ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1126 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84447
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  30  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- อิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และหย่อมความกดอากาศต่ำ ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์กระจาย ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยางในหลายพื้นที่
 
2. การใช้ยาง
 
- ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ   (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม คสช. อนุมัติงบ 835,933,022 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงถนนชำรุดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา เป็นงบกลางจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 มอบหมายให้กรมทหารช่างและกองทัพภาคที่   1 - 4 ดำเนินการ โดยการใช้ยางธรรมชาติผสมยางมะตอยในการปูผิวถนน รวมทั้งสิ้น 37   สาย ระยะทาง 974 กิโลเมตร ระยะเวลาปฏิบัติงาน 360 วัน พร้อมมอบหมายกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะกรมทางหลวงพิจารณานำยางพาราในประเทศมาใช้ในโครงการของภาครัฐให้มาก ที่สุด
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- คอนเฟอร์เรนซ์ บอร์ด รายงานว่า   ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นแตะระดับ 90.9 จุด   จากเดือนมิถุนายนที่ 86.4 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 เพราะได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของตัวเลขจ้างงานโดยผู้บริโภคคาดการณ์ ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ   จะยังคงขยายตัวได้ดีในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
- รายงานคาดการณ์ธนาคารดอยซ์   แบงค์ ระบุว่า เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นปานกลาง ภายหลังสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมีความชัดเจนมากขึ้น โดยดอยซ์ แบงค์ ระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ของจีนชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของจีนกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือนมิถุนายนแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวจะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงไตรมาส 3
- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่น   เปิดเผยในรายงานเบื้องต้นว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนรายเดือนโดยเฉลี่ยเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 0.3 จากปีก่อน   อยู่ที่ 272,791 เยน
- นักวิเคราะห์คาดว่า   คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC)   จะลดวงเงินโครงการซื้อพันธบัตรลงอีก 1 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ สู่ระดับ 2.5   หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในการประชุมวันที่ 29 - 30 กรกฎาคม 2557
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า   ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงร้อยละ 3.3 จากเดือนก่อน   เมื่อมีการปรับค่าตามฤดูกาล
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 31.85 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.10 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.13 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่ 100.97 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายก่อนที่สำนักงานสารสนเทศด้านการ พลังงานสหรัฐฯ (EIA.)   จะเปิดเผยรายงานสต๊อคน้ำมันประจำสัปดาห์ในวันพุธ และก่อนที่ทางการสหรัฐฯ จะเปิดเผยตัวเลขแรงงานนอกภาคการเกษตรในวันศุกร์นี้
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 198.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 209.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง   1.0 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 201.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- กระทรวงแรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น   รายงานว่า อัตราว่างงานเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะร้อยละ 3.7 จากร้อยละ   3.5 ในเดือนพฤษภาคม
- สแตนดาร์ด แอนด์   พัวร์ และเคส ซิลเลอร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐฯ   เดือนพฤษภาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขยายตัวช้าลงเมื่อเทียบกับเดือนเมษายนที่ร้อยละ 10.8 และยังขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง   โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นยาก เพราะขายออกยาก   ผู้ซื้อเสนอซื้อในราคาต่ำ บางรายยอมขายทั้งที่ขาดทุน เพราะขาดเงินทุนหมุนเวียน ทำให้หลายรายต้องชะลอการซื้อหรือซื้อจำนวนน้อยลง
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวและผันผวนเล็กน้อยตามทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้า โตเกียว และการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนเฝ้าติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก่อนตัดสินใจลงทุนในวันพรุ่งนี้ สำหรับปัจจัยบวกการคาดการณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญ่ อาจจะส่งผลให้ผลผลิตยางลดลง และการอ่อนค่าของเงินเยนรวมทั้งอุปสงค์ยางอาจปรับตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายตัวของธุรกิจยางในจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]