ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์  (อ่าน 604 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 86015
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์


ราคาน้ำมันดิบลดลงต่อเนื่อง ได้รับแรงกดดันหลังท่าเรือส่งออกน้ำมันดิบ 2 แห่งในลิเบียจะกลับมาดำเนินการอีกครั้ง


- ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง หลังกลุ่มกบฏในลิเบียออกมาเปิดเผยว่าจะอนุญาตให้รัฐบาลเปิดดำเนินการใช้ท่า เรือ 2 แห่งทางตะวันออกของประเทศซึ่งได้ถูกกลุ่มกบฏปิดมาเป็นเวลานานเกือบปี ได้แก่ ท่าเรือ Es Sider และท่าเรือ Ras Lanuf เพื่อส่งออกน้ำมันดิบได้อีกครั้ง ซึ่งท่าเรือ 2 แห่งนี้สามารถขนส่งน้ำมันดิบได้ถึง 500,000 บาร์เรลต่อวัน โดยก่อนที่ถูกกลุ่มกบฏประท้วงและบุกยึดท่าเรือต่างๆ นั้น ลิเบียเคยสามารถผลิตน้ำมันได้ถึง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน  และกำลังการผลิตลดลงมาอยู่ที่ 321,000 บาร์เรลต่อวันในขณะนี้
- การประชุม 4 ฝ่ายระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน, รัสเซีย, เยอรมนี และฝรั่งเศส ที่กรุงเบอร์ลิน ระบุว่า การเจรจาหยุดยิงจะเริ่มขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 ก.ค. โดยมีผู้แทนจากรัฐบาลยูเครน, รัสเซีย ฝ่ายกบฏและตัวแทนจากองค์การสนับสนุนความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (ไอเอสซีอี) เข้าร่วม โดยมีเป้าหมายคือ การบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่ยั่งยืนและปราศจากเงื่อนไข ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับความไม่สงบในยูเครนและสนับสนุนให้ราคา น้ำมันดิบปรับตัวลดลง
+/- นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางยุโรป ในช่วงเย็นวันนี้ โดยมีการคาดการณ์ว่าอีซีบีอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม หลังจากที่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0.15% จากระดับเดิมที่ 0.25% ในการประชุมครั้งก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของยูโรโซนต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืด
+ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสยังได้รับแรงหนุน หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ออกมารายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ที่ 27 มิ.ย. 57 ว่าปรับลดลงถึง 3.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 2.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นผลมาจากโรงกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มกำลังการผลิต 2.9 % ไปแตะระดับที่ 91.4 % เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้มีการใช้น้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 546,000 บาร์เรลต่อวัน
ราคา น้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีการคาดการณ์ถึงอุปสงค์น้ำมันเบนซินในเวียดนามที่จะปรับตัวกลับ สู่ระดับปกติ และแรงซื้อในภูมิภาคที่ลดลง  อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงไม่มากนัก หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากอินเดียเนื่องจากโรงกลั่นน้ำมัน ในอินเดียมีปัญหาและบางโรงอยู่ระหว่างการปิดซ่อมบำรุง
ราคา น้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังโรงกลั่นน้ำมันในอินเดียมีปัญหาทำให้ต้องหยุดดำเนินการกะทันหัน ส่งผลให้ต้องนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันดีเซลในภูมิภาคยังคงซบเซาอยู่ เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลถือศีลอด ประกอบกับอุปทานที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งในเอเชียและตะวันออกกลาง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไท ยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 102-109 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 109-116 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-การ บุกยึดดินแดนอิรักโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ISIL ยังคงดำเนินอยู่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มกบฏยังไม่สามารถเข้ายึดเมืองแบกแดดซึ่งเป็นเมืองหลวงของอิรักได้ ขณะที่การผลิตและส่งออกน้ำมันทางตอนใต้ของประเทศยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน ก.ค. อิรักมีกำหนดจะส่งออกน้ำมันดิบที่ราว 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน
-จับ ตาการประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรปในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ซึ่งตลาดจะได้รับฟังมุมมองของนายมาริโอ ดรากี้ ประธานธนาคารกลางฯ ที่มีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซน
-จับ ตาการส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียว่าจะกลับมาได้มากเพียงใด หลังล่าสุดกลุ่มผู้ประท้วงยอมเปิดท่าเรือส่งออกน้ำมันเพิ่มอีก 2 แห่ง  ส่งผลให้การส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ส่งออกราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 800,000 บาร์เรลต่อวัน ในเร็วๆ นี้
- จับตาสถานการณ์การสู้รบในยูเครนหลังกลุ่มกบฎหัวรุนแรงมีแผนจะเจรจากับรัฐบาล ยูเครนเรื่องแผนการหยุดยิงภายในสัปดาห์นี้ ขณะที่การลงนามในข้อตกลงการค้าระหว่างยูเครนและสหภาพยุโรปจะมีความคืบหน้า ด้วยดี  ซึ่งหลายฝ่ายมีความหวังว่าจะช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นในยูเครตะวันออก ขณะนี้ได้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก - มิ.ย. 57
ยอดขายบ้านรอปิดการขาย - มิ.ย. 57
วันอังคารดัชนีชี้วัดภาคการผลิตสหรัฐฯ -พ.ค. 57
ยอดใช้จ่ายภาคการก่อสร้างสหรัฐฯ - เม.ย. 57
ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตจีน - พ.ค. 57
อัตราการว่างงานสหภาพยุโรป - พ.ค. 57
ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตยูโรโซน - มิ.ย. 57
วันพุธการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ - พ.ค. 57
ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานสหรัฐฯ - พ.ค. 57
วันพฤหัสอัตราการว่างงานสหรัฐฯ - พ.ค. 57
การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ - พ.ค. 57
ดัชนีชี้วัดภาคบริการสหรัฐฯ -พ.ค. 57
ดัชนีชี้วัดภาคบริการจีน - มิ.ย. 57
ดัชนีชี้วัดภาคบริการสหภาพยุโรป - มิ.ย. 57