ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2023, 09:29:28 AM »


ยางพาราขยับขึ้น 4-5 บาท/กก.หลังเตรียมคุมเข้มลักลอบนำเข้า

ข่าวทั่วไป Saturday October 7, 2023 14:42 ?สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ยางพาราขยับขึ้น 4-5 บาท/กก.หลังเตรียมคุมเข้มลักลอบนำเข้า
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ภาวะราคายางพาราในปัจจุบันมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 4-5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) หลังมีมาตรการบริหารจัดการอย่างรอบด้าน พร้อมลงมือแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและจริงจังตามนโยบายของ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ประกอบกับผลผลิตยางช่วงนี้ที่มีปริมาณลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยคาดว่าราคายางพาราจะมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางที่ดีต่อไป

ทั้งนี้ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญในแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย ซึ่งรวมถึงยางพาราด้วย โดยเร่งเดินหน้าปราบปรามอย่างจริงจัง ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องได้บูรณาการความร่วมมือจัดตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าด้านพืชผิดกฎหมายขึ้น และได้ประชุมหารือร่วมกำหนดแผน แนวทางการปราบปราม ทั้งการตรวจสต๊อกยางตามแนวชายแดน การเคลื่อนย้าย รวมถึงรวบรวมข้อมูลปริมาณยางคงเหลือ ซึ่งเริ่มปฏิบัติการตามแนวทางที่วางไว้ทันที พร้อมรายงานผลการดำเนินงานให้คณะทำงานรับทราบทุก 15 วัน

โดย กยท.ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการผู้รับใบอนุญาตค้ายาง ร่วมกับพาณิชย์จังหวัดและหน่วยงานปกครอง ตรวจสอบทะเบียนร้านค้า การทำบัญชีผู้รับซื้อยางพารา พร้อมชี้แจงให้ร้านค้าในพื้นที่ทราบเกี่ยวกับโทษในการรับซื้อยางพาราที่ผิดกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงภาษี และกำกับควบคุมสถาบันเกษตรกรฯ ไม่ให้รับซื้อยางที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงตั้งจุดสกัด และร่วมเข้าตรวจสต๊อกยาง

พร้อมกันนี้ได้เตรียมจัดสรรงบประมาณจากกองทุนเพื่อใช้ในการสนับสนุนการดำเนินการควบคุมปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยมอบหมายให้ กยท.จังหวัด และ กยท.สาขา ที่อยู่ในพื้นที่เขตพรมแดน ดำเนินการสำรวจการผลิตยางธรรมชาติของเกษตรกร ทั้งปริมาณ รูปแบบของผลผลิตยางที่ขาย จำแนกเป็นน้ำยางสด ยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ และนำมาประมวลผลเพื่อทำข้อมูลห่วงโซ่อุปทานการผลิตยางธรรมชาติในประเทศ (เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าปริมาณยางที่ขายในตลาดหรือพื้นที่นั้นๆ มียางเถื่อนปนอยู่ด้วยหรือไม่ และตั้งเป้าหมายสำรวจให้ครอบคุมทั่วประเทศ นำข้อมูลมาคำนวณและจัดทำสมดุลยางพาราและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้ราคายางเพิ่มสูงขึ้นได้

โดย ธนวัฏ เสือแย้ม