ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 978 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  25  สิงหาคม  พ.ศ. 2557


ปัจจัย

 [/t]
[/size]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยมีฝนในเกณฑ์กระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ   40 - 70   ของพื้นที่ กับมีฝนตกบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา และตรัง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- ความต้องการผลิตภัณฑ์ยางในประเทศจีนโดยเฉลี่ย   ปี 2560 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 หรือมีมูลค่าสูงถึง 740 พันล้านหยวน ซึ่งได้รับผลจากการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมและกลุ่มยานยนต์ อุปสงค์ที่แข็งแกร่งของลูกค้าทั้งรถยนต์และยานพาหนะชนิดอื่น ๆ จะสนับสนุนให้ความต้องการใช้ยางล้อและผลิตภัณฑ์ยางชนิดอื่นขยายตัวเพิ่มขึ้น
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 22 สิงหาคม   2557 เพิ่มขึ้น 2,095 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35 อยู่ที่ 157,541 ตัน จากระดับ 155,446 ตัน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10   สิงหาคม 2557 ลดลง 768 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4.67 อยู่ที่ 15,676 ตัน จากระดับ 16,444 ตัน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557
4. เศรษฐกิจโลก
- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB.) กล่าวว่า ECB. เต็มใจที่จะผลักดันนโยบายการเงินให้ผ่อนคลายมากขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเผชิญกับภาวะชะงักงัน โดยปัจจุบันอัตราว่างงานในยูโรโซนอยู่ที่ร้อยละ 11.5 สูงกว่าในสหรัฐฯ เกือบ 2   เท่า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคมอัตราเงินเฟ้อรายปียูโรโซนลดลงแตะร้อยละ   0.4 จากร้อยละ 0.5 ในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าเป้าหมายของ ECB. ที่ร้อยละ 2.0 อยู่มาก- นางเจเน็ต   เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวสุนทรพจน์ในคราวประชุมประจำปีว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ   ยังคงซบเซา แม้ว่าตลาดแรงงานจะขยายตัวขึ้นในช่วงระยะเวลาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจช่วง   5 ปีที่ผ่านมา พร้อมยืนยันจุดยืนในการคงนโยบายผ่อนคลายเงินตราต่อไป จากการพิจารณาเรื่องความผันผวนในตลาดแรงงานและการคาดการณ์เรื่องเงินเฟ้อ และกล่าวว่ามีแนวโน้มว่าการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ต่อไปอีกพักใหญ่ ภายหลังจากที่โครงการ   QE สิ้นสุดลงนั้นเป็นเรื่องที่เหมาะสม โดยเฉพาะภาวะเงินเฟ้อยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 32.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.09   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 104.13 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.24 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 93.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.31 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากตลาดขาดปัจจัยขับเคลื่อนราคา ประกอบกับมีแนวโน้มว่าความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ จะเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากฤดูกาลขับขี่รถท่องเที่ยวในสหรัฐฯ ใกล้จะสิ้นสุดแล้ว
7. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ 191.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 202.8 เยนต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 1.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว
- รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ   (BOE.) กล่าวว่า วิกฤตการเงินในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ ทำให้ธนาคารกลางทั้งหลายจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลตลาดแรงงาน เพื่อใช้ในการประเมินแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ   (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า การหารือของเฟดในที่ประชุมนโยบายประจำเดือนครั้งล่าสุดได้ให้ความสำคัญกับ การยกเลิกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และใกล้จะบรรลุเป้าหมายการทำงานของเฟดแล้ว เพราะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น เขาจึงคาดว่าช่วงสิ้นสุดไตรมาส   1 ปี 2558 น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นครั้งแรกจาก ร้อยละ   0 ในปัจจุบัน
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เนื่องจากผลผลิตยางน้อยเพราะได้รับผลกระทบจากฝนตกชุก อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกล่าวว่าราคายางน่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย แต่ต้องใช้เวลาทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสต๊อคยาง ซึ่งหากรัฐบาลมีการขายยางในสต๊อคก็จะเป็นผลดีในระยะยาว และจะไม่เป็นข้ออ้างของผู้ซื้อ ขณะที่โดยภาพรวมเกือบทุกโรงงานขาดแคลนสินค้า