ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 26, 2023, 10:06:40 AM »จับตาเขย่า"กยท."ล้างบางบอร์ด-เปลี่ยนผู้ว่าฯ" วัดฝีมือ"ธรรมนัส"แก้"ราคายางดิ่ง"ใน 100 วัน
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 15:42 น.เขียนโดยisranewsHITS632 views
ด้วยผลงานของบอร์ด กยท. ชุดปัจจุบัน ที่ไม่มีอะไรโดดเด่น ในขณะที่ราคายางตกกราวรูด โดยราคายางก้อนถ้วยล่าสุดมีราคา "5 โล 100 บาท" และราคายางแผ่นมีราคา "เกือบ 3 โล 100" ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศได้รับเดือดร้อนอย่างหนัก จึงมีข่าวสะพัดใน กยท. ว่า กรรมการฯที่มาจากการแต่งตั้ง 7 คน มีแนวโน้มสูงที่จะถูกเปลี่ยนอีกครั้ง
...................................
ในการแบ่งงาน "3 รัฐมนตรี" กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
"ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" รมว.เกษตรฯ แม่ทัพใหญ่จากพรรคพลังประชารัฐ ได้เข้ามาเป็นผู้กำกับดูแล "การยางแห่งประเทศไทย" หรือ กยท. ด้วยตนเอง พร้อมทั้งประกาศลุยแก้ไข "ปัญหาราคายางตกต่ำ" โดยประเดิมงานแรกด้วยการขีดเส้นตายให้ "ณกรณ์ ตรรกวิรพัท" ผู้ว่าการฯ กยท. แก้ไขปัญหา "ยางเถื่อน" บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์โดยเร็ว
เพียงแค่โจทย์แรก ก็ทำเอา กยท. ปั่นป่วนไม่น้อย
ในขณะที่การบริหารจัดการภายในองค์กร "กยท." กำลังเผชิญศึกหลายด้าน ทั้งการเปลี่ยนขั้วการเมือง การอยู่หรือไปของผู้ว่าการฯ ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการ กยท. ตลอดจนการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งระดับ "ผู้บริหาร" ที่ยืดเยื้อในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาสู่รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ
อีกทั้งยังประเด็นร้อนแรงที่สุดที่ กยท. ต้องจัดการ คือ การแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศกว่า 1.7 ล้านคนเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อของเศรษฐกิจฐานรากอย่างรุนแรง รวมถึงส่งผลต่อรายได้ของ กยท. ด้วย
จึงเป็นภารกิจของ ร.อ.ธรรมนัส ที่จะต้องเข้าสะสางประเด็นร้อนภายใน กยท. หลากหลายเรื่อง
@จับตา"บอร์ด กยท."ไขก๊อก"
"ยางพารา" เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาดูแลเป็นการเฉพาะ ซึ่งก็คือ "การยางแห่งประเทศไทย" หรือ กยท. โดยกำเนิดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนายางพาราแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิต การตลาด การวิจัยและพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฯ
อย่างไรก็ดี ในช่วง 8 ปี นับตั้งแต่การถือกำเนิดของ กยท. นั้น มีการแต่งตั้ง "ผู้ว่าการฯ" มาแล้ว 7 คน ท่ามกลางข้อครหาว่า องค์กรแห่งนี้ มี "การเมือง" เข้ามาแทรกตลอดเวลา เช่นเดียวกัน ในการแต่งตั้ง คณะกรรมการ (บอร์ด) กยท. นั้น ปรากฏว่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีสับเปลี่ยนหมุนเวียนคนที่จะมานั่งเป็น ?บอร์ด กยท.? ค่อนข้างบ่อย
ทั้งนี้ บอร์ด กยท. ชุดปัจจุบัน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2566 ซึ่งเป็นการประชุม ครม. นัดสุดท้ายของ ครม.ประยุทธ์ มีรายชื่อดังนี้
ประธานกรรมการฯ ซึ่งก็คือ กวีฉัฏฐ ศีลปพิพัฒน์ ประธานกรรมการฯ ซึ่งเคยเป็นรองผู้ว่าการด้านธุรกิจในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนผงาดขึ้นมารั้งตำแหน่งประธานบอร์ดฯ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า กวีฉัฏฐ แทบจะไม่มีผลงานอะไรที่โดดเด่น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาราคายางพาราที่ ?ตกต่ำอย่างหนัก? มาตั้งแต่ฤดูปิดกรีดต้นปีจนถึงปัจจุบัน
ส่วนกรรมการฯ ได้แก่ ประยูร อินสกุล ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ,วันชัย พนมชัย ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ,วิโรจน์ นรารักษ์ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,วรชยา ลัทธยาพร ผู้แทนกระทรวงการคลัง ,อุดม ศรีสมทรง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์
ปวิช พรหมทอง ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง ,เผ่าภัค ศิริสุข ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา , อรอนงค์ อารินวงค์ ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง ,พิเชษฐ ยอดใชย ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ,ศิริพันธุ์ ตรีไตรรัตนกูล ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
วีรวัฒน์ ยมจินดา ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยางซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการค้า ,สำเริง แสงภู่วงค์ ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยาง ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอุตสาหกรรมยาง และณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. ในฐานะกรรมการและเลขานุการบอร์ด
แต่ด้วยผลงานของบอร์ด กยท. ชุดปัจจุบัน ที่ไม่มีอะไรโดดเด่น ในขณะที่ราคายางตกกราวรูด โดยราคายางก้อนถ้วยล่าสุดมีราคา "5 โล 100 บาท" และราคายางแผ่นมีราคา "เกือบ 3 โล 100" ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศได้รับเดือดร้อนอย่างหนัก
จึงมีข่าวสะพัดใน กยท. ว่า กรรมการฯที่มาจากการแต่งตั้ง 7 คน มีแนวโน้มสูงที่จะถูกเปลี่ยนอีกครั้ง ส่วนกรรมการที่มาจากผู้แทนภาครัฐ 6 คน ยังต้องรอลุ้นกันว่าจะได้อยู่ในตำแหน่งต่อไปหรือไม่
@เก้าอี้ "ผู้ว่าการฯ กยท." สั่นคลอน
ขณะเดียวกัน ตำแหน่งหัวเรือใหญ่ของ กยท. คือ ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ซึ่งนั่งเก้าอี้ ผู้ว่าการ กยท. มาแล้ว 3 ปีเศษ ก็เริ่มสั่นคลอนเช่นกัน เมื่อการเมืองพลิกขั้ว-เปลี่ยนนาย ผนวกกับผลงานอันบางเบาในช่วงที่ผ่านมา ทำให้วาระการดำรงตำแหน่งของ ณกรณ์ ที่เหลืออีก 1 ปี มีความ ?ไม่แน่นอน?
เห็นได้จากกรณีล่าสุดที่ ร.อ.ธรรมนัส ขีดเส้นตายให้ "ผู้ว่าการ กยท." จัดการปัญหา "ยางเถื่อน" ที่ลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาทาง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นปัญหาใต้พรมมาแรมปีแล้ว ให้ได้ภายใน 10 วัน อีกทั้งยังบอกด้วยว่า การทำงานของ ?ผู้ว่าการยางฯ? ที่ผ่านมาไม่เต็ม 100% เพราะไม่มีกลไกที่เป็นผู้บริหารคอยช่วยเหลือ
ดังนั้น เป็นที่คาดหมายกันว่า หลังจากนี้ไป "กลไกที่สลับซับซ้อน" หรือซ่อนเงื่อนภายใน กยท. จะต้องถูกชำระสะสาง โดย "ร.อ.ธรรมนัส" ก็เป็นได้ นอกจากนี้ มีการคาดหมายกันว่า สุขทัศน์ ต่างวิริยกุล ซึ่งปัจจุบันนั่งเก้าอี้ ?รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ? เป็น ?เต็งหนึ่ง? ที่ขยับไปนั่งตำแหน่งผู้ว่าการ กยท.
"ผู้ว่าการยางฯ กับผมจะต้องทำงานกันอย่างหนัก บอร์ดชุดใหม่ก็ต้องทำงานหนัก 100 วัน หลังจากนี้จะต้องเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับยางให้ได้" ร.อ.ธรรมนัส กล่าวระหว่างลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและห้องเย็นบูกิต ณ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบริหารห้องเย็นบูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา
ที่สำคัญการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งระดับ "ผู้บริหาร กยท." ในปีนี้ น่าจะเกิดปรากฏการณ์ฝุ่นตลบอีกครั้ง เพราะมีตำแหน่งสำคัญที่ว่างอยู่ เช่น ตำแหน่ง ?รองผู้ว่าการด้านบริหาร? ที่เพิ่งว่างลง เนื่องจาก ขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการฯ ?เกษียณอายุก่อนกำหนด? และตอนนี้กำลังรอการแต่งตั้งในยุค ร.อ.ธรรมนัส
นอกจากนั้น ยังมีตำแหน่งในระดับ ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้อำนวยการเขตระดับภาค และผู้อำนวยการสำนักงานตลาดกลางยางพารา ที่ว่างลงหรือรอการสับเปลี่ยนหมุนเวียนเก้าอี้อีกหลายตำแหน่ง ซึ่งแน่นอนว่าการ ?จัดกำลังพล? ในครั้งนี้ นับว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของพี่น้องชาวสวนยางและวงการยางพาราอย่างยิ่ง
@การบ้าน "ธรรมนัส-กยท."
กลับมาที่การบ้านของ ร.อ.ธรรมนัส บ้าง
นาทีนี้เรื่องเร่งด่วน "อันดับแรก" ต้องจัดการ คือ การแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐในหลายกระทรวง รวมถึงภาคเอกชน โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น และการเปิดตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน สิ่งที่ ร.อ.ธรรมนัส ต้องลงมือทำได้ทันทีและเชิงรุก นั่นก็คือการสนับสนุน ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง
เช่น การสนับสนุนให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำมาพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ยางพารา ทั้งในรูปแบบของเงินอุดหนุนและเงินกู้ยืม ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ ยังมีอุปสรรคกีดขวางมากมาย รวมถึงมีปัญหาในแง่ความโปร่งในการจัดสรรเงิน "กองทุนพัฒนายางพารา" เป็นต้น
นอกจากนี้ ร.อ.ธรรมนัส ต้องเร่งรัดผลักดันให้ กยท. มีการพัฒนาบุคลากรของ กยท. ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจยุคใหม่และกฎกติกาการค้าสากล
จากนี้ไปจึงต้องติดตามบทบาทของ กยท. ในยุคที่ "ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" รมว.เกษตรฯ ซึ่งเข้ามากำกับดูแล กยท. ว่า จะเข้ามาจุดประกายความหวังให้แก่ชาวสวนยางพาราทั่วประเทศอีกครั้งหรือไม่?
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 15:42 น.เขียนโดยisranewsHITS632 views
ด้วยผลงานของบอร์ด กยท. ชุดปัจจุบัน ที่ไม่มีอะไรโดดเด่น ในขณะที่ราคายางตกกราวรูด โดยราคายางก้อนถ้วยล่าสุดมีราคา "5 โล 100 บาท" และราคายางแผ่นมีราคา "เกือบ 3 โล 100" ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศได้รับเดือดร้อนอย่างหนัก จึงมีข่าวสะพัดใน กยท. ว่า กรรมการฯที่มาจากการแต่งตั้ง 7 คน มีแนวโน้มสูงที่จะถูกเปลี่ยนอีกครั้ง
...................................
ในการแบ่งงาน "3 รัฐมนตรี" กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
"ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" รมว.เกษตรฯ แม่ทัพใหญ่จากพรรคพลังประชารัฐ ได้เข้ามาเป็นผู้กำกับดูแล "การยางแห่งประเทศไทย" หรือ กยท. ด้วยตนเอง พร้อมทั้งประกาศลุยแก้ไข "ปัญหาราคายางตกต่ำ" โดยประเดิมงานแรกด้วยการขีดเส้นตายให้ "ณกรณ์ ตรรกวิรพัท" ผู้ว่าการฯ กยท. แก้ไขปัญหา "ยางเถื่อน" บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์โดยเร็ว
เพียงแค่โจทย์แรก ก็ทำเอา กยท. ปั่นป่วนไม่น้อย
ในขณะที่การบริหารจัดการภายในองค์กร "กยท." กำลังเผชิญศึกหลายด้าน ทั้งการเปลี่ยนขั้วการเมือง การอยู่หรือไปของผู้ว่าการฯ ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการ กยท. ตลอดจนการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งระดับ "ผู้บริหาร" ที่ยืดเยื้อในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาสู่รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ
อีกทั้งยังประเด็นร้อนแรงที่สุดที่ กยท. ต้องจัดการ คือ การแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศกว่า 1.7 ล้านคนเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อของเศรษฐกิจฐานรากอย่างรุนแรง รวมถึงส่งผลต่อรายได้ของ กยท. ด้วย
จึงเป็นภารกิจของ ร.อ.ธรรมนัส ที่จะต้องเข้าสะสางประเด็นร้อนภายใน กยท. หลากหลายเรื่อง
@จับตา"บอร์ด กยท."ไขก๊อก"
"ยางพารา" เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาดูแลเป็นการเฉพาะ ซึ่งก็คือ "การยางแห่งประเทศไทย" หรือ กยท. โดยกำเนิดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนายางพาราแบบครบวงจร ทั้งด้านการผลิต การตลาด การวิจัยและพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฯ
อย่างไรก็ดี ในช่วง 8 ปี นับตั้งแต่การถือกำเนิดของ กยท. นั้น มีการแต่งตั้ง "ผู้ว่าการฯ" มาแล้ว 7 คน ท่ามกลางข้อครหาว่า องค์กรแห่งนี้ มี "การเมือง" เข้ามาแทรกตลอดเวลา เช่นเดียวกัน ในการแต่งตั้ง คณะกรรมการ (บอร์ด) กยท. นั้น ปรากฏว่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีสับเปลี่ยนหมุนเวียนคนที่จะมานั่งเป็น ?บอร์ด กยท.? ค่อนข้างบ่อย
ทั้งนี้ บอร์ด กยท. ชุดปัจจุบัน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2566 ซึ่งเป็นการประชุม ครม. นัดสุดท้ายของ ครม.ประยุทธ์ มีรายชื่อดังนี้
ประธานกรรมการฯ ซึ่งก็คือ กวีฉัฏฐ ศีลปพิพัฒน์ ประธานกรรมการฯ ซึ่งเคยเป็นรองผู้ว่าการด้านธุรกิจในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนผงาดขึ้นมารั้งตำแหน่งประธานบอร์ดฯ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า กวีฉัฏฐ แทบจะไม่มีผลงานอะไรที่โดดเด่น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาราคายางพาราที่ ?ตกต่ำอย่างหนัก? มาตั้งแต่ฤดูปิดกรีดต้นปีจนถึงปัจจุบัน
ส่วนกรรมการฯ ได้แก่ ประยูร อินสกุล ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ,วันชัย พนมชัย ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ,วิโรจน์ นรารักษ์ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,วรชยา ลัทธยาพร ผู้แทนกระทรวงการคลัง ,อุดม ศรีสมทรง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์
ปวิช พรหมทอง ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง ,เผ่าภัค ศิริสุข ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา , อรอนงค์ อารินวงค์ ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง ,พิเชษฐ ยอดใชย ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ,ศิริพันธุ์ ตรีไตรรัตนกูล ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
วีรวัฒน์ ยมจินดา ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยางซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการค้า ,สำเริง แสงภู่วงค์ ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยาง ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอุตสาหกรรมยาง และณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. ในฐานะกรรมการและเลขานุการบอร์ด
แต่ด้วยผลงานของบอร์ด กยท. ชุดปัจจุบัน ที่ไม่มีอะไรโดดเด่น ในขณะที่ราคายางตกกราวรูด โดยราคายางก้อนถ้วยล่าสุดมีราคา "5 โล 100 บาท" และราคายางแผ่นมีราคา "เกือบ 3 โล 100" ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศได้รับเดือดร้อนอย่างหนัก
จึงมีข่าวสะพัดใน กยท. ว่า กรรมการฯที่มาจากการแต่งตั้ง 7 คน มีแนวโน้มสูงที่จะถูกเปลี่ยนอีกครั้ง ส่วนกรรมการที่มาจากผู้แทนภาครัฐ 6 คน ยังต้องรอลุ้นกันว่าจะได้อยู่ในตำแหน่งต่อไปหรือไม่
@เก้าอี้ "ผู้ว่าการฯ กยท." สั่นคลอน
ขณะเดียวกัน ตำแหน่งหัวเรือใหญ่ของ กยท. คือ ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ซึ่งนั่งเก้าอี้ ผู้ว่าการ กยท. มาแล้ว 3 ปีเศษ ก็เริ่มสั่นคลอนเช่นกัน เมื่อการเมืองพลิกขั้ว-เปลี่ยนนาย ผนวกกับผลงานอันบางเบาในช่วงที่ผ่านมา ทำให้วาระการดำรงตำแหน่งของ ณกรณ์ ที่เหลืออีก 1 ปี มีความ ?ไม่แน่นอน?
เห็นได้จากกรณีล่าสุดที่ ร.อ.ธรรมนัส ขีดเส้นตายให้ "ผู้ว่าการ กยท." จัดการปัญหา "ยางเถื่อน" ที่ลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาทาง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นปัญหาใต้พรมมาแรมปีแล้ว ให้ได้ภายใน 10 วัน อีกทั้งยังบอกด้วยว่า การทำงานของ ?ผู้ว่าการยางฯ? ที่ผ่านมาไม่เต็ม 100% เพราะไม่มีกลไกที่เป็นผู้บริหารคอยช่วยเหลือ
ดังนั้น เป็นที่คาดหมายกันว่า หลังจากนี้ไป "กลไกที่สลับซับซ้อน" หรือซ่อนเงื่อนภายใน กยท. จะต้องถูกชำระสะสาง โดย "ร.อ.ธรรมนัส" ก็เป็นได้ นอกจากนี้ มีการคาดหมายกันว่า สุขทัศน์ ต่างวิริยกุล ซึ่งปัจจุบันนั่งเก้าอี้ ?รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ? เป็น ?เต็งหนึ่ง? ที่ขยับไปนั่งตำแหน่งผู้ว่าการ กยท.
"ผู้ว่าการยางฯ กับผมจะต้องทำงานกันอย่างหนัก บอร์ดชุดใหม่ก็ต้องทำงานหนัก 100 วัน หลังจากนี้จะต้องเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับยางให้ได้" ร.อ.ธรรมนัส กล่าวระหว่างลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและห้องเย็นบูกิต ณ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบริหารห้องเย็นบูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา
ที่สำคัญการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งระดับ "ผู้บริหาร กยท." ในปีนี้ น่าจะเกิดปรากฏการณ์ฝุ่นตลบอีกครั้ง เพราะมีตำแหน่งสำคัญที่ว่างอยู่ เช่น ตำแหน่ง ?รองผู้ว่าการด้านบริหาร? ที่เพิ่งว่างลง เนื่องจาก ขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการฯ ?เกษียณอายุก่อนกำหนด? และตอนนี้กำลังรอการแต่งตั้งในยุค ร.อ.ธรรมนัส
นอกจากนั้น ยังมีตำแหน่งในระดับ ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้อำนวยการเขตระดับภาค และผู้อำนวยการสำนักงานตลาดกลางยางพารา ที่ว่างลงหรือรอการสับเปลี่ยนหมุนเวียนเก้าอี้อีกหลายตำแหน่ง ซึ่งแน่นอนว่าการ ?จัดกำลังพล? ในครั้งนี้ นับว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของพี่น้องชาวสวนยางและวงการยางพาราอย่างยิ่ง
@การบ้าน "ธรรมนัส-กยท."
กลับมาที่การบ้านของ ร.อ.ธรรมนัส บ้าง
นาทีนี้เรื่องเร่งด่วน "อันดับแรก" ต้องจัดการ คือ การแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐในหลายกระทรวง รวมถึงภาคเอกชน โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น และการเปิดตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน สิ่งที่ ร.อ.ธรรมนัส ต้องลงมือทำได้ทันทีและเชิงรุก นั่นก็คือการสนับสนุน ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง
เช่น การสนับสนุนให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำมาพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ยางพารา ทั้งในรูปแบบของเงินอุดหนุนและเงินกู้ยืม ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ ยังมีอุปสรรคกีดขวางมากมาย รวมถึงมีปัญหาในแง่ความโปร่งในการจัดสรรเงิน "กองทุนพัฒนายางพารา" เป็นต้น
นอกจากนี้ ร.อ.ธรรมนัส ต้องเร่งรัดผลักดันให้ กยท. มีการพัฒนาบุคลากรของ กยท. ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจยุคใหม่และกฎกติกาการค้าสากล
จากนี้ไปจึงต้องติดตามบทบาทของ กยท. ในยุคที่ "ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า" รมว.เกษตรฯ ซึ่งเข้ามากำกับดูแล กยท. ว่า จะเข้ามาจุดประกายความหวังให้แก่ชาวสวนยางพาราทั่วประเทศอีกครั้งหรือไม่?