ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 20, 2013, 04:50:33 PM »

            สถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าในรอบ 3 ปีวันนี้ มาจากเฟตลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลด และค่อยทยอยๆลดมาตรฐานQEลงไปเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งที่กดให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาจากปัจจัยด้านการเมือง อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าดังกล่าวยังถือว่าสอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ใน???ูมิ???าคที่มีทิศทางอ่อนค่าเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์
           " เราอาจจะอ่อนค่อนข้างมากนิดหนึ่ง  เพราะของเราอาจจะมีปัจจัยเรื่องของการเมืองเข้ามาเพิ่มเติม แต่โดยรวมสอดคล้อง???ูมิ???าค"นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษก ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าว
            วันนี้ TOCOM และ จีน แกว่งบวกลบหนัก สามารถขึ้นไปทดสอบ 284.5 เยน และเทขายต่ำสุด 278.0 เยน ช่วงบ่ายเหตุที่ทำให้ TOCOM หลุด 280 เยนลงได้มาเนื่องจาก สต็อกยางจีนรายสัปดาห์ ณ 20ธ.ค. เพิ่มขึ้น1387ตัน(0.84%)อยู่ที่167141ตัน สต๊อคยางจีนยังกดดัน และจีนทำสถิติลบติดต่อกัน 6 วันแต่ในวันนี้ไม่ได้ทำ low ใหม่เป้นไปได้ว่า สัปดาห์หน้าโอกาสที่จีนจะรีบาวส์อาจเป็นไปได้สูงแต่เนื่องจาก สัปดาห์หน้าใกล้หยุดยาว นลท.ต่างชาติจะทยอยล้างสถานะหุ้น(Clearing the share status) ออกเพื่อถือเงินสดไว้ลงทุนต่อปีหน้า คาดว่าราคาอาจรีบาวบวกทรงหลังพักฐานเสร็จ แต่ไร้วอลุ่ม
            ส่วนยางจริงคาดว่ายังมีโอกาสได้เห็น 77 รมก่อนสิ้นปี (เทียบจากราคาวงศ์บัณฑิต)
             
ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2013, 02:50:10 PM »

สรุป การกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ประชุมนโยบายการเงินและกำหนดอัตราดอกเบี้ย ณ.วันที่ 17-18 /ธ.ค/56
      เฟดประเดิมหั่น QE 1 หมื่นล้านดอลล์ พร้อมส่งสัญญาณทยอยลดวงเงินต่อไป คณะกรรมการกาหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลงมติในการประชุมวานนี้ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 1 เสียงเห็นพ้องให้ปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้าประกันจากสัญญาจานอง (MBS) ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยปรับลดลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน จากเดิมที่ระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เฟดระบุว่า เฟดได้ปรับลดอัตราการซื้อตราสารหนี้ลงเล็กน้อย เนื่องจากส???าวะตลาดแรงงานมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เฟดยังแถลงว่า จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นใกล้ระดับ 0% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง แม้อัตราการว่างงานจะอยู่ต่ากว่าระดับ 6.5% ขณะเดียวกัน เฟดได้ส่งสัญญาณการปรับลดมาตรการ QE ต่อไป โดยระบุว่า ทางคณะกรรมการมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราการซื้อตราสารหนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไปในการประชุมครั้งต่อๆไป ถ้าหากตัวเลขเศรษฐกิจยังคงปรับตัวดีขึ้น



        ประกาศดังกล่าวส่งผลให้เยนอ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เหตุธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟดลดวงเงินมาตรการ QE วานนี้ หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ประกอบกับคาดว่าการทยอยยกเลิกมาตรการ QE ของเฟตจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ เช้านี้โตคอมเปิดมายืนในแดนบวก แต่อาจจะผิดหวังเล็กน้อยสำหรับ นลท.หลายท่านคิดว่าเยนอ่อนค่ามาแตะระดับ 104 เยนได้ สหรัฐบวก 292 กว่าจุด อาจจะได้เห็นโตคอมมีบวกจากราคา settleวานนี้ปิดที่ 280.1 เยนมาอยู่ที่ 285.1 เยน +5 เยนขึ้นไปแต่ก็น่าผิดหวังที่โตคอมสามารถไปได้เต็มที 283.4 เยน +3.3 เยน เท่านั้นแล้วมีย่อตัวลงมา ทำจุดต่ำสุดในวันที่ 279.0 เยนเกิดจากเยนกลับมาแข็งค่าในระหว่างวัน บวกกับเมื่อวานตลาดยางจีนหลุดรับสำคัญที่ 19400 หยวนลงมาในสัญญาณทางด้านเทคนิคคือหลุดรับอาจจะเห็น low ใหม่จุดรับต่อไปจีน 18820 หยวนรับเดิมเมื่อวันที่ 26 พ.ย 2556 ให้นลท.จับตาจุดนี้อาจเป็น"จุดกลับตัว"ของจีนอีกครั้ง
      ส่วน TOCOM จุดรับที่สำคัญที่แข็งแกร่ง 280 เยน คือหลุดแล้วสามารถกลับมายืน 280 เยนทุกครั้ง ตราบใดที่ tocom ไม่สามารถลงมาทดสอบ 277-275 ได้เชื่อว่าคงจะไม่เห็น hi ใหม่ของโตคอม
แนวโน้มครึ่งหลังของสัปดาห์คงต้องลุ้นระหว่าง EMA ระยะสั้นทั้ง 2 เส้น หากราคาทะลุผ่านไปทางไหนน่าจะไปถึงแนวรับหรือแนวต้านถัดไปเป็นอย่างน้อย แนวรับ 275 แนวต้าน 285


(ปล.บทความที่เขียนมีจุดประสงค์ที่จะสื่อสารให้ นลท.หลายกลุ่มเข้าใจได้ง่ายจะไม่เน้นศัพท์เทคนิคมาก เขียนตามความเข้าใจและคิดว่าผู้อ่านคงเข้าใจ)
ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2013, 03:38:21 PM »

 การประชุมFed ผ่านไปวันแรกยังไม่มีสัญญาณใดๆที่ชัดเจนออกมามีแต่ความกังวลของนักลงทุนที่สะท้อนผ่านตลาดเงินและตลาดทุนทำให้มีความเคลื่อนไหวที่ผันผวน หลังจากการประชุม Fed จบแล้ว ต้องจับตาท่าทีของสหรัฐ ในช่วงต้นปีหน้าเพราะ 15 ม.ค.จะครบกำหนดการเปิดหน่วยงานรัฐชั่วคราวหลังจากที่ Government Shutdown ไปและ7 ก.พ. สิ้นสุดการขยายเพดานหนี้ ต้องติดตามการประชุมFedในเดือนม.ค.และท่าทีของประธานFed คนใหม่ นาง เจเนต เยลเลน ว่าจะมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร
อ้างอิง ข้อมูลจาก DS Futures
ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2013, 02:24:22 PM »

หลังจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา TOCOM ได้ทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือนมาอยู่ที่ 287.9 เยน ขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของโตช่วงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 จุดต่ำสุดอยู่ที่ 253.5 เยน 34.4 เยน ปรับตัวขึ้นมาโดยตลอด ซึ่ง ณ ตอนนี้ เส้นRSI ถึงสุด overbought จึงมีโอกาสย่อตัวลงมาได้แต่ในช่วงสั้นๆซึ่งมองว่า อาจจะได้เห็นการย่อตัวครึ่งทาง ระหว่างจุดสูงสุดกับจุดต่ำสุด จะอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 270.7 เยนอีกครั้งซึ่งถ้าดู ณ.ตอนนี้ความเป็นไปได้สูงเพราะ Tocom หลุดรับ 282 เยนลงมา รับต่อไปจะอยู่ที่ 275 เยน และ 270.7 ตามลำดับหากแต่ละจุดรับไม่อยู่แต่รอบนี้เป็นจังหวะที่แนะนำให้นักลงทุนเข้าซื้อถ้า TOCOM หลุดมาอยู่ระดับนี้ซึ่งเป็นจุดที่ TOCOM จะพักฐานเสร็จและจะกลับมาทะยานทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งและปัจจัยอีกอย่างคือ ตลาดยางจีนซึ่ง ณ ปัจจุบันปิดตลาดอยู่ที่ 19425 -425 หยวน หลุดรับสำคัญที่ 19430 หยวนลงมา สังเกตว่าจีนจะเปิดสูงและปิดต่ำมาตลอดในสัปดาห์นี้ จีนทำจุดสูงสุดในสัปดาห์นี้ที่ 20050 หยวนซึ่งไม่สามารถยืนได้อย่างมั่นคง
สรุป  มองTOCOM  ณ.เวลานี้มีโอกาสลงไปทดสอบ 275...270.7 ตามลำดับแนะรอจังหวะซื้อเมื่อตัวเลขดังกล่าวไม่หลุด
 
 
ปล.ความคิดเห็นส่วนตัว
ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2013, 01:41:52 PM »

จับตา ?ยางพาราอินโดนีเซีย: ความท้าทายต่อยางไทยในอนาคต?


 กฤษณี พิสิฐศุ???กุล ธันวาคม 2556   ตั้งแต่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกฟ้นตัวจากวิกฤตการเงินโลกปี 2552 ตลาดยางกลับมาสู่ในช่วงขาขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากฐานะทางการเงินและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีของประเทศในแถบเอเชีย ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัว จีนและอินเดียมีการนำเข้ายางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงปี 2553 ราคายางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จนสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อไตรมาส 1 ปี 2554 โดยราคายางในตลาดโลกเพิ่มสูงถึง 5.75 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม ตลาดยางโลกที่ฟ้นตัวทำให้หลายประเทศผู้ผลิตเร่งผลิตยางธรรมชาติและส่งออก เพื่อรองรับความต้องการบริโ???คยางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอินโดนีเซียเร่งพัฒนาการปลูกและส่งออกยาง ???ายใต้แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหรือ Master Plan for Acceleration and Expansion of Indonesia Economic Development 2011-2025 โดยวางเป้าหมายพัฒนาและยกระดับ???าคการเกษตรที่สำคัญ ซึ่งแผนนี้วางเป้าหมายให้เกาะสุมาตราเป็นแกนหลักในการผลิตและเป็นศูนย์กลาง อุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป เนื่องจากเป็นแหล่งปลูกยางธรรมชาติแห่งใหญ่ของประเทศ
ปัจจุบัน อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย ในปี 2555 มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 3.46 ล้านเฮกตาร์1 ให้ผลผลิต 3.07 ล้านตัน พื้นที่ที่ปลูกมากอันดับ 1 คือ เกาะสุมาตรา รองลงมา คือ กาลิมันตัน และจัมบี้ ผลผลิตยางธรรมชาติส่วนใหญ่ได้มาจากเกษตรกรรายย่อย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ที่เหลือเป็นของผู้ประกอบการรายใหญ่และพื้นที่ของรัฐคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 และ 7 ตามลำดับ โดยผลผลิตประมาณร้อยละ 90 จะถูกนำไปแปรรูปเป็นยางแท่งเพื่อส่งออกไปยังตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย (Smallholders) การปลูกจึงมีลักษณะแบบสวนป่า กล้ายางที่ใช้ยังเป็นพันธุ์เก่า ทำให้มีผลิต???าพการผลิต (productivity) ค่อนข้างต่ำ จากข้อมูลของสมาคมยางพาราอินโดนีเซีย (GAPKINDO) อินโดนีเซียมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 880-1,000 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ในขณะที่ไทยและมาเลเซียมีผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 1,500 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ เนื่องจากขาดการลงทุนปลูกทดแทนต้นยางเก่าที่เสื่อมส???าพซึ่งให้น้ำยางน้อยและ ขาดการพัฒนาสายพันธุ์ ทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติที่ได้จึงมีน้อยและคุณ???าพต่ำ เกษตรกรต้องยอมขายผลผลิตในราคาที่ต่ำตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินโดนีเซียได้ตระหนักถึงจุดอ่อนของยางพาราที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี ตั้งแต่ปี 2550 กระทรวงเกษตรได้มีโครงการให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้จำนวน 40 ล้านรูเปียะต่อเฮกตาร์แก่เกษตรรายย่อยเพื่อใช้ในการปลูกยางใหม่ โดยตั้งเป้าหมายขยายพื้นที่เพาะปลูกให้ถึง 1.3 ล้านเฮกตาร์???ายในปี 2553 และต่อมา???าครัฐได้ขยายโครงการออกไปจนถึงปี 2557 โดยหวังจะให้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นอีก 4 แสนเฮกตาร์ รวมทั้งยังส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการเพาะปลูกและเทคโนโลยีการกรีดเพื่อ เพิ่มน้ำยางแก่เกษตรกร ซึ่งล่าสุดปี 2555 รัฐบาลวางแผนใช้งบประมาณ 5 ล้านล้านรูเปียะ หรือประมาณ 530 ล้านดอลลาร์สรอ. ในการพัฒนาพื้นที่ปลูกยางของรัฐ โดยลงทุนปลูกยางใหม่เพื่อหวังจะเพิ่ม productivity ให้ได้ถึง 1,300 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์???ายในปี 2557
นอกจากการดูแลอย่างต่อเนื่องของ???าครัฐ อินโดนีเซียยังมีข้อได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตยาง กล่าวคือ ไม่มีการเก็บเงินสงเคราะห์หรือค่า CESS เหมือนอย่างไทยและมาเลเซีย ต้นทุนการส่งออกจึงถูกกว่า ทำให้สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ ประกอบกับอินโดนีเซียมีประชากรและกำลังแรงงานจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ขาดทักษะ ค่าจ้างในการกรีดยางและค่าจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมยางแปรรูปยังอยู่ในระดับ ต่ำและถูกกว่าเมื่อเทียบกับแรงงานไทย จึงทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติจากอินโดนีเซียสามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่าคู่ แข่งรายอื่นในตลาดโลกได้ไม่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง???ายใต้ส???าวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟ้นตัว ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยางล้อหลายบริษัทให้ความสำคัญกับต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกลง ???ายใต้การรักษาคุณ???าพของผลิต???ัณฑ์ยางขั้นสุดท้าย (End products) เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยจะทำการซื้อยางจากโรงงานที่ผ่านมาตรฐานกระบวนการผลิตและคุณ???าพสินค้าตาม ที่กำหนด ซึ่งโรงงานแปรรูปยางในอินโดนีเซียหลายแห่งมีศักย???าพและสามารถผ่านเกณฑ์ มาตรฐานการตรวจสอบเหล่านี้ได้ ดังนั้นแนวโน้มการนำเข้ายางจากประเทศผู้ผลิตอย่างไทยหรืออินโดนีเซีย ราคาเปรียบเทียบ (Relative price) จึงเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญ
ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า อินโดนีเซียจัดเป็นคู่แข่งทางด้านการผลิตที่น่าจับตามองของไทย เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านแรงงาน การมีพื้นที่มาก ทำให้มีโอกาสขยายพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับต่ำ จึงสามารถขายผลผลิตในตลาดโลกได้ในราคาที่ถูกกว่า เหล่านี้จึงเป็นสาเหตุทำให้ไทยถูกแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไป นอกจากนี้การเร่งพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิ???าพการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ (Yield) ซึ่งได้รับจากการสนับสนุนจาก???าครัฐอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้อินโดนีเซียแซงหน้ากลายเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็น อันดับหนึ่งของโลกได้ จึงนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของประเทศไทย
 

   บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
   ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักข่าวอิน?โฟ?เควสท์ (IQ)
ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2013, 10:27:24 AM »

Last Trading Day and Delivery Day(ตารางเปลี่ยนเดือนและส่งมอบ) Tocom
2014RubberPrecious Metals
Last Trading DayDelivery DayLast Trading DayDelivery DayLast Trading Day for Gold Options [contract month]
January27 (Mon)31 (Fri)--31 (Fri) [FEB]
February24 (Mon)28 (Fri)25 (Tue)28 (Fri)-
March25 (Tue)31 (Mon)--31 (Mon) [APR]
April23 (Wed)30 (Wed)24 (Thu)30 (Wed)-
May26 (Mon)30 (Fri)--30 (Fri) [JUN]
June24 (Tue)30 (Mon)25 (Wed)30 (Mon)-
July25 (Fri)31 (Thu)--31 (Thu) [AUG]
August25 (Mon)29 (Fri)26 (Tue)29 (Fri)-
September24 (Wed)30 (Tue)--30 (Tue) [OCT]
October27 (Mon)31 (Fri)28 (Tue)31 (Fri)-
November21 (Fri)28 (Fri)--28 (Fri) [DEC]
December19 (Fri)26 (Fri)22 (Mon)26 (Fri) -
 
17-18 ธ.ค. 56 สหรัฐ : คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ประชุมนโยบายการเงินและกำหนดอัตราดอกเบี้ย
สหรัฐ : ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เผยคาดการณ์เศรษฐกิจ (เช้าวันที่ 19 ธ.ค.)สหรัฐ : คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) (เช้าวันที่ 19 ธ.ค.) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย และเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด แถลงข่าว
ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 16, 2013, 02:02:35 PM »

ตารางเปลี่ยนเดือน TOCOM ปี 2013
 1. Last Trading Day and Delivery Day 
2013RubberPrecious Metals
Last Trading DayDelivery DayLast Trading DayDelivery DayLast Trading Day for Gold Options
[contract month]
January25 (Fri)31 (Thu)--31 (Thu)
[FEB]
February22 (Fri)28 (Thu)25 (Mon)28 (Thu)-
March25 (Mon)29 (Fri)--29 (Fri)
[APR]
April23 (Tue)30 (Tue)24 (Wed)30 (Tue)-
May27 (Mon)31 (Fri)--31 (Fri)
[JUN]
June24 (Mon)28 (Fri)25 (Tue)28 (Fri)-
July25 (Thu)31 (Wed)--31 (Wed)
[AUG]
August26 (Mon)30 (Fri)27 (Tue)30 (Fri)-
September24 (Tue)30 (Mon)--30 (Mon)
[OCT]
October25 (Fri)31 (Thu)28 (Mon)31 (Thu)-
November25 (Mon)29 (Fri)--29 (Fri)
[DEC]
December20 (Fri)27 (Fri)24 (Tue)27 (Fri) -
 
               
สรุป โตคอมเดือนส่งมอบ Dec2013 สิ้นสุดวันสุดท้ายในวันที่ 20 ธันวาคม และเริ่มเทรดเดือนใหม่ June 2014 ในวันที่ 24 ธันวาคม เนื่องจากวันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2556 ตลาดโตคอมปิดวัน The Emperor's Birthday
ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 16, 2013, 10:08:29 AM »

   คาดการณ์แนวโน้มราคายางประจำสัปดาห์ที่ 16-21 ธันวามคม 2556
         Tocom กรอบแนวรับ 282.7แนวต้าน 287.4เช้านี้ทะยานไปทำhi 287.9 +4.2เยน ก่อนที่จะมีแรงขายออกมาสั้นๆ ทั้งนี้นลท.ส่วนใหญ๋รอประกาศตัวเลขจีน - HSBC เผยดัชนี PMI ???าคการผลิตเบื้องต้นจีนเดือนธ.ค.ลดลงแตะ 50.5 แต่ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรม???าคการผลิตของจีนมีการขยายตัวจากเดือนก่อน แต่บวกกับเจอแรงกดดันจากสต๊อคยางจีนเมื่อสัปดาห์ก่อน ณ วันที่ 13 ธ.ค มีปริมาณเพิ่มขึ้น 3,858 ตันอยู่ที่ระดับ 165,754 ตันอาจจะเป็นแรงกดดันที่ทำให้ยาง Tocom ยังวิ่งอยู่ในกรอบ แต่เส้นRSI เริ่มเข้าเขต Overbought ระยะสั้นอาจมีพักฐานอีกรอบ ระยะยาวมองเป็นทิศทางขาขึ้นอยู่ กลยุทธ์สัปดาห์นี้ ถ้าTocomวิ่งไป 287.4 และสามารถยืนได้จุดต้านสำคัญต่อไปคือ 290.3 ซึ่งได้ทำไว้เมื่อวันที่ 9 ก.ย 2556 แต่ในทางกลับกันถ้าTocom ไม่สามารถผ่านต้าน 287.4ได้แนะนำให้เปิดสถานะขายเล่นสั้นแนะให้เล่นตามกรอบจะช่วยลดความเสี่ยง
 
       AFET ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าจะอ่อนไหวกับข่าวทั้งในและนอกประเทศมากซึ่ง ณ.เวลากระแสการเมืองในประเทศก็มีผลทำให้นลท.ไม่กล้าที่จะเข้าตลาด และเกาะติดคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟด มีกำหนดประชุมในวันอังคารและพุธนี้ ซึ่งตลาดกำลังรอดูว่าเฟดจะเริ่มปรับลดการซื้อสินทรัพย์รายเดือนลงเมื่อใด ปัจจัยพวกนี้ทำให้ตลาด afet ในสัปดาห์นี้คงจะไม่ค่อยคึกคักเท่าที่ควร ก็ยังมองในกรอบเดิมที่ 84.5-88.5
 
      ส่วนราคายางจริง มองว่ายังสดใสอยู่เพราะช่วงนี้ รง.หลายแห่งต้องเริ่มซื้อยางเพื่อผลิตและส่งมอบในเดือน ม.ค-ก.พ ราคายางแผ่นอาจได้เห็น 80 รม แต่ราคาเศษยางจะทรงๆเคลื่อนไหวไม่มากเพราะเนื่องจากช่วงนี้ ผลผลิตที่ออกมาในช่วงหน้าหนาวความเข้มข้นของเนื้อน้ำยางจะน้อยลง ส่งผลให้เศษยางขาดน้ำมากและทำให้โรงงานกด% ในช่วงนี้