ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2023, 04:43:06 PM »


สวนยางร้องศาลปกครองปลูกยางต่ำกว่า 80 ต้นต่อไร่ โดนเก็บภาษีเพิ่ม 8 เท่า

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 - 07:29 น. ประชาชาติธุรกิจ

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

ยางพารา
ชาวสวนยางอ่วม ประกาศกระทรวงการคลัง-มหาดไทย เรียกเก็บภาษีเพิ่ม 8 เท่า กรณีปลูกยางต่ำกว่า 80 ต้น/ไร่ จากอัตรา 0.15%  เพิ่มเป็น 1.2% ในรอบปีภาษี 2567 สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และสมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราไทย ร้องศาลปกครอง เหตุออกกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำเกษตรกรเดือดร้อน เสียหาย

ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผย ?ประชาชาติธุรกิจ? ว่า ขณะนี้สวนยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จำนวน 22 ล้านไร่ กำลังได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2) ซึ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 ให้เกษตรกรที่มีการปลูกยางพาราไว้ 80 ต้นต่อไร่  เสียภาษีในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.15 ของฐานภาษี และสวนยางที่ปลูกต่ำกว่า 80 ต้นต่อไร่ ต้องเสียภาษีอัตราไม่เกินร้อยละ 1.2 ของฐานภาษี

ประกาศดังกล่าวขัดแย้งกับพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 4 จำกัดความคำว่า ?สวนยาง? เฉลี่ยอยู่ที่ 25 ต้นต่อไร่

?ปัจจุบันสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จำนวน 22 ล้านไร่ ต้องจ่ายภาษีเข้ากองทุนสงเคราะห์การทําสวนยางหรือเงินเซส (cess) 2 บาท/กก. จากยางทั้งหมดจำนวน 4 ล้านตัน/ปี เป็นเงินประมาณ 8,000 ล้านบาทอยู่แล้ว เมื่อประกาศฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ จะทำให้ชาวสวนยางต้องเสียภาษีบวกขึ้นไปถึง 8 เท่า ถ้าเสียภาษี 100 บาท ปรับเป็น1,500 บาท ในปีภาษี 2567 จะได้เห็นชาวสวนยางทั่วประเทศเกิดการประท้วงเกิดขึ้น? ดร.อุทัยกล่าว

ดร.อุทัยกล่าวต่อไปว่า ปกติสวนยางพาราในประเทศไทยไม่มีการปลูกถึง 80 ต้น/ไร่ เพราะตามธรรมชาติของพืชเกษตรปีแรกถึงปลูก 80 ไร่ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากภัยธรรมชาติ สภาพดินฟ้าอากาศ แม้จะมีการปลูกซ่อมก็ตาม

ดังนั้น สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และสมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราไทย ได้ยื่นศาลปกครอง จ.ระยอง ฟ้องการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว เนื่องจากทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนเสียหาย

ไม่ถึง 80 ต้น/ไร่เสียภาษี 1.2%
โดยเนื้อหาของประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งในบัญชีแนบท้ายประกาศ กำหนดชนิดพืช ?ยางพารา? มีอัตราขั้นต่ำของการประกอบการเกษตรต่อไร่ไว้ 80 ต้นต่อไร่ ถึงจะเสียภาษีในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.15 ของฐานภาษี (อัตราต่ำสุด)

กรณีเกษตรกรปลูกยางต่ำกว่าไร่ละ 80 ต้น ก็ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าคือ อัตราไม่เกินร้อยละ 1.2 ของฐานภาษี

กยท.นิยาม 25 ต้น/ไร่
ซึ่งตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้กำหนดคำจำกัดความคำว่า ?สวนยาง? โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25 ต้นต่อไร่ แต่ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย กำหนดไว้ 80 ต้นต่อไร่ ถึงจะเสียภาษีไม่เกินร้อยละ 0.15 ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เนื่องมาจากการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง เป็นไปตามนัยแห่งพระราชบัญญัติศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

ดร.อุทัยกล่าวต่อไปว่า โดยข้อเท็จจริงการปลูกยางต้องใช้เวลาถึง 6-7 ปี และต้นยางจะเหลือไม่ถึง 80 ต้นต่อไร่ เพราะตามธรรมชาติของพืชเกษตรก็จะมีต้นที่ตาย ที่เหลือคงสภาพเป็นสวนยาง ก็จะไม่ถึง 80 ต้นต่อไร่ คงเหลือต้นยางประมาณ 50 ต้นต่อไร่

ซึ่งใกล้เคียงกับข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 4 ที่กำหนดคำจำกัดความคำว่า ?สวนยาง? โดยเฉลี่ยควรไม่น้อยกว่า 25 ต้น/ไร่ ดังนั้น จึงควรกำหนดจำนวนอัตราต่ำของพืชยางพารา เป็น 25 ต้นต่อไร่ ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางจะเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.15 ของฐานภาษี

ดร.อุทัยกล่าวต่อไปว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามในประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม มีผลบังคับใช้แล้วนั้น เป็นการออกกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง และขัดแย้งกับพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ที่กำหนดนิยามคำว่า หมายความว่า ที่ดินปลูกต้นยางเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 2 ไร่ แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่า 10 ต้น และโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละ 25 ต้น

?การยื่นศาลปกครองแบ่งเป็น 2 คดี ได้แก่ 1.คดีการไต่สวนฉุกเฉินในการปลูกยาง 80 ต้น/ไร่ ขัด พ.ร.บ.กยท.มาตรา 4 ซึ่งกำหนดคำนิยาม 25 ต้น/ไร่ และ 2.คดี กยท.ออกระเบียบขัดสิทธิประโยชน์ของสมาคมตาม พ.ร.บ.กยท.มาตรา 4

เสียภาษีรายได้-จ่ายเงินเซสอ่วม
นายกัมปนาท ชูวงศ์วรรณ เจ้าของสวนยาง ผู้จัดการกลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ สถาบันเกษตรกรแปรรูปยางส่งออกต่างประเทศรายใหญ่ภาคใต้ เปิดเผย ?ประชาชาติธุรกิจ? ว่า ได้รับทราบการประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งปกติไม่มีสวนยางใดปลูก 80 ต้น/ไร่ แต่จะปลูกต่ำกว่า 80 ต้น/ไร่ ดังนั้นต่อไปชาวสวนยางจะเสียภาษีร้อยละ 1.25 ทั่วประเทศ

ซึ่งโดยปกติชาวสวนยางเสียธรรมเนียมเงินเซส 2 บาท/กก. ภาษีรายได้ ภาษีสรรพากร โดยเฉพาะที่ดินสวนยางที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และในเขตเทศบาลจะเสียอยู่ที่ร้อย 2.50 บาท/ไร่อยู่แล้ว