดยดัชนีมุมมองเชิงบวกธุรกิจขนาดเล็กปรับตัวขึ้น 2 จุด อยู่ที่ 98.1 จุดในเดือนพฤศจิกายน สูงสุดในรอบ 7 ปี


- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ชินโซะ อาเบะ เดินหน้านโยบายแก้ไขปัญหาเงินฝืดที่ยืดเยื้อมาเกือบสองทศวรรษ เพื่อกอบกู้ภาวะการคลังของญี่ปุ่น


- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมณีเปิดเผยว่า การส่งออกเดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 0.5 ขณะที่การนำเข้าหดตัวลงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า


- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนตุลาคมยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานภาคเอกชนปรับตัวลดลงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แตะที่ 7.78 แสนล้านเยน


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.83 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.18 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.22 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 2.51 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดตลาดที่ 60.94 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในรอบสัปดาห์ที่แล้ว และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันตลาดโลก ปัจจัยดังกล่าวได้ฉุดสัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552


- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานสต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 5 ธันวาคม 2557 เพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 380.8 ล้านบาร์เรล


- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้รายงานประจำเดือนเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดน้ำมันโลก โดยคาดว่าความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกปี 2558 จะเพิ่มขึ้น 1.12 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากคาดการณ์เดิมราว 70,000 บาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 182.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 193.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 151.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม จากราคาปิดวันที่ 9 ธันวาคม 2557


7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครโดยสถานประกอบการในสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.83 ล้านตำแหน่งในเดือนตุลาคม จาก 4.69 ล้านตำแหน่งในเดือนกันยายน สะท้อนให้เห็นว่าบรรดานายจ้างยังคงต้องการแรงงานเพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามราคาต่างประเทศ โดยโรงงานยังคงประกาศราคาเปิดหน้าโรงงานตามสถานการณ์ต่างประเทศ เพราะซื้อตามนโยบายภาครัฐไม่ได้ซึ่งจะขาดทุน ขณะที่ผู้ค้ารายย่อยกล่าวว่า ต้องซื้อตามราคาโรงงานเปิด และยางที่ขายหน้าร้านก็เป็นยางคุณภาพต่ำ จึงมีมุมมองว่านโยบายยังไม่ถึงมือเกษตรกรรายย่อยที่ส่วนมากจะทำยางแผ่นคุณภาพต่ำ ขายตลาดกลางไม่ได้ เช่นเดียวกับราคาน้ำยางสดโดยทั่วไปยังรับซื้อตามราคาโรงงาน


แนวโน้ม สถานการณ์ราคายางตลาดล่วงหน้าโตเกียวและสิงค์โปร์มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากปัจจัยภายนอกไม่เอื้อต่อตลาดและราคายาง โดยเฉพาะตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ จากการแข็งค่าของเงินเยนและราคาน้ำมัน ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 5 ปี ประกอบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากจีน ญี่ปุ่นและยุโรป ยังคงรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม องค์การสวนยางยังคงรับซื้อยางตามโครงงานสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง เพื่อชี้นำให้ราคายางสูงขึ้นตามเป้าหมายแรกที่กิโลกรัมละ 60 บาท




ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา