ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 980 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  20  สิงหาคม  พ.ศ. 2557


ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ- จากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของพม่า ลาว และเวียดนาม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนกระจายเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และตกหนักเป็นบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ตอนบน ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง- รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) ประเมินว่ายอดส่งออกรถยนต์ในเดือน กรกฎาคม ยังมีแนวโน้มหดตัวลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน แม้ตัวเลขยังเก็บไม่ครบเหลืออีก 3-4 บริษัท แต่แนวโน้มยังไม่ดีขึ้น สำหรับภาพรวมคาดว่าการส่งออกรถยนต์ในปีนี้จะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 1.2 ล้านตัน หรือขยายตัวขึ้นราวร้อยละ 7.0
3.เศรษฐกิจโลก- สมาคมห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดขายของห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่น เดือน กรกฎาคม ปรับตัวลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.5 ซึ่งลดลงต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 4 แล้ว หลังจากที่มีการปรับขึ้นภาษีบริโภคเมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา- ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้เศรษฐกิจของเอเชียใต้หดตัวลงในอัตรา ร้อยละ 9.0 ต่อปี ภายในปี 2643 จากทั่วโลกยังคงใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลในระดับปัจจุบัน โดย ADB คาดว่าอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นอีก 4.6 องศาเซลเซียส- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้น ร้อยละ 0.1 ในเดือน กรกฎาคม หลังจากเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.3 ในเดือน มิถุนายน ซึ่งนักลงทุนมองว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงนั้นอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีก
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 31.89 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
และเงินเยนอยู่ที่ 102.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน กันยายน ปิดตลาดที่ 94.48 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.93 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์รุนแรงในอิรักและความขัดแย้งในยูเครนเริ่มคลี่คลายลง ขณะที่นักลงทุนจีนรอดูรายงานสต๊อคน้ำมันประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด ส่วนสัญญาน้ำมันเบรนท์ ส่งมอบเดือน กันยายน ที่ตลาดลอนดอนลดลง 0.04 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 105.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร- ราคา TOCOM  ส่งมอบเดือน กันยายน 2557 เปิดตลาดที่ 188.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน มกราคม 2558 เปิดตลาดที่ 199.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.1 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 181.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่าตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือน กรกฎาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 มาอยู่ที่ 1.09 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จากระดับ 945,000 ยูนิต ในเดือน มิถุนายน บ่งชี้ว่ากลุ่มผู้สร้างบ้านมีมุมมองบวกมากขึ้นหลังจากตลาดที่อยู่อาศัยซบเซาเมื่อช่วงต้นปี
8. ข้อคิดเห็นของ
ผู้ประกอบการ
- ราคายางมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะแม้ว่าจะมีปัจจัยบวกเข้ามาแต่ผู้ประกอบการหลายรายหมดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายในสิ้นเดือนนี้ จึงต้องซื้อในราคาต่ำลงเพื่อไม่ให้ขาดทุน



แนวโน้มราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกมาจากเงินเยนอ่อนค่า และข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ สถานการณ์รัสเซียและยูเครนเริ่มมีความคลี่คลายในทางที่ดี ประกอบกับภาวะฝนตกชุกในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย สำหรับปัจจัยลบจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำสถิติต่ำสุดในรอบเกือบ 8 เดือน และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลก

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2014, 12:06:17 PM โดย Rakayang.Com »