ผู้เขียน หัวข้อ: ดึงจีนเจรจาลงทุนอุตฯ ยาง-?อุ๋ย?สั่งบัพเฟอร์ฟันด์ลุยซื้อ 5 พ.ย.  (อ่าน 994 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84347
    • ดูรายละเอียด
ดึงจีนเจรจาลงทุนอุตฯ ยาง-?อุ๋ย?สั่งบัพเฟอร์ฟันด์ลุยซื้อ 5 พ.ย.


อ.ส.ย.กังวลนักเก็งกำไรซื้อตุน-ดีเดย์ 15 พ.ย.จ่ายเงิน1พัน/ไร่   

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กองทุนมูลภัณฑ์กันชน (บัฟเฟอร์ฟันด์ : Buffer Fund) สามารถเข้ารับซื้อยางได้ทันที เพราะขณะนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อนุมัติเงินกู้ 6,000 ล้านบาทแล้ว ซึ่งการเข้าซื้อยางพาราของ(บัฟเฟอร์ฟันด์) ต้องเกิดขึ้นภายในเงื่อนไขต้องมีคู่สัญญา ที่จะรับซื้อยางพาราต่อจากกองทุนมูลภัณฑ์กันชน เพื่อให้สต๊อกยางพารามีการเคลื่อนไหวมีปัญหาเหมือนกองทุนรักษาเสถียรภาพยางพาราที่รับซื้อยางมาสต๊อก 2.08 แสนตัน

?สัญญาซื้อขายยางพาราต้องส่งอัยการตรวจสอบเพื่อเกิดความรอบคอบ ที่ผ่านมามีผู้ซื้อยางพาราแสดงความสนใจอย่างต่อเนื่อง การใช้บัพเฟอร์ฟันด์ดูดซับยางออกจากระบบไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าซื้อมาไม่มีที่ขายออกจะยุ่ง  แต่ที่ผ่านมารัฐบาลได้ตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลแล้ว คงสามารถขับเคลื่อนให้ยางพารามีการขยับขึ้นของราคาได้?นายปีติพงศ์กล่าว 

นายปีติพงศ์ กล่าวว่า ในวันที่ 4 พ.ย.2557 กระทรวงเกษตรฯ จะเสนอเรื่องหลักเกณฑ์แนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือในโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ในอัตราไร่ละ 1,000  บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ เนื่องจากกระบวนการขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบพื้นที่สวนยางเปิดกรีดที่อยู่ในข่ายได้รับการช่วยเหลือซี่งมีอยู่ประมาณ 8.2 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกยางที่ดินของรัฐจำนวนมาก จึงต้องมีกระบวนการกลั่นกรองและหลักฐานการอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ที่ชัดเจน จึงส่งผลทำให้กระบวนการทำงานล่าช้ากว่าการจ่ายเงินช่วยเหลือข้าวอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม หลังการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักเกณฑ์แนวทางแล้ว จะสามารถจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ได้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.นี้ ตามผลการตรวจรับรองของคณะกรรมการบริหารโครงการ ฯ ระดับอำเภอ ที่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 10 พ.ย.

สำหรับความก้าวหน้าในมาตรการต่างๆ ที่กระทรวงเกษตรฯ กำลังดำเนินการในขณะนี้ แบ่งเป็น 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ ซึ่งได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ หารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมถึงความเป็นไปได้ในการใช้ยางเพื่อทำถนน ที่เบื้องต้นค่อนข้างชัดเจนในการกำหนดพื้นที่นำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งทั้งสองกระทรวงจะกำหนดพื้นที่การทำถนนให้มีความชัดเจนในรายละเอียดในเร็วๆ นี้ ขณะเดียวกัน ยังได้สั่งการให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวก.) เร่งผลิตผลงานวิจัยที่มีผลชัดเจนว่าจะสามารถนำยางไปใช้ในพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้มีกลุ่มสินค้าใดบ้าง 2. การเชิญนักธุรกิจชาวจีนมาศึกษาดูงานการผลิตยางในประเทศไทยในช่วงระหว่างวันที่ 23 ? 28 พ.ย.นี้ เพื่อดูความพร้อมและศักยภาพด้านการลงทุนในประเทศไทย มากกว่าการซื้อวัตถุดิบยางเพียง อย่างเดียว 3. การประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตยาง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในระหว่างวันที่ 20 ? 21 พฤศจิกายนนี้ ที่ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เพื่อร่วมหารือถึงมาตรการในการกระตุ้นให้ราคายางพารามีราคาเพิ่มสูงขึ้น 

กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจากมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐกำลังเร่งรัดดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จะกระตุ้นให้ราคายางในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งพิจารณาได้จากราคายางพาราในปัจจุบันของประเทศไทยที่ตลาดกลางยางพาราสงขลายางแผ่นดิบคุณภาพดี อยู่ที่ 52.25 บาท/กก. ยางแผ่นรมควัน ตลาดกลางยางพารางสงขลา อยู่ที่ 55.70 บาท/กก.


นายชนะชัย เปล่งศิริวัธน์ ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) กล่าวว่า  ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี สั่งให้ อ.ส.ย. เข้าประมูลซื้อยางภายในวันที่ 5 พ.ย.2557 เพราะขณะนี้ อ.ส.ย. มีเอกชนทั้งในประเทศ อาทิ  ผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของไทย ในนาม 5 เสือ และ ต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ประสานขอทำสัญญานซื้อยางพาราจากไทย เบื้องต้นมีออเดอร์ ยาวมากกว่า 12 เดือนแล้ว และภายในเดือนพ.ย.นี้จะสามารถส่งมอบยางพาราล๊อตแรก 20,000 ตัน  ส่วนราคาตกลงกันเดือนต่อเดือน

สำหรับการรับซื้อยางพารา อ.ส.ย.อยู่ระหว่างการประเมินปริมาณว่ามียางพาราในระบบเท่าไหร่ เพื่อประเมินทิศทางตลาด แต่จากบทเรียนในครั้งก่อน สมัยตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ที่ซื้อยางเก็บแล้วไม่ได้มีการขายออก ขณะที่ปริมาณยางพาราก็ออกมาต่อเนื่อง ราคาตลาดโลกก็ปรับตัวลดลง ส่งผลให้รัฐบาลขาดทุน ครั้งนี้  การทำงานของกองทุนมูลภัณท์กันชน  ได้หนดเงื่อนไขของการขายไว้ว่า หากซื้อครบ 20,000 ตัน ให้มีการขายออกอัตโนมัติ ในราคาตลาด

?ยอมรับว่า กังวลเรื่องของราคายางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อาจไม่ใช้ราคาที่สะท้อนจากปัจจัยพื้นฐานของราคายาง แต่อาจเกิดจากการปั่นราคา กักตุนยางพาราของนักเก็งกำไร เพื่อรอการเข้าซื้อจากบัพเฟอร์ฟันก์ ที่เตรียมจะเข้าซื้อยางพาราตามนโยบายรัฐบาล เพราะราคายางพาราในประเทศไทยขณะนี้สูงกว่าราคายางพาราในตลาดโลก อาทิ ตลาด ญี่ปุ่น ?นายชนะชัย กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงาน การเคลื่อนไหวของราคายางพาราในประเทศ ภายหลังจากรัฐบาลประกาสจัดตั้งกองทุนมูลภัณท์กันชนได้ประมาณ 2 สัปดาห์  ราคายางปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อวันที่16 ต.ค.2557 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ กก.ละ 49.13   บาท  เพิ่มขึ้น  13.4 %  หรือ 6.57 บาท  เมื่อเทียบกับราคาเมื่อวันที่ 3 ต.ค. อยู่ที่กก.ละ  55.70 บาท  ส่วนตลาดโตคอม  ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้า ที่มีการซื้อขายในเดือนต.ค. 2557 สำหรับสัญญาที่จะส่งมอบเดือนธ.ค.2557 ราคาอยู่ที่ 194 เยน/ก.ก.  สัญญาที่จะส่งเมอบเดือนมี.ค.2558 ราคาปิดอยู่ที่ 200.6 เยน/ก.ก. และราคาเพื่อการส่งเมอบเดือนเม.ย.2558 ราคาปิดอยู่ที่ 201.9 เยน/ก.ก. ซึ่งราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รายงานข่าวจากสถาบันวิจัยยาง แจ้งว่า  ราคายางตลาดกลางยางพาราสงขลา ยางแผ่นดิบแตะระดับ 52.25 บาท/กก. ปรับตัวสูงขึ้น 0.20 บาท/กก. โดยมีปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับอุทานยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศยังมีความต้องการซื้อ รวมทั้งธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม  ส่วนยางแผ่นรมควันแตะระดับ 55.70 บาท/กก. ปรับตัวลดลง 0.06 บาท/กก. เพราะมีปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนและยุโรป ขณะที่ราคาชี้นำตลาดโตเกียวปิดทำการ เนื่องในวันวัฒนธรรมแห่งชาติ ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศระมัดระวังในการซื้อขายและติดตามการเข้ามาซื้อยางของรัฐบาลโดยองค์การสวนยางว่าจะออกมาในรูปแบบใด

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด (วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557)