ผู้เขียน หัวข้อ: 2 บิ๊กส่งออกยางลุ้นครึ่งหลังฟื้น หวังนโยบายรัฐบาลใหม่  (อ่าน 1194 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85084
    • ดูรายละเอียด

2 บิ๊กส่งออกยางลุ้นครึ่งหลังฟื้น หวังนโยบายรัฐบาลใหม่


2 บิ๊กส่งออกยางพาราเผยครึ่งทางยอดโตไม่หวือหวา "ไทยฮั้วยางพารา"ระบุปริมาณพุ่ง แต่ยอดขายโตแค่ 10% เหตุยางพาราโลกราคาตก มั่นใจเดือนที่เหลือยอดกระเบื้องจากเศรษฐกิจ 4 ตลาดหลักทิศทางฟื้นตัวบาทแข็งปัจจัยเสี่ยง


ด้าน"ไทยรับเบอร์ฯ"เผยยอดยังทรงตัวสั่งจับตานโยบายรัฐบาลใหม่ มีผลต่อการส่งออกครึ่งหลัง ขณะเร่งขยายฐานทั้งในและต่างประเทศรองรับเออีซี อ้อน คสช. ยกเลิกเงินเซสส์ /ไฟเขียวนำเข้าวัตถุดิบยางพารา อุ้มส่งออกแข่งขันได้
นายหลักชัย  กิตติพล ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 ว่า บริษัทมียอดขายกว่า 2 หมื่นล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 10% ขณะที่การส่งออกด้านปริมาณขยายตัวเพิ่มขึ้น 25% ซึ่งการที่ยอดขายขยายตัวน้อยกว่าด้านปริมาณเนื่องมาจากราคายางในต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ดีคาดในสิ้นปีนี้การส่งออกในแง่มูลค่า และแง่ปริมาณจะขยายตัว 10  และ 25% ตามลำดับ(จากปี 2556 ยอดขายเกือบ 4 หมื่นล้านบาท)


"ครึ่งแรกเราทำได้ใกล้เคียงกับเป้าหมาย แม้มีปัญหาราคายางลดลง ซึ่งหากราคายางดีขึ้นในครึ่งหลังเราน่าจะทำได้ดีกว่านี้ โดยบริษัทมีการส่งออกน้ำยาง ยางแผ่น ยางแท่งไปยังตลาดจีนสัดส่วนมากกว่า 55% ที่เหลือส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โดยลูกค้าจะนำไปผลิตเป็นยางล้อรถยนต์ ยางยืด ถุงยางอนามัย สายพาน ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ และอื่นๆ"
ทั้งนี้มองว่าในครึ่งหลังของปีนี้มีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจของ 4 ตลาดหลักคือจีน น่าจะขยายตัวได้ดีขึ้น และทั้งปีจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 7% ส่วนสหภาพยุโรปฟื้นจากไอซียูคงไม่แย่ไปกว่าปี 2556 สหรัฐอเมริกาจากที่มีการจ้างงานเพิ่ม คนตกงานลดลง และอัตราเงินเฟ้อลดลง คาดเศรษฐกิจสหรัฐฯจะดีขึ้นตามลำดับ และญี่ปุ่นเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าทั้ง 4 ตลาดจากสต๊อกที่ลดลงจะมีการใช้ยางเพิ่มขึ้น และจะมีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ แต่มีปัจจัยเสี่ยงบาทแข็งค่าขึ้น
ด้านนายวรเทพ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ไทยรับเบอร์ลาเท็กซ์คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยถึง ผลดำเนินการรวมของบริษัทในไตรมาสที่ 1/2557 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วว่า มีรายได้จากการขายและบริการ 3.33 พันล้านบาท ลดลง 638 ล้านบาท คิดเป็น 16% เกิดจากราคายางโดยเฉลี่ยในไตรมาสแรกปี 2557 ต่ำกว่า ปี 2556 ประมาณ 15% ขณะที่ต้นทุนขายและบริการอยู่ที่ 3.09 พันล้านบาท ลดลง 659 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีกำไรขั้นต้น 233 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  22 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 7% เทียบกับ 5% ในไตรมาสแรกของปี 2556 ส่วนไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ยังไม่สรุปแต่ไม่ดีมาก ขณะที่ ไตรมาสที่ 3 และ 4  ยังประเมินไม่ได้ ต้องรอดูนโยบายด้านยางพาราของรัฐบาลที่ชัดเจนก่อนว่ามีทิศทางอย่างไร แม้ว่าจะมีสัญญาณบวกจากเศรษฐกิจโลก สหรัฐอเมริกา จีน  จะดีขึ้นตามลำดับแล้วก็ตาม
อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวของทางกลุ่มในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี2554-2556) บริษัทได้มีการขยายลงทุนจากธุรกิจยางน้ำไปยังธุรกิจยางแท่ง  โดยมีการก่อตั้งบริษัท ไทยรับเบอร์ เอช พี เอ็น อาร์ จำกัด โดยกลุ่มถือหุ้น 100% มีทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท ได้ก่อสร้างโรงงานยางแท่งที่จังหวัดชุมพร โดยเปลี่ยนโรงงานผลิตน้ำยางข้นที่สาขาชุมพร ซึ่งมีการผลิตน้ำยางข้นไม่ถึงจุดคุ้มทุนปรับเปลี่ยนมาเป็นโรงงานยางแท่ง และได้มีการขยายการลงทุนเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) โดยก่อตั้ง บริษัทแห่งใหม่ชื่อ Myanmar Thai Rubber Joint Corporation Limited ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ทุนจดทะเบียน 80 ล้านบาท บริษัทถือหุ้นในสัดส่วน 64% คิดเป็นเงินลงทุนจำนวน 51.20 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจบริหารสวนยางพาราพร้อมกรีดแล้ว และได้ตั้งโรงรมควันยางแผ่น และโรงงานน้ำยางข้น ในเมืองมะริดจังหวัดทวาย  นอกจากนี้ทางบริษัทได้มีการปรับกลยุทธ์การผลิตเพื่อลดต้นทุน
"ในส่วนของเอกชนได้เสนอ คสช. ผ่านทาง 2 สมาคม ได้แก่ สมาคมยางพาราไทย และสมาคมน้ำยางข้นไทยให้ยกเลิกการจัดเก็บเงินสงเคราะห์เกษตรจากผู้ส่งออก(เงินเซสส์) เพื่อให้ผู้ส่งออกแข่งขันได้ และอยากให้พิจารณาอนุมัติการนำเข้าวัตถุดิบยางทุกชนิด เพื่อลดต้นทุนผู้ส่งออก เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลแทรกแซงทำให้ราคายางในประเทศสูงกว่าตลาดโลก จึงทำให้บริษัทหลายรายประสบปัญหาขาดทุน"