ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2020, 09:06:46 AM »สรุปโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1
++ใช้งบประมาณ 24,278.62 ล้าน เกษตรกรชาวสวนยางเข้าร่วม 1.7 ล้านคน พื้นที่ยางพารา 17 ล้านไร่
++ ใช้วิธีการประกันราคาแทนการแทรกแซงราคา เพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาดและลดความผันผวนด้านราคาที่อาจเกิดขึ้น
สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
++ การขึ้นทะเบียน ?บัตรเขียว? หรือเป็นพื้นที่ปลูกยางที่มีเอกสารสิทธิ มีเกษตรกรมาขอขึ้นทะเบียนและผ่านการตรวจรับรองข้อมูลจำนวน 1,109,016 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.999 คงเหลือเพียง 30 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.01
++ การขึ้นทะเบียน ?บัตรชมพู? หรือพื้นที่ปลูกย่างไม่มีเอกสารสิทธิ มีเกษตรกรมาขอขึ้นทะเบียนและผ่านการตรวจรับรองจำนวน 271,238 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.98 คงเหลือ 2,115 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 1.02
ส่วนการดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรชาวสวนยางนั้น ณ วันที่ 29 เมษายน 2563
++เกษตรกรได้รับเงินชดเชยการประกันราคาตลอดโครงการทั้งสิ้น 1,263,800 ราย แบ่งเกษตรกร
++กลุ่มบัตรเขียวร้อยละ 99.85
++บัตรชมพูร้อยละ 81.374
++จำนวนเงินรวม 21,073,600,299.89 บาท โดยแบ่งการจ่ายเงินเป็น 3 รอบ คือ
++ รอบที่ 1 เดือนตุลาคม ? พฤศจิกายน 2562 เกษตรกร 1,263,800 ราย เป็นเงิน 7,396,342,765.41 บาท
++ รอบที่ 2 เดือนธันวาคม 2562 ? มกราคม 2563 เกษตรกร 1,202,409 ราย เป็นเงิน 7,491,019,836.09 บาท
++ รอบที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ ? มีนาคม 2563 เกษตรกร 1,140,337 ราย เป็นเงิน 6,186,237,698.39 บาท
---กรณีเกษตรกรบัตรชมพู ไม่มีเนื้อที่ปลูกยางที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นการแจ้งข้อมูลการปลูกยางเท่านั้น
-- มีความล่าช้าไปบ้าง
ข้อสังเกต
.....มีตัวเลขเขย่งระหว่างขึ้นทะเบียนและรายที่รับเงิน
.....ตัวเลขงบประมาณส่วนหนึ่งเป้็นงบบริหารจัดการที่จ่ายให้ ธกส. ส่วนนี้น่าคิด.....
.....น่าจะมีการประเมินผลสำเร็จโครงการและสรุปบทเรียน โดยหน่วยงานที่เป็นกลาง น่าจะสามารถให้องค์ความรู้และแนวทางพัฒนาดครงการในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ และ กยท