ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 922 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  22  สิงหาคม  พ.ศ. 2557



ปัจจัย
วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- จากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจาย และตกหนักบางแห่ง   โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร จนถึง จังหวัดสงขลา   ส่งผลต่อการกรีดยาง
 
2.   การใช้ยาง
 
- ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส   บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงสถิติการขายรถยนต์เดือน กรกฎาคม   2557 ว่ามีปริมาณการขายทั้งสิ้น 69,527 คัน ลดลงร้อยละ 29.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือน มีปริมาณการขาย 510,438 คัน ลดลงร้อยละ 39.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา
 
3.เศรษฐกิจโลก
 
- ผลสำรวจของมาร์กิต เปิดเผยว่า   ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้น เดือนสิงหาคม ของญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับ 52.4 จากระดับของเดือนกรกฎาคม   ที่ 50.5  เนื่องจากยอดการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้น
- มาร์กิต อีโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า   ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) เบื้องต้น
 
  • ของฝรั่งเศสในเดือนสิงหาคม   เพิ่มขึ้นแตะ 50.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน จาก 49.4 ในเดือนกรกฎาคม
  • ของเยอรมนีในเดือนสิงหาคม   ลดลงสู่ระดับ 54.9 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จาก 55.7 ในเดือนกรกฎาคม
  • ผล สำรวจของมาร์กิตแสดงให้เห็นว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของยูโรโซนในเดือนสิงหาคม ปรับลงที่ 52.8   ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 เดือนจาก 53.8 ในเดือนกรกฎาคม โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นขยับลงที่   50.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 13 ปี จาก 51.8 ในเดือน กรกฎาคม ส่วนดัชนีPMI ภาคบริการเบื้องต้นปรับตัวลงมาอยู่ที่ 53.5 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 เดือนจาก   54.2 ในเดือน กรกฎาคม
- มาร์กิตอีโคโนมิคส์   เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้น เดือนสิงหาคมของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 58.0 จากเดือนกรกฎาคม ที่ระดับ 55.8   และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2553
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 31.92   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.13 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 และเงินเยนอยู่ที่ 103.89 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.05 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน   กันยายน ปิดตลาดที่ 93.96 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.51 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีภาคการผลิตและยอดขายบ้านมือสอง ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้น 0.35 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดที่   102.63 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6.   การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM    ส่งมอบเดือน กันยายน 2557 เปิดตลาดที่ 192.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน มกราคม 2558 เปิดตลาดที่ 203.5   เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.1 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 181.0   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.20 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่ายอดขายบ้านมือสองเดือนกรกฎาคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.4 แตะ 5.15 ล้านยูนิต โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและมีอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 10 เดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีเปิดเผยว่าตัวเลขจ้างงานของเยอรมนีปรับตัว เพิ่มขึ้นในไตรมาส   2 ปีนี้แม้ตลาดแรงงานเผชิญกับความวิตกกังวลที่ว่าความตึงเครียดทางการเมือง ระหว่างประเทศอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเยอรมนี ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของยุโรปก็ตาม โดยรายงานระบุว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ตัวเลขจ้างงานอยู่ที่ระดับ 42.5 ล้านคน   เพิ่มขึ้น 100,000 คน จากไตรมาสแรกและหากเทียบกับไตรมาส 2 ของปีที่แล้วพบว่าตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้น 340,000 คน หรือร้อยละ 0.8
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 สิงหาคม ปรับตัวลง 14,000 รายสู่ระดับ 298,000 ราย   และยังต่ำกว่าระดับ 302,000 ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์นับเป็นหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
 
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นได้เล็กน้อย   เพราะฝนตกผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย  อย่างไรก็ตามยังคงขายออกยาก เพราะผู้ซื้อต่างประเทศยังซื้อในราคาต่ำ ทำให้ราคาปรับตัวสูงมากๆ ทำได้ยากต้องรออีกระยะหนึ่ง
 
   
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโตเกียวและราคาน้ำมัน รวมทั้งได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ โดยเฉพาะภาคการผลิตและยอดขายบ้านมือสองที่ปรับสูงขึ้นเกินคาด และอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะฝนตกชุกในหลายพื้นที่ปลูกยาง  อย่างไรก็ตามราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัด เพราะนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายและวิตกกังวลหลังจากจีนเปิดเผยว่าภาค การผลิต เดือน สิงหาคม ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ3 เดือน รวมทั้งภาคผลิตและบริการของยูโรโซนปรับตัวลงต่ำสุดในรอบ 2 เดือน


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2014, 12:39:25 PM โดย Rakayang.Com »