ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557  (อ่าน 1102 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83305
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  4  มิถุนายน  พ.ศ. 2557
 
[/size]ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
[/size]1.   สภาพภูมิอากาศ
 
[/size]- จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้ทั่วประเทศมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ สตูล และตรัง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
[/size]2.   การใช้ยาง
 
[/size]- ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้ามีมติอนุมัติให้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS 3) ขนาด 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) หรือ Mini Size Contract โดยค่อย ๆ ทดแทนจากขนาดสัญญาเดิมที่มีหน่วยการซื้อขาย 5 ตัน (5,000 กิโลกรัม) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สามารถเข้ามาใช้กลไกตลาดล่วงหน้า ในการบริหารความเสี่ยงได้สะดวกยิ่งขึ้น และยังช่วยผลักดันให้ AFET มีปริมาณการซื้อขายและสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
[/size]3. เศรษฐกิจโลก
 
[/size]- ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 8.0 พร้อมปรับลดสัดส่วนสภาพคล่องตามกฎของธนาคารกลาง (SLR) ลงร้อยละ 0.5- นักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 5 มิถุนายน 2557 และหากเป็นไปตามคาดการณ์ การปรับลดที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าวจะถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสู่แดนลบ เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรปจะพิจารณาใช้มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อช่วยหนุนเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญกับเงินเฟ้อที่อยู่ระดับต่ำ ค่าเงินที่แข็งมากเกินไป รวมทั้งการขยายตัวที่ชะลอตัว- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นแตะ 49.4 จุด จาก 48.1 จุดในเดือนเมษายน ซึ่งดัชนีที่ต่ำกว่า 50 จุดส่งสัญญาณว่าภาคการผลิตของจีนอยู่ในภาวะหดตัว- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อลดลงแตะร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 0.7 ในเดือนเมษายน ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 0.6 โดยภาวะเงินเฟ้อที่ขยายตัวช้ากว่าคาดการณ์เริ่มสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลาง ยุโรป (ECB) เร่งงัดมาตรการออกมากระตุ้นการขยายตังของภาคผู้บริโภค - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าที่ผลิตในโรงงานเดือนเมษายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือนมีนาคม
[/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
[/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.67 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 102.61 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.25 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
[/size]5.   ราคาน้ำมัน
 
[/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 102.66 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.19 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง
 
[/size]6.   การเก็งกำไร
 
[/size]- ราคา ตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 185.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 194.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.4 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 199.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
[/size]7. ข่าว
 
[/size]- สำนัก งานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า อัตราว่างงานในยูโรโซนเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 11.7 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.8 ในเดือนมีนาคม สำหรับในกลุ่มสหภาพยุโรปทั้ง 28 ประเทศ อัตราว่างงานเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 10.4 ลดลงจากร้อยละ 10.5 ในเดือนมีนาคม - เว็บไซต์ www.enorth.com.cn ซึ่งเป็นสื่อท้องถิ่นของเมืองเทียนจินรายงานว่า จีนมีแนวโน้มกลายเป็นตลาดหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนด้านแรงงาน และประเด็นสังคมผู้สูงอายุด โดยงานประชุมสุดยอดด้านหุ่นยนต์ที่ผ่านมา ตลาดหุ่นยนต์ของจีนมีการขยายตัวรายปีกว่าร้อยละ 40 ครองอันดับ 1 ของโลก คาดว่าความต้องการหุ่นยนต์ในตลาดจีนจะมีจำนวนทั้งสิ้น 35,000 ตัว ในปี 2558
[/size]8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
[/size]- ราคายางในระยะนี้ค่อนข้างดูยาก เพราะขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่ามีความต้องการ
 มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวรายงานว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงต้องการผลักดันให้ราคายางปรับ ตัวสูงขึ้น เพราะราคาในระดับนี้ยังไม่มีใครอยากขาย ต้องการเก็บไว้มากกว่า

 
   [/size]แนวโน้ม ราคา ยางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้า โตเกียว เพราะได้รับแรงสนับสนุนจากเงินเยนอ่อนค่า ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสดใส ขณะที่ภาคใต้ของไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น ไม่เอื้อต่อการกรีดยาง อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่ส่งสัญญาณ ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้นักลงทุนไม่มั่นใจในอุปสงค์ยางของจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางอันดับหนึ่ง ของโลก
                                  คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง  สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 04, 2014, 12:38:38 PM โดย Rakayang.Com »