ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 966 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  8  กันยายน  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกอยู่ในเกณฑ์กระจายถึงเกือบทั่วไปและตกหนักบางแห่ง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- ศูนย์ข้อมูลการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม   (VITIC) ภายใต้การดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าคาดการณ์ว่า รายได้จากการส่งออกยางพาราใน 8 เดือนแรกของปี 2557 จะอยู่ที่ 989 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.9 และมีความเป็นไปได้ว่าในช่วง 8 เดือนแรก เวียดนามจะส่งออกยางได้ 548,000 ตัน   แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.8 โดยราคาส่งออกเฉลี่ย 7 เดือนแรกของปี 2557 ยังคงอยู่ที่ 1,830 ดอลล่าร์สหรัฐต่อตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.96 ขณะที่กระทรวงการคลังเวียดนามได้ออกหนังสือเวียนเพื่อแจ้งการปรับลดอัตรา ภาษีส่งออกยางให้เป็นร้อยละ   0 จากอัตราปัจจุบันที่ร้อยละ 1 โดยภาษีใหม่จะนำมาใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2557   เป็นต้นไป
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (EU.) มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 1.2 หมื่นล้านยูโร หรือร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงจากระดับเกินดุล 2.52 หมื่นล้านยูโรในไตรมาสแรก พร้อมระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ   (GDP) ยูโรโซนไตรมาสา 2 ทรงตัวจากไตรมาสแรก ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจยูโรโซนไม่มีการขยายตัวในช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ   0.2
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนสิงหาคมยังคงอยู่ในระดับต่ำ ที่ 86.0 จุด ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 100.0 จุด ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อร่วงลงอย่างมาก
- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นเกินคาด โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากเดือนก่อน   สูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นการขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 2 ปี
- รัฐมนตรีเศรษฐกิจและนโยบายการคลังญี่ปุ่นคาดว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน อย่างไรก็ดี   รัฐบาลจะจับตาดูแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากยังไม่สามารถบอกได้ว่ารัฐบาลจะสามารถขึ้นภาษีการบริโภคอีกจนแตะ ร้อยละ   10 ตามที่วางแผนได้หรือไม่
- รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับลดการประเมินตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 เป็นหดตัวร้อยละ 7.1 จากเดิมที่ประเมินว่าหดตัวร้อยละ 6.8
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.00 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.30   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 105.07 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 93.29 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.16 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าภาวะซบเซาของตลาดแรงงานอาจทำให้ความต้องการพลังงาน ในสหรัฐฯ   ชะลอตัวลงด้วย ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ส่งมอบเดือนตุลาคมที่ตลาดลอนดอนลดลง 1.01 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 100.82   ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม2557 อยู่ที่ 185.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อยู่ที่ 196.7 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 0.9 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 174.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 142,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานซึ่งรวมถึงข้อมูลจากการสำรวจภาคครัวเรือนปรับตัวลดลงมา อยู่ที่ร้อยละ   6.1 จากร้อยละ 6.2 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรกรจะเพิ่มขึ้น 225,000 ตำแหน่ง
- ผลสำรวจของสำนักข่าวเกียวโตเผย จากการสอบถามการปรับขึ้นภาษีบริโภคเป็นร้อยละ 10 ในเดือนตุลาคม 2558 มีผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 68.2 คัดค้านการปรับขึ้นภาษี และมีเพียงร้อยละ 27.5   ที่สนับสนุนแผนการปรับขึ้นภาษี
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามตลาดต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการกล่าวว่าทุกคนมีความกังวลในการซื้อ เพราะซื้อขายขาดทุนทุกวันจากราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าราคาจะต่ำแต่ยังขายออกยาก เพราะไม่มีผู้ซื้อ
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน รวมทั้งเงินเยนแข็งค่า ประกอบกับปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุน โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับญี่ปุ่นที่ได้ปรับลดการประเมินผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ปี 2557 เป็นหดตัวลงร้อยละ 7.1 จากเดิมที่หดตัวร้อยละ 6.8 และจีนยังคงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแออย่างต่อเนื่อง ขณะที่สต๊อคยาง ณ ตลาดเซี่ยงไฮ้ของจีนเพิ่มขึ้นแตะระดับ 166,382 ตัน (5 กันยายน 2557) จาก 163,760 ตัน (29 สิงหาคม 2557)

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา

[/td][/tr][/table]