ผู้เขียน หัวข้อ: มหกรรมโกงยาง รับซื้อแพงเหตุจูงใจ  (อ่าน 1175 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

มหกรรมโกงยาง รับซื้อแพงเหตุจูงใจ
โดย 1 ต.ค. 2557 05:01


 


ราคารับซื้อยางสูงกว่าราคารับซื้อ ทั่วไปในตลาด 6?10 บาทต่อกิโลกรัม เป็นสิ่งล่อใจสำคัญทำให้ผู้เสียหายหลง เป็นเหยื่อ ?แก๊งโกงยางอีสาน? จนมีมูลค่าความเสียหาย 400 ล้านบาท


ช่วงเวลาเพียงแค่ไม่นาน...วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2556 ระดมยางพารามาได้ทั้งสิ้น 29,125,495 กิโลกรัม คิดราคาตามที่ล่อใจเอาไว้จะต้องได้รับเงิน 1,620,722,422 บาท แต่กลับได้รับการโอนจ่ายค่ายางพารามาเพียง 1,231,379,672 บาท


ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้และต้องจำ ซึ่งหลายคนก็รู้อยู่เต็มอกก็คือ ?ราคาซื้อขายยาง...ขึ้นลงตามราคาตลาดโลก? และคงต้องสะกิดใจเหตุไฉนบริษัทยางยักษ์ใหญ่จะต้องรับซื้อยางสูงกว่าราคาตลาดปกติ


และเหตุไฉน?...บริษัทจะให้สิทธิใครคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษ เพื่อเสาะหา รวบรวมผลผลิตยางมาป้อนโรงงานเป็นกรณีพิเศษ


พุ่งเป้าไปที่ บริษัท ศรีตรังแอโกร อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บริษัทยางยักษ์ใหญ่ที่ถูกแอบอ้างได้ข้อมูลมาว่ากลุ่มศรีตรังฯ มีโรงงานยางพาราในประเทศทั้งสิ้นกว่า 20 แห่ง...นับตั้งแต่ปี 2553 ได้ขยายธุรกิจไปยังพื้นที่ภาคอีสาน ปัจจุบันมีโรงงาน 5 แห่ง ตั้งอยู่ที่ บึงกาฬ บุรีรัมย์ มุกดาหาร อุดรธานี และอุบลราชธานี


กล่าวกันว่า...กระบวนการในการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ เป็นไปอย่างมีระบบตามมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทุกกระบวนการเปิดโอกาสให้กับบุคคลทั่วไป นิติบุคคล หรือกลุ่มสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร สามารถเข้าร่วมดำเนินธุรกิจการซื้อขายกับบริษัทได้อย่างเท่าเทียมกัน ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้


ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้ากลุ่มหนึ่ง...กลุ่มใดเป็นพิเศษ


ที่สำคัญ ?ราคายาง? ที่แต่ละสาขาเปิดรับซื้อในแต่ละวัน เป็น


ราคาที่ถูกกำหนด ควบคุมมาจากส่วนกลาง สามารถตรวจสอบได้


พิสุทธิ์ เดชะไกศยะ กรรมการผู้จัดการสำนักกฎหมายสากลสยามพรีเมียร์ ที่ปรึกษากฎหมายบริษัทรับเบอร์แลนด์ฯ บอกว่า บริษัทฯ ไม่เคยมีนโยบายให้พนักงานของบริษัทฯ ไปดำเนินการระดมยางพาราโดยกำหนดราคารับซื้อสูงเกินกว่าความเป็นจริงตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด


?การจัดหาวัตถุดิบจะต้องเป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯ และวิธีปฏิบัติก็เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและควบคุมโดยสำนักงานใหญ่เท่านั้น โรงงานสาขาย่อยไม่มีอำนาจดำเนินการหรือตัดสินใจใดๆทั้งสิ้น เรื่องนี้พนักงานทุกคนของบริษัทฯ ทราบกันดีอยู่แล้ว...ยิ่งการประเมินคุณภาพยางพาราที่ได้รับจากผู้ขายด้วยแล้ว บริษัทฯมีระบบการประเมินคุณภาพยางพาราที่เป็นมาตรฐานสากล?


ต้องย้ำว่า ราคารับซื้อยางล่อใจสูงกว่าทั่วไปกิโลกรัมละ 6?10 บาท...โดยเฉพาะให้ราคารับซื้อกับผู้ขายรายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ ไม่มีความเป็นไปได้ และไม่มีโอกาสที่จะทำได้อย่างแน่นอน


นโยบายการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบมีข้อกำหนดเคร่งครัดซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปที่ใช้กัน แบ่งขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ เริ่มจาก...การเปิดรหัสผู้ขายวัตถุดิบใหม่ ผู้ขายจะต้องให้รายละเอียดข้อมูลเบื้องต้นกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสรรหาวัตถุดิบตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบการซื้อขายวัตถุดิบ


กรณีบุคคลธรรมดา ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร หากไม่ประสงค์ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ให้เขียนแบบฟอร์มแจ้งเอาไว้


กรณีนิติบุคคล ใช้สำเนาหนังสือรับรอง อายุไม่เกิน 6 เดือน...


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม สำเนาใบอนุญาตค้ายาง หากไม่ใช่กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้มีอำนาจต้องมี...ตัวอย่างลายมือชื่อ ผู้รับมอบอำนาจที่กระทำการแทนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมทั้งสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารนิติบุคคล และจะถูกหักภาษี ร้อยละ 0.75 เพื่อส่งสรรพากรในเขตพื้นที่


กรณีกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ หรืออื่นๆในลักษณะเดียวกัน ใช้สำเนาหนังสือสำคัญจดทะเบียนสหกรณ์หรือใบจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร สำเนาใบอนุญาตค้ายาง ตัวอย่างลายมือชื่อ ผู้รับมอบอำนาจที่กระทำการแทนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน


รวมถึงงบการเงิน และรายงานการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ย้อนหลัง 2 ปี...นับจากวันขอเปิดรหัสผู้ขายวัตถุดิบใหม่


ถัดมาก็เข้าสู่ขั้นตอนการซื้อขายวัตถุดิบ...ขั้นตอนนี้ ?ราคาซื้อขายวัตถุดิบ? ฝ่ายการตลาดจะหารือกับผู้จัดการสายงานสรรหาวัตถุดิบและประกาศราคาเปิดรับซื้อวัตถุดิบประจำวันไปยังฝ่ายสรรหาวัตถุดิบทุกโรงงาน...โดยราคาที่เปิดรับซื้อจะเป็น ?ราคาซื้อขายตามน้ำหนักแห้ง?


เคาะราคามาแล้วทีมงานซื้อวัตถุดิบแต่ละหน่วยจะแจ้งราคาเปิดซื้อประจำวันไปยังผู้ขายวัตถุดิบที่ดูแลอยู่ เพื่อตกลงซื้อขายหรือผู้ขายติดต่อเข้ามาสอบถามราคากันเอง


สำหรับเงื่อนไขการรับซื้ออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ จะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ 1.ซื้อขายสด หมายถึง การซื้อขาย...ส่งมอบวัตถุดิบภายในวันที่ตกลงราคา เจ้าหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบจะบันทึกราคาที่ได้ตกลงกันในแบบฟอร์มบันทึกราคาซื้อ
ขายประจำวัน ผู้ขายสามารถส่งมอบได้ตามน้ำหนักที่ส่งได้ภายในวันเท่านั้น


2.ซื้อขายล่วงหน้า หมายถึง การซื้อขายวัตถุดิบที่ตกลงราคาภายในวันและกำหนดส่งมอบภายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกัน โดยเจ้าหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบ จะบันทึกการติดต่อซื้อขายตามปริมาณและราคาที่ได้ตกลงกันลงในโปรแกรมการซื้อขายวัตถุดิบ


สำหรับปริมาณที่ผู้ขายแต่ละรายจะสามารถซื้อขายล่วงหน้าได้นั้น จะถูกพิจารณาจากความสามารถในการส่งมอบ โดยคำนวณจากปริมาณการส่งมอบเฉลี่ยย้อนหลัง


3.ซื้อขายฝาก หมายถึง การซื้อขายวัตถุดิบที่ส่งมอบวัตถุดิบก่อน และตกลงราคาซื้อขายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกันตามเงื่อนไขการชำระเงิน โดยเจ้าหน้าที่จัดซื้อจะบันทึกลงในรายการขายฝาก


กรณีผู้ขายรายใหม่ กำหนดให้ใช้เงื่อนไขการขายสดเท่านั้น... ผู้ขายที่ผ่านการซื้อขายครบ 5 ครั้ง ทีมงานจะพิจารณาให้ซื้อขายล่วงหน้าได้ โดยดูจากประวัติการส่งมอบ


เมื่อตกลงราคาและปริมาณซื้อขายกันได้แล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนที่ สาม...การส่งมอบรับวัตถุดิบให้กับโรงงาน...เมื่อชั่งน้ำหนักวัตถุดิบแล้วจะมีการสุ่มตรวจตัวอย่าง ประเมินสภาพยางและค่า DRC ออกใบประเมิน พร้อมแจ้งผู้ขายให้ทราบ เมื่อได้น้ำหนักยางสุทธิก็จะคำนวณรายการซื้อขายตามประเภทการซื้อขาย


ขั้นสุดท้าย...การชำระเงินค่ายางพารา จะมีรอบการชำระเงินดังนี้ ส่งมอบสินค้าแล้วเสร็จจนถึงขั้นตอนการบันทึกโปรแกรมซื้อขายวัตถุดิบ ไม่เกินเวลา 11.30 น. โอนเงินภายในเวลา 15.00 น. ถ้าส่ง มอบหลังจากนี้จะโอนเงินในวันถัดไปภายใน 12.00 น. ก่อนหน้านี้จะใช้ระบบออกเช็คสั่งจ่าย ปัจจุบันใช้ระบบอีแบงกิ้ง...โอนเงินเข้าบัญชีผู้ขายวัตถุดิบโดยตรง


?แก๊งโกงยางอีสาน? สร้างความเสียหายไปแล้ว 400 ล้านบาท เกษตรกรสวนยางต้องเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัด...อุทาหรณ์ครั้งนี้เป็นเครื่องเตือนภัยในอนาคต ให้รู้และเฝ้าระวังอย่าหลงตกเป็นเหยื่ออีก.