ผู้เขียน หัวข้อ: ไทย เฮ รับอานิสงส์ ได้แชร์ตลาดน้ำมันปาล์มใน EU หลังมีกระแสต่อต้านสินค้าน้ำมันฯ จากอินโด-มาเลย์  (อ่าน 760 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85596
    • ดูรายละเอียด

ไทย เฮ รับอานิสงส์ ได้แชร์ตลาดน้ำมันปาล์มใน EU หลังมีกระแสต่อต้านสินค้าน้ำมันฯ จากอินโด-มาเลย์ 


สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -17 เม.ย. 57 16:43 น.


               พาณิชย์ เผย ยุโรปให้ความสนใจนำเข้าน้ำมันปาล์มจากไทย จากกระแสต่อต้านสินค้าน้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยได้โอกาสช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในตลาดยุโรปมากขึ้น               นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สหภาพยุโรป หรือ EU กำลังสนใจนำเข้าน้ำมันปาล์มจากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีภาพลักษณ์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี อีกทั้งพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันของไทยมีความเป็นสัดส่วน มีการปลูกโดยคำนึงถึงระบบนิเวศ และไทยยังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มตามมาตรฐาน RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) ขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) เพื่อการพัฒนาแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศไทย โดยวางระบบรับรองคุณภาพสำหรับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย และออกใบรับรองให้สามารถส่งออกสินค้าไปยังเยอรมนีได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีของไทยในการเจาะตลาดน้ำมันปาล์มใน EU ซึ่งยังต้องการน้ำมันปาล์มจำนวนมากเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม               อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มหลายประเทศเริ่มตื่นตัวอย่างมากในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของการผลิตน้ำมันปาล์ม โดยกลุ่มผู้นำเข้าสำคัญ 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และเดนมาร์ก ได้ประกาศ National Commitment ว่า ภายในปี 2558 จะนำเข้าเฉพาะน้ำมันปาล์มที่มีการผลิตอย่างยั่งยืนเท่านั้น                  " ล่าสุดเยอรมนีได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการรับรองแหล่งที่มาของการผลิตน้ำมันปาล์มที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยมาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นสองประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฎหมายดังกล่าว ทำให้เป็นโอกาสดีกับผู้ส่งออกไทยในการเร่งหาช่องทางตลาดในยุโรปเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในสินค้าน้ำมันปาล์มซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไปด้วย" นายสุรศักดิ์ กล่าว                   ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่งออกที่สนใจสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองบริหารสินค้าข้อตกลงและมาตรการการค้า ชั้น 13 กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 02-574-4734 หรือผ่านทาง เวบไซต์ www.dft.go.th 
 
 
เรียบเรียง โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน                  อีเมล์. pimrapas@efinancethai.com