ผู้เขียน หัวข้อ: 'ปีติพงศ์' เล็งถก กนย.แก้ราคายางตก ย้ำไม่เน้นแทรกแซง  (อ่าน 841 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84548
    • ดูรายละเอียด

'ปีติพงศ์' เล็งถก กนย.แก้ราคายางตก ย้ำไม่เน้นแทรกแซง
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 16 ก.ย. 2557 13:05




"ปีติพงศ์" ถกผู้แทนชาวสวนยาง แก้ราคาตก สรุป 4 ประเด็น หาแนวทางนำยางค้างสต๊อกไปใช้ให้หมด โค่นต้นยาง ดูแลราคา สนับสนุนสินเชื่อ นำเข้าที่ประชุม กนย.สัปดาห์หน้า ย้ำไม่เน้นแทรกแซงราคา คาดใช้เวลา 2-3 เดือน ...


นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังหารือร่วมกับ นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย (สกยท.) พร้อมผู้แทนภาคเกษตรกร อุตสาหกรรมด้านยางพาราทั้งระบบ ว่า ทุกฝ่ายได้มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งจากการหารือและรับฟังข้อเสนอ มีข้อคิดเห็นตรงกันในการแก้ไขปัญหายางพาราใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1. ต้องเร่งวางมาตรการทำให้ยางพาราที่ค้างอยู่ในประเทศใช้ให้หมดโดยเร็ว โดยรัฐบาลต้องส่งเสริมในการนำยางพาราไปใช้ในกิจการต่างๆ ของรัฐ ทั้งโครงการสร้างถนน ระบบการป้องกันน้ำท่วม หรือกิจการอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยางพารา ขณะเดียวกัน ในเรื่องการโค่นยางเพื่อลดอุปทานยาง ต้องวางระบบการดำเนินงานให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องการเคลื่อนย้ายต้นยาง และกระบวนการช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังการโค่นยางแล้ว เป็นต้น




2. สำหรับมาตรการระยะสั้น ต้องผลักดันให้เกิดการขายยางพาราได้จริง โดยรัฐบาลจะดูแลในเรื่องราคา เนื่องจากขณะนี้ตลาดอุตสาหกรรมขายกระดาษราคาตกต่ำลงมาก ดังนั้น ต้องหาผู้ซื้อจากตลาดที่มีการขายพาราให้มากยิ่งขึ้น 3. โครงการสนับสนุนสินเชื่อควรขยายไปถึงกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ นอกจากสหกรณ์ เช่น วิสาหกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนนำยางพารามาแปรรูปมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการซื้อยางพาราภายในประเทศ เพื่อผลักดันให้ราคาสูงขึ้น และ 4.สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น รวมถึงการกำหนดราคายางร่วมกันกับต่างประเทศ และการเก็บสต๊อกยางพาราร่วมกันกับต่างประเทศ เพื่อผลักดันให้ราคายางพาราสูงขึ้น


ทั้งนี้ จะนำข้อเสนอทั้ง 4 ประเด็น นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ชุดใหม่ในสัปดาห์หน้า โดยมาตรการแก้ไขปัญหายางพารายืนยัน จะไม่เน้นในเรื่องการแทรกแซงราคา และจะนำข้อเสนอแนะที่ได้รับฟังปัญหาจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกรและสถาบันยางที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหายางทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพคาดว่า ข้อเสนอทั้ง 4 ประเด็นจะเห็นผลในการดำเนินงานภายใน 2-3 เดือน


อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาจากตัวแทนกลุ่มเกษตรกรและสถาบันยางที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมาก จึงต้องดำเนินการไปทีละเรื่อง ทั้งเรื่องจัดการสต๊อกยางพารา การโค่นยางพารา การสนับสนุนสินเชื่อโครงการ ให้กับเกษตรกร และการนำยางพาราไปใช้ในกิจการของรัฐด้านต่างๆ ซึ่งต้องศึกษารายละเอียดเพื่อนำไปสู่การดำเนินการต่อไป.