ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1114 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  19  สิงหาคม  พ.ศ. 2557

ปัจจัย[/t][/t]

 [/t]
[/size]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาร์ ลาว   และเวียดนาม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์กระจายและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดพังงา กระบี่   ภูเก็ต และตรัง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยางว
 
2. การใช้ยาง
 
- ยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศฟิลิปปินส์เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นจำนวน 20,730 คัน ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์พายุใต้ฝุ่น   Glenda ทั้งนี้สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งฟิลิปปินส์คาดการณ์ยอดจำหน่ายคงที่หรือน้อย กว่าในเดือนสิงหาคม   เนื่องจากเป็นช่วงซบเซา
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานสถิติยูเครนเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากความไม่สงบในภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ
- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า   ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 7.81   พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 16.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ระดับ 1.442 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ
- คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารพาณิชย์ในจีน ณ สิ้นเดือนมิถุนายนปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 และเพิ่มขี้นร้อยละ 0.4 จากสิ้นเดือนมีนาคม
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ยูโรโซนมียอดเกินดุลการค้าเบื้องต้นในเดือนมิถุนายนที่ 1.68 หมื่นล้านยูโร เมื่อเทียบกับ 1.57 หมื่นล้านยูโรในช่วงเดียวกันของปีก่อน หากเทียบรายเดือนการส่งออกในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ   0.5 ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 31.85 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ไม่เปลี่ยนแปลง
- เงินเยนอยู่ที่ 102.59 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.28 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 96.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.94 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากสถานการณ์รุนแรงในอิรักเริ่มส่งสัญญาณคลี่คลายไปในทางที่ดี ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันในอิรักผ่อนคลายลงด้วย ส่วนสัญญาน้ำมันเบรนท์ (Brent)   ส่งมอบเดือนตุลาคมที่ตลาดลอนดอนลดลง 1.93 ดอลล่าร์สหรัฐ ปิดที่ 101.60   ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
7. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2557 อยู่ที่ 186.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 195.7 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 180.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 1.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- ภาวะซื้อขายนตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนเริ่มลดน้อยลง หลังจากมีรายงานว่ารัฐมนตรีต่างประเทศยูเครนและรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เข้าร่วมการประชุมนานหลายชั่วโมงที่เยอรมัน เพื่อหาหนทางคลี่คลายวิกฤตในยูเครน
- สำนักงานของอิรักรายงานว่า กองทัพอิรักได้ร่วมมือกับนักรบชาวเคริร์ดเข้ายึดเขื่อนโมชุคที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดของอิรัก หลังจากที่กลุ่มรัฐอิสลามได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสหรัฐฯ เดือนสิงหาคมปรับตัวขึ้นแตะ   55.0 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน จาก 53.02 จุดในเดือนกรกฎาคม และเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นถึงภาวะตลาดแรงงานที่สดใส
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน   (NBS)   รายงานว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือนกรกฎาคม โดยเมืองต่าง ๆ ที่รายงานว่าราคาบ้านปรับตัวลดลงในเดือนกรกฎาคมนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะที่เมืองที่มีราคาบ้านสูงขึ้นนั้นมีจำนวนลดลง โดย NBS ระบุว่าผลการติดตามเมืองขนาดใหญ่จำนวน 701 แห่ง พบว่ามี 60 แห่งรายงานว่าราคาบ้านได้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบเป็นรายเดือน และเทียบกับ 55 แห่งในเดือนมิถุนายน
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพราะยังมีแรงหนุนจากผลผลิตค่อนข้างน้อย ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความต้องการซื้อในราคาต่ำที่ 50 - 51 บาทต่อกิโลกรัม   ซึ่งพอที่จะขายออกได้โดยไม่ขาดทุน ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนยังรอความหวังว่าราคาจะปรับขึ้นมาบ้าง เพื่อที่สต๊อคยางที่มีอยู่จะไม่ขาดทุนมาก แม้ว่าจะยังไม่แน่ใจในทิศทางราคายาง
 
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มผันผวนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว การปรับตัวของราคาน้ำมัน และความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยาง เพราะโดยภาพรวมจีนและญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกยังคงเปิดเผย ข้อมูลที่ส่งสัญญาณถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยบวกมาจากอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะฝนตกชุกในหลาย พื้นที่ปลูกยางของไทย และสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ขณะที่ยังต้องติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดในอิรัก อิสราเอล ยูเครน และรัสเซีย
[/b][/size]
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา[/b][/size]
[/td][/tr][/table][/td][/tr][/table]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2014, 12:02:54 PM โดย Rakayang.Com »