ผู้เขียน หัวข้อ: ถกคสช.ดันที โออาร์'ถนนลาดยาง'รื้ออัตราการจัดเก็บเงินเซส เตรียมพร้อมเข้าเออีซี  (อ่าน 879 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83129
    • ดูรายละเอียด
ถกคสช.ดันที โออาร์'ถนนลาดยาง'รื้ออัตราการจัดเก็บเงินเซส เตรียมพร้อมเข้าเออีซี



"อุทัย"นำทัพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางหารือ "ยอดยุทธ"เสนอแนวทางแก้ไขราคายางตกต่ำ พร้อมยกระดับราคา ระบุไม่ระบาย สต็อก กำหนดทีโออาร์บังคับหน่วยงานรัฐใช้ยางภายในผสม ทำถนนลาดยาง




นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย และประธานเศรษฐกิจมหภาคการเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการได้เข้าพบพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ คณะ รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมคณะ โดยได้หารือปัญหาสถานการณ์ราคายาง ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราจัดเก็บเงินสงเคราะห์การ ทำสวนยาง (CESS) การเตรียมความพร้อม เรื่องยางพาราในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน




นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ได้เสนอปัญหาราคายางพาราราคาตกต่ำให้คสช. เข้าดูแล โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบในปี 2557 ซึ่งรัฐบาลอุดหนุนไว้ 2,520 บาท/ไร่ ไม่เกิน 25 ไร่ รัฐยังจ่ายไม่หมด คงค้างอีก 6,000 ล้านบาท ควรเร่งร่าง พรบ. การยางแห่งประเทศไทย




นายสังเวิน ทวดห้อย ประธานเครือข่ายยางพาราแห่งประเทศไทย เสนอว่าควรนำเงิน 5,000 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มาจัดสรรให้สร้างโรงงานยางแท่ง 15 เขต ทั่วประเทศ และควรสนับสนุนเงินทุน หมุนเวียนอีก 300 ล้านบาท โรงงานยางแท่ง 3 แห่ง ของ องค์การสวนยาง (อสย.) ควรมอบให้เครือข่ายสถาบันเกษตรกรเข้า ดำเนินการเอง และกำหนดทีโออาร์ให้หน่วยงานรัฐใช้ยางภายในผสมทำถนนลาดยางทั้งประเทศผสม 5%


นางวราภรณ์ ขจรไชยกุล ผู้อำนวยการ วิจัยแห่งชาติยางพารา (สกว.) เสนอให้หาแนวทางใช้ยางในประเทศเพิ่มจากเดิม 14% เป็น 30% และยางในสต็อก 2.1 แสนตัน ให้นำไปทำยางปูพื้นคอกปศุสัตว์ ฝ่ายยาง บล็อกปูพื้น โดยให้หน่วยงานของรัฐนำร่อง




นายธนิต โสรัตน์ รองประธานเศรษฐกิจ มหภาค การเงินการคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอแนวทางการรักษาเสถียรภาพราคายาง อย่างยั่งยืน จะต้องมี การผลักดันคลัสเตอร์ยาง เชื่อมโยงกับเกษตรกร ในการแปรรูปยางแผ่น และผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมยาง ทั้งนี้จะต้องนำการส่งเสริม การลงทุน BOI เข้ามาสนับสนุนแปรรูป กระทรวงการคลังลดหย่อนภาษี จัดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แปรรูปยางให้เป็นระบบ




นายสุวิทย์ รัตนพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบัน วิจัยยางกรมวิชาการเกษตร ได้เสนอ การ นำยาง 2.1 แสนตัน มาทำถนนลาดยาง กรวยจราจร สนามฟุตซอล สนามเด็กเล่น ฯลฯ เพื่อใช้ในประเทศและไม่ให้กระทบต่อราคายางของเกษตรกร




นายสุพจน์ อาวาส ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ธนาคารออมสิน (ฝ่ายสินเชื่อ) ได้นำเสนอ เรื่องโครงการเงินกู้ SME ซึ่งเป็นนโยบายของธนาคารอยู่แล้ว โดยเฉพาะนายกสมาคม ถุงมือยาง จะนำไปปรับปรุงโรงงานตามโครงการ 15,000 ล้านบาท




พล.อ. ยอดยุทธ กล่าวในที่ประชุม ว่า คสช.จะแก้ปัญหาราคายางอย่างเป็นระบบให้ถูกทิศทาง ซึ่งยอมรับว่า ราคายางตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิต จึงจะถือโอกาสในครั้งนี้ ที่จะบูรณาการทั้งระบบ และ ควรที่จะแก้ไขปัญหาระยะยาวและ ยั่งยืน หลีกเลี่ยงประชานิยม โดยต้องการให้ราคายางเดินไปตามกลไกตลาดโลก และเกษตรกรต้องพึ่งพาตนเอง สามารถ นำเงิน CESS มาแก้ไขปัญหาได้และ จะส่งเสริมไปในด้านการผลิต ด้าน อุตสาหกรรม รวมทั้งด้านตลาดอย่างเป็นรูปธรรม




"เห็นด้วยที่จะนำยางพารามาใช้ทำถนน โดยต้องกำหนดไว้ในทีโออาร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่าส่วนตน เช่นเดียวกับการแปรรูปอย่างอื่นๆ เช่น สนามฟุตซอล สนามเด็กเล่น ลู่วิ่งในสนามกีฬา แผ่นยางคอกปศุสัตว์ เขื่อนยาง กรวยจราจร แบริเออร์ บังเกอร์ ควรใช้ยางในสต็อก 210,000 ตันมาใช้แทนการระบายออกสู่ตลาด"




เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิ