ผู้เขียน หัวข้อ: IRCo เร่งรัฐปล่อยเงินกู้เอกชนซื้อยาง ดันไทยเป็นศูนย์กลาง - คุมเกมราคา  (อ่าน 1148 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85084
    • ดูรายละเอียด
IRCo เร่งรัฐปล่อยเงินกู้เอกชนซื้อยาง ดันไทยเป็นศูนย์กลาง - คุมเกมราคา


คอลัมน์ สัมภาษณ์


จาก ปัญหาราคายางพาราที่ทรุดหนักมาตั้งแต่ต้นปี ประเทศไทยผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลกและมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก "ประชาชาติธุรกิจ" จึงถือโอกาสสัมภาษณ์นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมกำกับดูแลโควตาการปลูกยางของ 3 ประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือไตรภาคีด้านยางพารา (ITRC) ว่าควรจะหาทางออกในเรื่องนี้อย่างไร


สถานการณ์ยางพาราทั่วโลกในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง


สถานการณ์ ยางราคาตกต่ำเช่นนี้ไทยต้องปรับตัวสินค้าทุกอย่างลดลงไม่ใช่เฉพาะยางพารา เท่านั้น แต่การใช้รถยนต์ยังดี แม้จะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2554 โดยจีน 6 เดือนแรกปีนี้รถยนต์นั่งยังเติบโต 8.36% สหรัฐโต 4.3% ยุโรปโต 4.28% ญี่ปุ่นโต 10.85% อินเดียโต 2.96% เหตุที่ยกตัวอย่างจากรถยนต์ เพราะยาง 60-70% ใช้ผลิตยางล้อรถยนต์ เครื่องบิน ซึ่งการใช้ยังดีอยู่


เศรษฐกิจ โลกในปี 2556 ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) สหรัฐ 1.9% จีน 7.7% จากปกติที่อยู่ในระดับ 10% จีดีพีจีนไตรมาส 1 ปี 2557 เท่ากับ 7.4% สหรัฐไตรมาส 1 เท่ากับ 1.5% และจีนไตรมาส 2 เริ่มฟื้นตัวเป็น 7.5% ส่วนอินเดียไตรมาส 1 ปีนี้จีดีพีเท่ากับ 4.6% เริ่มฟื้นตัวจากค่าเฉลี่ยปี 2556 ที่อยู่ระดับ 4.4%


ความ เชื่อมั่นของนักลงทุนช่วงต้นปีนี้ชะลอการลงทุน ขณะที่ภาพรวมผู้บริโภคทั่วโลกประหยัดมากขึ้น ทำให้ราคายางปรับตัวอ่อนลง ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เดือน ม.ค. 2557 ลดลงถึง 17% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. 2557 ในขณะที่ราคาซื้อขายจริงของไทยลดลงเพียง 12%


เศษ ยางแท่งที่ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ลดลง 20% แต่ของไทยลดลงมากกว่าเท่ากับ 21% เศษ ตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ลดลง 12% เศษ แต่ของไทยราคาเอฟโอบีลดลงใกล้เคียงกันที่ 12% จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นลดลงมากที่สุด เพราะเก็งกำไรซื้อขายกระดาษกันเป็นส่วนใหญ่


ล่า สุดทั่วโลกผลิตยางปีละ 12 ล้านตันเศษ ขณะที่มีความต้องการปีละ 11 ล้านตันเศษ ผู้บริโภคยางรายใหญ่คือจีน ใช้ยางธรรมชาติปีละ 4 ล้านตัน ยุโรป 28 ประเทศใช้ยาง 1 ล้านตัน ไทย 5 แสนตัน ซึ่งในส่วนของไทย ราคาที่ตกต่ำ ชาวสวนไม่กรีดยางกันมาก ปล่อยให้ต้นโทรม และขาดแคลนแรงงานตามมา เนื่องจากชาวสวนยางกับคนรับจ้างกรีดยางที่แบ่งรายได้ฝ่ายละครึ่ง หรือแบ่ง 60/40 ไม่คุ้มในส่วนขนาดเล็ก 5-10 ไร่ เพราะกรีดออกมาขายแบ่งเงินกันแล้วไม่คุ้ม และต้นทุนคงที่ในการผลิตยางของไทยสูง เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียที่จ้างกรีดจ่ายเป็นค่าแรงรายวัน ฉะนั้นสวนยางขนาดเล็กของไทยต้องหาทางออก ต้องมีอาชีพเสริม เช่น ปศุสัตว์ ประมง หรือเกษตรพอเพียง ปลูกผักผลไม้ เป็นต้น


ในอนาคตควรบริหารจัดการปลูกยางอย่างไร


ภาค รัฐต้องจัดเขตเกษตรเศรษฐกิจ ต้องเริ่มจากโซนนิ่ง ทั้งจัดเชิงพาณิชย์และเชิงเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่คำนึงถึงต้นทุนเท่าใดนัก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ดูแลเต็มที่ ที่ผ่านมาพอยางราคาดีก็แห่ปลูกทั้งพื้นที่แห้งแล้งดินทรายและพื้นที่ดิน เหนียว ผลผลิตจึงไม่ดี เกษตรกรก็อยู่ลำบาก รวมทั้งเรื่องต้นทุนค่าแรง ของไทยแพงเพราะใช้ระบบแบ่งผลประโยชน์ ขณะที่มาเลเซียจ่ายค่าจ้างรายวัน จึงเป็นโจทย์ที่ว่าเราจะแก้จุดนี้อย่างไรด้วย แต่ในส่วนที่ไทยได้เปรียบคือ การเรียนรู้เร็ว และหน่วยงานรัฐทำงานวิจัยส่งเสริมทำได้ดี


บทบาทของบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ และองค์การความร่วมมือไตรภาคีด้านยางพารา (ITRC)


สมาชิก ITRC 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้หารือกันตลอดที่จะไม่ตัดราคาขายยางกัน ราคาควรห่างกันไม่เกิน 3 บาท/กก. ของไทยก็สูงหน่อยเพราะต้นทุนสูง ของอินโดฯก็ต่ำกว่าสัก 3 บาท/กก. เป็นต้น ซึ่งการบริหารด้านราคาก็ประสบความสำเร็จดี ส่วน IRCo ก็พยายามควบคุมกำกับจัดสรรโควตาปลูกยางในแต่ละประเทศสมาชิกไม่เกินข้อตกลง แต่เปิดเผยไม่ได้ ทั้ง 3 ประเทศผลิตยางประมาณ 70% ของผลผลิตทั่วโลก หรือประมาณ 8 ล้านตันแต่ในช่วงปี 2554 ที่ผลผลิตยางราคาดี มีการขยายไปปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสมและใน สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนามกันมาก ทั้ง 3 ประเทศจึงได้ตกลงในการประชุมล่าสุดที่เชียงใหม่ที่จะเร่งโค่นยางแก่เร็วมาก ขึ้น


จากสต๊อกยางทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นไทยในฐานะผู้ผลิตยางอันดับ 1 ของโลกต้องแก้ไขอย่างไร


ประเทศ ผู้ผลิตยางต้องบริหารจัดการสต๊อกยาง ช่วงผลผลิตยางออกมากในไตรมาส 3-4 ควรซื้อยางเก็บสต๊อกแล้วรอขายช่วงไตรมาส 1-2 ที่ยางผลัดใบ ยางออกสู่ตลาดน้อย ซึ่งรัฐควรสร้างโกดังเก็บ หรือมีเงินให้เอกชนกู้ปลอดดอกเบี้ย เก็บยางช่วงไตรมาส 3-4 แล้วขายช่วงไตรมาส 1-2 เราต้องบริหารสต๊อก ถ้าไม่ทำผู้ซื้อจะกดราคา หากทำได้ไทยจะได้ก้าวเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก ราคาก็จะถูกกำหนดโดยไทย ไม่ใช่เมืองชิงเต่าของจีนที่ประกาศเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก โดยการตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน ยางพาราที่นำเข้าเก็บในคลังยังไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า จะเสียเมื่อโรงงานมาซื้อยางในคลังไป ทำให้โรงงานลดค่าใช้จ่ายในการสต๊อกได้มาก ในอีกมุมหนึ่งก็เหมือนผีถึงป่าช้า ช่วงราคายางขาขึ้นก็ดีไป แต่ช่วงยางขาลงก็ป่วนราคาตลาดทั่วโลกได้ ทำให้เกษตรกรไทยเดือดร้อน


กรณี IRSG บอกว่า สต๊อกยางทั่วโลกปีนี้และปีหน้าพุ่งขึ้นมา 3.2 และ 3.4 ล้านตัน จากปกติควรอยู่ที่ 2 ล้านตันที่ InternationaRubber Study Group (IRSG) ศึกษามาผมว่าค่อนข้างสูงไป ของ IRCo จะอยู่ที่ประมาณ 2.3-2.5 ล้านตันเศษเท่านั้น เพราะคาดว่าเมื่อราคายางตกต่ำชาวสวนจะไม่กรีดยางกัน และต้นยางทรุดโทรม ผลผลิตลดเพราะขาดการบำรุงดูแล




หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ