ผู้เขียน หัวข้อ: ลุยแผนลดต้นทุนสวนยางพารา หนุนเข้าถึงปัจจัยผลิต-ใช้วัสดุท้องถิ่นลดค่าใช้จ่าย  (อ่าน 1812 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85915
    • ดูรายละเอียด

ลุยแผนลดต้นทุนสวนยางพารา หนุนเข้าถึงปัจจัยผลิต-ใช้วัสดุท้องถิ่นลดค่าใช้จ่าย


 
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 2 กรกฎาคม 2557 06:00:00 น.
นายชวลิต  ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร โดยกระบวนการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตของ สกย. ได้ใช้รูปแบบการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง การพัฒนาและส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม เพื่อจะได้สามารถบริหารจัดการผลผลิต และวัสดุการผลิตด้านการเกษตรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยกิจกรรมหลักๆ ที่กำลังดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่




 
1.การจัดหาปัจจัยการผลิต ซึ่งจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตตามความจำเป็น โดยมีแหล่งผลิตวัสดุปลูก อาทิ ยางตาเขียว ยางชำถุง นอกจากนี้ยังจัดอบรมให้ชาวสวนยางสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง การใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือการผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การผลิตยางชำถุง การผลิตต้นตอยางตาเขียว 2.การส่งเสริมอาชีพเสริม โดยมีนโยบายให้ทุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ชาวสวนยางนำไปใช้ประกอบอาชีพเสริม โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นยางยังไม่ให้ผลผลิต เช่น การปลูกพืชแซมและพืชร่วมยาง หรือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในสวนยางพารา เพื่อใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน


3.การใช้วัสดุในท้องถิ่นมาปรับใช้ในสวนยาง ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่น เช่น ซังข้าวโพด เศษทะลายปาล์มน้ำมัน ฟางข้าว มาใช้ประโยชน์ในสวนยางพาราที่เริ่มปลูก เช่น นำมาคลุมโคนต้นยางเฉพาะต้น หรือคลุมตลอดแถวยาง เพื่อช่วยป้องกันการรบกวนของวัชพืช 4.การส่งเสริมให้ใช้แรงงานในครัวเรือน ตามที่ สกย. มีนโยบายพัฒนาชาวสวนยางที่มีความชำนาญในอาชีพการทำสวนยางเป็น ?ครูยาง? ถ่ายทอดความรู้จากเพื่อนเกษตรกรสู่ชาวสวนยางด้วยกันเอง


นอกจากนี้ยังมีโครงการในระยะยาว คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของชาวสวนยางด้วยการปรับเปลี่ยนพันธุ์ยางจากเดิมที่ให้ผลผลิต 270 กก./ไร่/ปี เป็นพันธุ์ RRIT 251 ซึ่งให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจุบัน ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรด้วย


นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการ ผ.อ.สกย. เปิดเผยว่า สกย.ตระหนักดีว่าด้วยกระบวนการข้างต้น จะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตได้ทางหนึ่ง จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จัดฝึกอบรมเกษตรกรชาวสวนยางพาราในที่ว่างเปล่าในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลักสูตร ?อาชีพเสริมในสวนยาง? ให้แก่เกษตรกร